วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

การอาบน้ำละหมาด

การอาบน้ำละหมาด คือการทำความสะอาดใบหน้า มือและแขนทั้งสอง ศีรษะ และเท้าทั้งสองโดยการใช้น้ำ อัลลอฮฺทรงตรัสในซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6 ว่า يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلاَةِ فَاغْسِلُوْا وُجُوْهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوْا بِرُءُوْسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ ความว่า : โอ้บรรดาผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลาย จะไปทำการละหมาด พวกท่านจงล้างใบหน้าของพวกท่านและมือของพวกท่านจนถึงข้อศอก และท่านทั้งหลาย จงลูบศีรษะ ของพวกท่านและจงล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม.

ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด

การรักษาน้ำละหมาดหมายถึง การอาบน้ำละหมาดอย่างดีและสมบูรณ์ และอาจหมายถึงการรักษาให้มีน้ำละหมาดอยู่ตลอดเวลา
การรักษาน้ำละหมาดมีความประเสริฐหลายประการ และส่วนหนึ่งจากความประเสริฐเหล่านั้นคือ


1. อัลลอฮฺทรงรัก

พระองค์ได้ตรัสว่า:

﴿لَمَسْجِدٌ أُسِّسَ عَلَى التَّقْوَى مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ أَحَقُّ أَنْ تَقُومَ فِيهِ، فِيهِ رِجَالٌ يُحِبُّونَ أَنْ يَتَطَهَّرُوا وَاللهُ يُحِبُّ الْمُطَّهِّرِينَ﴾
ความว่า: “แน่นอน มัสญิดที่ถูกวางรากฐานบนความยำเกรงตั้งแต่วันแรกนั้น สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าจะเข้าไปยืนละหมาดในนั้น เพราะในมัสญิดนั้นมีคณะบุคคลที่ชอบจะชำระตัวให้บริสุทธิ์ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักบรรดาผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ” [อัต-เตาบะฮฺ : 108]


"ผู้ที่ชำระตัวให้สะอาดบริสุทธิ์" หมายถึงผู้ที่รักษาการอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ และรักษาจากการเปรอะเปื้อนของสิ่งสกปรกโสโครก [ตัฟสีรฺ อิบนุกะษีรฺ 4/216]


2. เป็นลักษณะของผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์

ท่านเษาบาน เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

«وَلاَ يُحَافِظُ عَلَى الْوُضُوءِ إِلاَّ مُؤْمِنٌ»
ความว่า: “และไม่มีผู้ใดรักษาน้ำละหมาดนอกจากผู้ศรัทธา” [บันทึกโดย อิบนุ มาญะฮฺ เลขที่: 277, และอะหฺมัด เลขที่: 22467 ]


อัล-มุนาวีย์กล่าว่า: "คือการดูแลรักษาน้ำละหมาดให้คงอยู่ตลอดเวลา" และความหมายของผู้ศรัทธา ณ ที่นี้คือ "ผู้ศรัทธาที่มีความศรัทธาอย่างสมบูรณ์" [มิรฺอาตอัล-มะฟาตีหฺ 2/13]


3. เป็นลักษณะพิเศษของบรรดามุสลิมในวันกิยามะฮฺ

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

«إِنَّ أُمَّتِي يُدْعَوْنَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ غُرًّا مُحَجَّلِينَ مِنْ آثَارِ الْوُضُوءِ»
ความว่า: “แท้จริง ประชาติของฉันจะถูกเรียกเชิญในวันกิยามะฮฺในสภาพที่มีรัศมีเปล่งประกาย จากร่องรอยของการอาบน้ำละหมาด” [อัล-บุคอรีย์ เลขที่: 136, มุสลิม เลขที่ 246]


4. อัลลอฮฺจะยกฐานะและลบล้างความผิด

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เล่าว่า:

«أَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى مَا يَمْحُو اللهُ بِهِ الْخَطَايَا وَيَرْفَعُ بِهِ الدَّرَجَاتِ. قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ اللهِ. قَالَ : إِسْبَاغُ الْوُضُوءِ عَلَى الْمَكَارِهِ ... »
ความว่า: “เอาไหม ถ้าฉันจะบอกพวกท่านซึ่งการงานที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิดและจะยกฐานะให้ บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า แน่นอนที่สุด โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านจึงตอบว่า : การอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ในช่วงที่ท่านไม่ชอบ (หมายถึงช่วงอากาศหนาวเย็น) ...” [มุสลิม เลขที่: 251]


และจากอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า:

«مَنْ تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الوُضُوءَ خَرَجَتْ خَطَايَاهُ مِنْ جَسَدِهِ حَتَّى تَـخْرُجَ مِنْ تَـحْتِ أَظْفَارِهِ»
ความว่า: “ผู้ใดก็ตามที่อาบน้ำละหมาด ด้วยลักษณะที่ดีที่สุด มวลบาปของเขาจะหลุดออกจากตัวเขา จนแม้กระทั่งบาปที่อยู่ใต้เล็บของเขา” [มุสลิม เลขที่: 245]


5. เป็นสาเหตุของการตอบรับดุอาอ์

ท่านมุอาซ อิบนุ ญะบัล ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَبِيتُ عَلَى ذِكْرٍ طَاهِرًا، فَيَتَعَارُّ مِنْ اللَّيْلِ فَيَسْأَلُ اللهَ خَيْرًا مِنْ الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ إِلَّا أَعْطَاهُ إِيَّاهُ»
ความว่า: “ไม่มีมุสลิมคนใดที่นอนในสภาพที่รำลึกถึงอัลลอฮฺและสะอาด(อาบน้ำละหมาด) เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนและเขาก็ได้ขอจากอัลลอฮฺซึ่งความดีงามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากพระองค์จะทรงให้ตามที่เขาได้ขอ” [อบู ดาวูด เลขที่: 5044]


6. ละหมาดสองร็อกอัตหลังจากอาบน้ำละหมาดคือสาเหตุที่ทำให้ได้เข้าสวนสวรรค์

ท่านอุกบะฮฺ อิบนุ อามิรฺ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«مَا مِنْ مُسْلِمٍ يَتَوَضَّأُ فَيُحْسِنُ وُضُوءَهُ ثُمَّ يَقُومُ فَيُصَلِّى رَكْعَتَيْنِ مُقْبِلٌ عَلَيْهِمَا بِقَلْبِهِ وَوَجْهِهِ إِلاَّ وَجَبَتْ لَهُ الْجَنَّةُ»
ความว่า: “ไม่มีมุสลิมคนใดที่อาบน้ำละหมาดซึ่งเขาก็ได้อาบน้ำละหมาดอย่างดีและประณีต หลังจากนั้นเขาได้ละหมาดสองร็อกอัตด้วยการมุ่งทั้งจิตและกาย นอกจากสวนสวรรค์จะเป็นที่แน่นอนแล้วสำหรับเขา” [มุสลิม เลขที่: 234]


และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามบิลาลว่า:

«يَا بِلَالُ حَدِّثْنِي بِأَرْجَى عَمَلٍ عَمِلْتَهُ فِي الْإِسْلَامِ، فَإِنِّي سَمِعْتُ دَفَّ نَعْلَيْكَ بَيْنَ يَدَيَّ فِي الْجَنَّةِ، قَالَ : مَا عَمِلْتُ عَمَلًا أَرْجَى عِنْدِي، أَنِّي لَمْ أَتَطَهَّرْ طُهُورًا فِي سَاعَةِ لَيْلٍ أَوْ نَهَارٍ؛ إِلَّا صَلَّيْتُ بِذَلِكَ الطُّهُورِ مَا كُتِبَ لِي أَنْ أُصَلِّيَ»
ความว่า: “โอ้บิลาลเอ๋ย ท่านจงบอกฉันถึงการงานที่ท่านหวังมากที่สุดกับมันที่ท่านได้ปฏิบัติมา แท้จริงฉันได้ยินเสียงร้องเท้าสองข้างของท่านเคลื่อนไหวอยู่เบื้องหน้าฉันในสวนสวรรค์ บิลาลตอบว่า ฉันไม่ได้ปฏิบัติการงานใดเลยที่ฉันหวังมากที่สุดนอกจากว่า ฉันจะเคยไม่อาบน้ำละหมาดในช่วงเวลาไหนก็ตามทั้งกลางคืนและกลางวัน เว้นแต่ฉันจะต้องละหมาดด้วยน้ำละหมาดนั้นเท่าที่ถูกกำหนดให้ฉันสามารถละหมาดได้” [อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1149, มุสลิม 6478]



กฎเกณฑ์(หุก่ม)ของการอาบน้ำละหมาด

การอาบน้ำละหมาด เป็นสิ่งจำเป็นแก่ผู้ที่ต้องการจะละหมาดหรือทำการตอว๊าฟ หลักฐานที่บ่งบอกถึงความจำเป็น คืออายะฮฺของอัลกุรอานที่กล่าวมาข้างต้น มีรายงานจากท่าน อบีฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า لاَيَقْبَلُ اﷲُ صَلاَةَ أَحَدِكُمْ إِذَا أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ ความว่า : อัลลอฮฺจะไม่ทรงรับการละหมาดของคนหนึ่งคนใดในพวกท่าน เมื่อเขามีฮะดัษ จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน. บันทึกโดยท่านอัลบุคอรียฺและมุสลิม อบูดาวูด ติรมีซียฺ อะฮฺหมัด

ฟัรฎู(องค์ประกอบที่สำคัญ)ของการอาบน้ำละหมาด

สำหรับการอาบน้ำละหมาด มีองค์ประกอบที่สำคัญๆที่ไม่สามารถจะขาดได้ เรียกว่า ฟัรฎู ของการอาบน้ำละหมาด ดังนั้นเมื่อบกพร่องหรือขาดตกไปอย่างหนึ่งอย่างใด การอาบน้ำละหมาดถือว่าไม่สมบูรณ์และขณะเดียวกันจะไม่ถูกนับว่าเป็นบทบัญญัติ ฟัรฎูของการอาบน้ำละหมาดคือ
1. ล้างหน้าจากส่วนที่อยู่บนใบหน้า เช่น ปาก จมูก ฉะนั้นการบ้วนปาก การสูดน้ำเข้าจมูกแล้วสั่งออก จึงเป็นสิ่งจำเป็นตามความเห็นที่มีน้ำหนักของบรรดานักปราชญ์ ขอบเขตของใบหน้าเริ่มจากตีนผมบนหน้าผาก จนถึงใต้คางและอยู่ระหว่างติ่งหูทั้งสองข้าง
2. ล้างมือทั้งสองจนถึงข้อศอก
3. เช็ดศีรษะ และส่วนที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของศีรษะ คือหูทั้ง 2 ดังนั้นการเช็ดหูทั้งสอง จึงเป็นสิ่งจำเป็นตามความเห็นที่มีน้ำหนักของบรรดานักปราชญ์ เนื่องจากมีฮะดีษบ่งชี้ว่า หูทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของศีรษะ บันทึกโดยท่านอะฮฺหมัดและอบูดาวูด
4. ล้างเท้าทั้งสองจน ถึงตาตุ่มทั้งสอง
5. การเรียบเรียงตามลำดับ เริ่มจากการล้างหน้า ล้างมือทั้งสองจนถึงข้อศอก การเช็ดศีรษะ การล้างเท้าทั้งสองถึงตาตุ่มทั้งสอง
6. การทำอย่างต่อเนื่อง จะต้องไม่ล่าช้าหรือขาดตอน

วิธีการอาบน้ำละหมาด
1. ต้องมีน้ำที่สะอาด
2. การตั้งเจตนาที่จะอาบน้ำละหมาด
3. การกล่าว “บิสมิลลาฮฺ”
4. การล้างมือทั้งสอง 3 ครั้ง
5. การบ้วนปาก พร้อมกับสูดน้ำเข้าจมูก แล้วสั่งออก 3 ครั้ง
6. การล้างใบหน้าให้ทั่ว 3 ครั้ง
7. การเสย หรือสางเคราของเขาด้วยกับน้ำ
8. การล้างมือทั้งสองของเขาจนถึงข้อศอก 3 ครั้ง
9. เช็ดศีรษะพร้อมกับเช็ดหูทั้งสอง 1 ครั้ง
10 . ล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม 3 ครั้ง และถูซอกนิ้วเท้าด้วยน้ำให้ทั่ว

การตะยัมมุม

การตะยัมมุม คือการทำความสะอาดที่จำเป็น(วาญิบ)โดยใช้ดิน
ฝุ่นแทนการอาบน้ำละหมาดและการอาบน้ำ สำหรับผู้ที่ไม่พบน้ำหรือมี
ความจำเป็นไม่สามารถใช้น้ำชำระได้

วิธีตะยัมมุม

เมื่อจำเป็นต้องตะยัมมุมให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ตั้งเจตนาในสิ่งที่ต้องการจะตะยัมมุมว่าจะใช้แทนการอาบน้ำ
ละหมาด(เพื่อยกหะดัษฺเล็ก)หรือแทนการอาบน้ำ(เพื่อยกหะดัษฺ
ใหญ่)
2. เอามือทั้งสองทาบลงบนพื้นดิน หรือผนังที่มีดินฝุ่นติดอยู่
3. ลูบใบหน้าและมือทั้งสองข้าง




สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด

สิ่งต่างๆที่ทำให้เสียการอาบน้ำละหมาดมีดังนี้ คือ
1. ทุกๆสิ่งที่ออกมาจากทวารเบาและทวารหนัก ไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะ อุจจาระ ผายลม
2. มะนียฺ ( อสุจิ) คือน้ำสีขาวข้น จะออกมา เนื่องจากเกิดอารมณ์ และการมีเพศสัมพันธ์
3. มะซียฺ คือน้ำขาวๆ ใสๆ จะออกมา เนื่องจากเกิดอารมณ์ หรือการเล้าโลม
4. วะดียฺ คือน้ำเมือกขาวๆ จะออกมาหลังจากปัสสาวะ มีรายงานจากอิบนุอับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า น้ำมะนียฺที่หลั่งออกมานั้นจำเป็นต้องอาบน้ำญะนาบะฮฺ. ส่วนน้ำมะซียฺและวะดียฺนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า إِغْسِلْ ذَكَرَ كَ وَ تَوَضَّأْ وُضُوْءَكَ لِلصَّلاَ ةِ ความว่า : จงล้างอวัยวะเพศของท่านและจงอาบน้ำละหมาดเช่นเดียวกับท่านทำเพื่อละหมาด. บันทึกโดยอัลบัยหะกี
5. การขาดสติ หรือสติถูกครอบงำ ด้วยความมึนเมา ลมบ้าหมู การนอนหลับสนิทโดยก้นไม่แนบกับพื้น และเป็นบ้า มีรายงานจากท่านซ็อฟวาน บินอัชชาล รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

كَانَ رَسُوْلُ اﷲِ صَلَّى اﷲُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَأْمُرُنَاإِذَاكُنَّاسَـفَرًا أَلاَّ نَنْزِعَ خِفَافَنَا ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ وَلَيَالِيْهِنَّ إِلاَّ مِنْ جَنَابَةٍ لَكِنْ مِنْ غَائِطٍ وَبَوْلٍ وَنَوْمٍ

ความว่า : ปรากฏว่าท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้เราขณะเมื่อเราเดินทางโดยอย่าได้ถอดรองเท้าหุ้มส้นของพวกเราออกเป็นเวลา สามวัน สามคืน เว้นแต่มีญะนาบะฮฺ แต่เนื่องมาจากถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และการนอนหลับ( ไม่ต้องถอด ) บันทึกโดยอะฮฺหมัด นะซาอี ติรมีซียฺ ดังนั้นหากเป็นการนอนเพียงเล็กน้อย หรือเป็นการหลับในสภาพท่านั่งที่ก้นของเขาแนบกับพื้นโดยกำลังรอละหมาด ถือว่าไม่เสียการอาบน้ำละหมาด มีรายงานจากท่านอนัส รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ปรากฏว่าบรรดาซอฮาบะฮฺ ของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กำลังรอละหมาดอีซาในช่วงเวลาดึกๆ จนกระทั่งหลับหัวของเขาผงก หลังจากนั้นเขาเหล่านั้นลุกขึ้นละหมาด โดยไม่มีการอาบน้ำละหมาดใหม่” บันทึกโดยมุสลิม ติรมีซียฺ และอบูดาวูด

6. การกระทบอวัยวะเพศโดยมีอารมณ์
7. การรับประทานเนื้ออูฐ มีรายงานจากท่าน ญาบิร บิน สะมุเราะฮฺ ว่า แท้จริงชายคนหนึ่ง ถามท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม “พวกเราจะต้องอาบน้ำละหมาดเนื่องจากการรับประทานเนื้อแกะหรือเปล่า” ? ท่าน ตอบว่า หากว่าท่านประสงค์ท่านก็จงอาบน้ำละหมาดเถิด และถ้าหากท่านประสงค์(จะไม่อาบน้ำละหมาด)จงอย่าอาบ (ชายคนนี้)กล่าวถามต่อว่า “พวกเราจะต้องอาบน้ำละหมาดเนื่องมาจากการรับประทานเนื้ออูฐหรือไม่? ท่านตอบว่า “ใช่ ท่านจงอาบน้ำละหมาด เนื่องมาจากการรับประทานเนื้ออูฐ”ชายคนนั้นถามต่อว่า “ฉันจะละหมาดในคอกแกะได้หรือไม่ ?” ท่านตอบว่า ได้ ชายคนนั้นถามต่อว่า “ฉันจะละหมาดในคอกอูฐ ได้หรือไม่ ? ท่านตอบว่า “ไม่ได้” บันทึกโดยมุสลิม และอะฮฺหมัด

การสงสัยในความสะอาด

1. ผู้ใดที่แน่ใจว่าเขามีความสะอาด แล้วสงสัยในการมี ฮะดัษ ของเขา ดังนั้นให้คงอยู่บนความสะอาดของเขาและไม่มีเหตุผลใดๆ ต่อความสงสัย เพราะความสะอาดนั้นคือสิ่งที่ทำให้เขามีความแน่ใจ
2. ผู้ใดที่แน่ใจเขามีฮะดัษ แล้วสงสัยในการมีความสะอาดของเขา ให้เขาคงอยู่บนความแน่ใจว่าเขามี ฮะดัษ และไม่มีเหตุผลใดๆต่อความสงสัย เพราะว่าการมี ฮะดัษ นั้นคือสิ่งที่ทำให้เขามีความแน่ใจ มีรายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
กล่าวว่า إِذَاوَجَدَ أَحَدُكُمْ فِيْ بَطْنِهِ شَيْئًا فَأَشْكَلَ عَلَيْهِ أَخْرَجَ مِنْهُ شَـيْ ءٌ أَمْ لاَ ؟

فَلاَ يَخْرُجَنَّ مِنَ الْمَسْجِدِ حَتَّي يَسْـمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيْحًا

ความว่า : เมื่อคนหนึ่งคนใดพบว่าในท้องของเขามีบางสิ่งบางอย่าง แล้วทำให้เกิดสงสัยแก่เขา ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกมาจากท้องของเขาหรือไม่?” เขาจงอย่าออกจากมัสยิดเป็นอันขาดจนกว่าเขาจะได้ยินเสียงหรือได้กลิ่น .บันทึกโดยมุสลิม อบูดาวูด และติรมีซียฺ

มุสลิมหลายคนต้องออกนอกบ้าน เพื่อเรียน ทำงาน หรือไปธุระ เวลาอาบน้ำละหมาดอาจจะไม่สะดวกในบางสถานที่ เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน หรือไปอบรมในสถานที่ต่างๆ อาจไม่มีที่สำหรับให้อาบน้ำละหมาด หรือมีแต่อาจจะทำเลอะเถอะ หรือที่ที่มีเฉพาะอ่างล้างหน้า เราก็สามารถอาบน้ำนมาซโดยไม่ต้องถอดผ้าคลุมผม(ฮิญาบ) ของมุสลิมะฮฺ ไม่ต้องถอดถุงเท้าได้ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการเข้าเฝือกนั้น ก็สามารถทำน้ำละหมาดได้ ถ้าอ้างว่าป่วยจึงไม่ละหมาดนั้นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ถึงจะป่วยก็ต้องละหมาด....อิสลามก็มีแนวทางยืดหยุ่นเหมาะสมตามเหตุการณ์

การอาบน้ำนมาซโดยไม่ถอดผ้าคลุมผม

วิธีอาบน้ำนมาซโดยไม่ต้องถอดผ้าคลุมศีรษะมี 2 วิธี

1. เริ่มต้นอาบน้ำนมาซไปจนถึงขั้นตอนจะเช็ดศีรษะ ให้ใช้มือทั้งสองรองน้ำแล้วสะบัดโดยให้มือขวาสอดเข้าไปในผ้าคลุมศีรษะ แล้วให้เช็ดที่ศีรษะเท่าที่มือจะสอดเข้าไปถึง จากก็นำมือขวาออกมาพร้อมกับนำมือทั้งสองสอดเข้าไปในผ้าคลุมศีรษะ จากนั้นก็ให้เช็ดที่ใบหูทั้งสองข้าง

2. เริ่มต้นอาบน้ำนมาซไปถึงขั้นตอนจะเช็ดศีรษะให้ใช้มือทั้งสองรองน้ำแล้วสะบัด โดยให้มือขวา สอดเข้าไปในผ้าคลุมศีรษะ แล้วให้เช็ดที่ศีรษะเท่าที่มือสอดเข้าไปถึง จากก็นำมือขวาออกมาพร้อมกับนำมือขวานั้นมาลูบด้านบนของผ้าคลุมศีรษะ จากนั้นให้นำมือทั้งสองสอดเข้าไปในผ้าคลุมศีรษะ แล้วให้เช็ดที่ใบหูทั้งสองข้าง

การอาบน้ำนมาซโดยการลูบบนถุงเท้า

1. ผู้ที่สวมใส่รองเท้าจะต้องมีน้ำนมาซก่อนสวมใส่ทุกครั้ง หมายถึง การที่เราจะสวมใส่ถุงเท้าให้เราอาบน้ำนมาซก่อน เสร็จแล้วเช็ดเท้าให้แห้ง จากนั้นก็สวมถุงเท้าแล้วไปทำงาน เมื่อได้เวลานมาซ เราก็อาบน้ำนมาซ, พออาบมาถึงการล้างเท้าเราก็ไม่ต้องถอดถุงเท้า ให้เราลูบบทถุงเท้าได้เลย

2. ถุงเท้าจะต้องไม่เปื้อนนะญิส

3. อนุญาตให้เช็ดถุงเท้าด้วยสาเหตุที่มีหะดัษเล็กเท่านั้น, หมายถึงหากมีหะดัษใหญ่ก็ต้องอาบน้ำยกหะดัษ เมื่ออาบน้ำยกหะดัษก็ต้องถอดถุงเท้าอยู่แล้วนั่นเอง

4. อนุญาตให้เช็ดถุงเท้าในระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น, กล่าวคือ ผู้ที่มิได้เดินทางไกล ศาสนาอนุญาตให้เช็ดภายในระยะ 1 วัน 1 คืน (24 ชั่วโมง) เท่านั้น ส่วนผู้ที่เดินทางไกลอนุญาตให้เช็ด 3 วัน 3 คืน (72 ชั่วโมง) เท่านั้น

วิธีการเช็ดบนถุงเท้า โดยเริ่มเช็ดตั้งแต่ปลายถุงเท้าเรื่อยขึ้นมาจนกระทั่งถึงสุดปลายขอบของถุง เท้า โดยให้มือขวาเช็ดถุงเท้าขวา และมือซ้ายเช็ดบนถุงเท้าซ้ายซึ่งกระทำพร้อมๆ กัน ( เสมือนการเช็ดใบหูนั้นเอง) โดยเช็ดถุงเท้าเพียงครั้งเดียวเท่านั้น, เช่นนี้ก็ไม่ทำให้ห้องน้ำเลอะเทอะแล้วละครับ อีกทั้งไม่ต้องนำนมาซมาชดใช้ที่บ้านอีกด้วยนะครับ, อนึ่ง หุกุมของเช็ดบนถุงเท้าอนุญาตให้กระทำทั้งผู้ชายผู้หญิง

การอาบน้ำนมาซโดยการลูบรองเท้าที่หุ้มข้อ

การลูบรองเท้าที่หุ้มข้อ (คือรองเท้าที่ปกปิดตั้งแต่ส้นเท้าจนถึงตาตุ่ม)

1.หลักฐานที่บ่งบอกเป็นบัญญัติ มีรายงานจากท่านฮัมมาม อันนัคอีย์ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ

กล่าวว่า بَالَ جَرِيْرُبْنُ عَبْدِاﷲِ ثُمَّ تَوَضَّأَ وَمَسَحَ عَلَى خُفَّيْهِ فَقِيْلَ تَفْعَلُ هَذَا وَ قَدْ بُلْتَ ؟ قَالَ نَعَمْ رَأَيْتُ رَسُوْلَ اﷲِ صَلَّى اﷲُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَالَ ثُمَّ تَوَضَّأَ وَمَسَحَ عَلَى خُفَّيْهِ .

ความว่า : ท่านญะรีร บินอับดุลลอฮฺ ได้ปัสสาวะเสร็จแล้ว หลังจากนั้นท่านอาบน้ำละหมาด โดยเช็ดไปบนรองเท้าหุ้มข้อทั้งสองของเขาแล้วมีผู้ถามเขาว่า “ท่านกระทำอย่างนี้หรือทั้งที่ท่านได้ปัสสาวะไปแล้ว ? ท่านตอบว่า “ใช่ ฉันเห็นท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ปัสสาวะเสร็จแล้ว หลังจากนั้นท่านอาบน้ำละหมาด และเช็ดบนรองเท้าหุ้มข้อทั้งสองของท่าน. บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ และมุสลิม

2. บัญญัติการลูบบนถุงเท้า มีรายงานมาจากส่วนมากของบรรดาสาวก ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านอบูดาวูด กล่าวว่า ผู้ที่เช็ดถุงเท้าทั้งสองนั้น มีหลายท่าน เช่น ท่านอาลี บิน อบีฎอลิบ ท่านอิบนุ มัสอู๊ด ท่านบัรรออฺ บินอาซิบ ท่านอนัส บินมาลิก ท่านอะบูอุมามะฮฺ ท่านซะหัล บินซะอฺดฺ และท่านอัมรฺ บินหุรอยซฺ .และฮะดีษดังกล่าวได้ถูกรายงานมาจากท่านอุมัร บิน อัลค็อตฎ็อบ และท่านอิบนุมัสอู๊ดเช่นเดียวกันได้ถูกรายงานมาจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร ท่านซะอฺดฺ บินอะบีวักกอส ท่านอบี มัสอู๊ด อัลบัดรีย์ และท่านอื่นๆ

3. เงื่อนไขของการเช็ดบนรองเท้าหุ้มข้อ เงื่อนไขของการที่จะอนุญาต ในการเช็ด บนรองเท้าหุ้มข้อคือ รองเท้าหุ้มข้อทั้งสอง จะต้องมีความสะอาดในขณะที่สวมใส่ เนื่องจากฮะดีษของท่าน มุฆีเราะฮฺ บิน ชัวอฺบะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ปรากฏว่าฉันนั้นร่วมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในค่ำคืนหนึ่ง ของการเดินทาง แล้วฉันเอาน้ำใส่ภาชนะหนึ่ง (เล็กๆที่ทำมาจากหนัง)มาให้กับท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ล้างหน้าของท่าน ข้อศอกทั้งสองของท่านและลูบศีรษะของท่าน หลังจากนั้นฉันนั่งลงมาเพื่อถอดรองเท้าหุ้มข้อของท่าน” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ปล่อยทั้งคู่ไว้อย่างนั้นแหละเพราะแท้จริง ฉันสวมใส่รองเท้าหุ้มข้อทั้งคู่เวลาที่มันสะอาด” แล้วท่านได้เช็ดบนรองเท้าหุ้มข้อทั้งคู่นั้น การเช็ดบนเฝือกและผ้าพันแผล อิสลามอนุญาตให้เช็ดบนเฝือกและผ้าพันแผลได้

ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเช็ด

ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเช็ดบนเฝือกนั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการอาบน้ำละหมาด และการอาบน้ำ แทนการล้างหรือเช็ดอวัยวะของผู้ป่วย เมื่อใดที่จำเป็นต้องเช็ดบนเฝือกและผ้าพันแผล ผู้ที่มีบาดแผลหรืออวัยวะแตกหัก และต้องการจะอาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำ ดังนั้นจำเป็นต้องล้างอวัยวะ แต่ถ้าหากกลัวว่าจะเกิดอันตรายหรือเพิ่มความเจ็บปวดมากขึ้น เนื่องจากการล้างอวัยวะที่มีบาดแผลนั้น อนุญาตให้เช็ดอวัยวะที่บาดเจ็บด้วยน้ำแทน

การเช็ดบนเฝือกและผ้าพันแผลนั้นมีเงื่อนไขดังนี้

1. จะต้องล้างอวัยวะที่มีบาดแผลนั้นให้สะอาดเสียก่อน

2. ไม่มีกำหนดเวลาใดๆ ในการเช็ดบนเฝือก และผ้าพันแผล จนกว่าเขาจะหายป่วย สิ่งที่ทำให้เสียการเช็ดบนเฝือกและผ้าพันแผล การเช็ดบนเฝือก และผ้าพันแผลจะใช้ไม่ได้ด้วยการถอดมันออก
Ref: ศูนย์ฺศึกษาอิสลามพญาำไท โดยอาจารย์ มุสตอฟา มานะ

บทขอพร(ดุอา)หลังอาบน้ำละหมาด(นมาซ)

" أشهد أن لا إله إلا الله وحده لا شريك له وأشهد أن محمدا عبده ورسوله "

คำอ่าน : อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะฮฺดะฮูลา ชะรีกะละฮฺ วะอัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน อับดุฮู วะเราะซูลุฮฺ คำแปล : ฉัน ขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าที่สมควรได้รับการอิบาดะฮฺ นอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์ เดียวเท่านั้น โดยไม่มีภาคีใดๆ (บันทึกโดยมุสลิม ลำดับหะดีษที่ 345)

อัลลอฮฺทรงตรัสในซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 6

ว่า يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلاَةِ فَاغْسِلُوْا وُجُوْهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوْا بِرُءُوْسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ

ความว่า : โอ้บรรดาผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลาย จะไปทำการละหมาด พวกท่านจงล้างใบหน้าของพวกท่านและมือของพวกท่านจนถึงข้อศอก และท่านทั้งหลาย จงลูบศีรษะ ของพวกท่านและจงล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม เนื่องจากว่า การอาบน้ำละหมาดเป็นสิ่งที่มุสลิมเราทุกคนต้องปฏิบัติกันทุกวัน วันละหลายเวลา จึงสนใจอยากซักถามในเรื่องนี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจน โดยให้ท่านผู้รู้ทุกท่านร่วมแสดงความเห็น ณ ที่นี้นะคะ จากคำสั่งของอัลลอฮ์ที่ตรัสไว้ในกุรอ่าน เมื่ออ่านแล้ว คำสั่งที่พระองค์ทรงใช้ให้เรากระทำในส่วนที่ต้องล้าง

สรุปได้ดังนี้ คือ

1. ล้างใบหน้า
2. ล้างมือจนถึงข้อศอก
3. ล้างศีรษะ
4. ล้างเท้าถึงตาตุ่ม

ดังนั้น จากการที่ได้เห็นมุสลิมเราอาบน้ำละหมาด และจากการปฏิบัติตามผู้ที่สอนเรามา จะสังเกตเห็นได้ว่า ถึงเวลาลงมือปฏิบัติจริงๆแล้ว เราปฏิบัติกันดังนี้ คือ
1.ล้างมือ
2. บ้วนปาก พร้อมกับสูดน้ำเข้าจมูก
3. ล้างหน้า
4. ล้างมือถึงข้อศอก
5. ล้างศีรษะพร้อมกับเช็ดหูทั้งสอง และ
6. ล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม

ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับคำสั่งเรื่องการอาบน้ำละหมาดอันมาจากอัลลอฮ์โดยตรงแล้ว จะเห็นว่า มีส่วนที่เพิ่มเข้ามา และลำดับที่เปลี่ยนไป จากล้างใบหน้าก่อน เป็นล้างมือก่อน... หากยึดหลักการอาบน้ำละหมาด 4 ขั้นตอนตามอัลกุรอ่าน โดยที่ลำดับขั้นตอนแตกต่างจากที่ครูเคยสอนเรามา และอาจไม่เหมือนกับมุสลิมส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติกัน ท่านมีความคิดเห็นว่าอย่างไร ในเรื่องศาสนกิจ ของอิสลามนั้น จะถูกบันทึกไว้ในกุรอานทั้งสิ้น และถูกอธิบายขยายความด้วยกุรอานเอง หรือไม่ก็หะดิษ...สิ่งใดที่ไม่มีบันทึกไว้ในทั้ง 2 ถือว่า นั่นคือบิดอะห์(อุตริกรรมทางศาสนา) ในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยของการละหมาดนั้น จะถูกอธิบายด้วยหะดิษ กล่าวคือ พระผู้เป็นเจ้าได้มอบหมายการอธิบายข้อบัญญัติต่าง ๆ ให้กับท่านนบี (กุรอาน 4:59)" ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง" (กุรอาน 3:132) " และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา " (กุรอาน 4:80) " ผู้ใดเชื่อฟังรอซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว และผู้ใดผินหลังให้ เราก็หาได้ส่งเจ้าไปในฐานะเป็นผู้ควบคุมพวกเขาไม่ " (กุรอาน 24:56) " และพวกเจ้าจงดำรงละหมาด และจงบริจาคอัซซะกาฮ์ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามรอซูล เพื่อพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา " (กุรอาน 4:59) " ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง " (กุรอาน 4:69) " และผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺ และรอซูลแล้วชนเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงกรุณาเมตตาแก่พวก เขา อันได้แก่บรรดานบี บรรดาผู้ที่เชื่อโดยดุษฏี บรรดาผู้ที่เสียชีวิตในสงคราม และบรรดาผู้ที่ประพฤติดี และชนเหล่านี้แหละเป็นเพื่อนที่ดี " (กุรอาน 33:71) " พระองค์จะทรงปรับปรุงการงานของพวกเจ้าให้ดีขึ้นสำหรับพวกเจ้า และจะทรงอภัยโทษความผิดของพวกเจ้าให้แก่พวกเจ้าและผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตาม อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ แน่นอนเขาได้รับความสำเร็จใหญ่หลวง "





Download

การอาบน้ำละหมาด การอาบน้ำ และการละหมาด
http://d1.islamhouse.com/data/th/ih_books/th4762.pdf

ความประเสริฐของการรักษาน้ำละหมาด
http://www.islamhouse.com/p/261775

การอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์)
http://www.islamhouse.com/p/154588

ขั้นตอนการอาบน้ำละหมาดและการละหมาด
http://www.islamhouse.com/p/190142

สอนการอาบน้ำละหมาด
http://www.thaimuslim.com/viewclip.php?page=2&id=400&c=2

2 ความคิดเห็น:

  1. สิ่งที่ทำให้วุฎูอ์(น้ำละหมาด)ใช้ไม่ได้มีดังนี้

    1- เมื่อมีสิ่งใดเคลื่อนออกจากทวารทั้งสอง เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ การผายลม มะนีย์(อสุจิ) มะซีย์(น้ำเหนียวๆ ที่ออกเพราะความกำหนัด) เลือด เป็นต้น

    2- เมื่อมีการสิ้นสติ อาจโดยการนอนหลับสนิท เป็นลม หรือมึนเมา เป็นต้น

    3- เมื่อมีการจับอวัยวะเพศโดยไม่มีสิ่งปกปิด

    4- เมื่อเกิดกรณีที่จำเป็นต้องอาบน้ำ เช่นญะนาบะฮฺ ประจำเดือน และนิฟาส

    5- เมื่อมีการริดดะฮฺ(ปฏิเสธอิสลามหลังจากที่ได้ศรัทธาแล้ว)

    6- เมื่อทานเนื้ออูฐ ดังมีรายงานจากท่านญาบิรฺ อิบนฺ สะมุเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า

    أَنَّ رَجُلًا سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَأَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الْغَنَمِ قَالَ إِنْ شِئْتَ فَتَوَضَّأْ وَإِنْ شِئْتَ فَلَا تَوَضَّأْ قَالَ أَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الْإِبِلِ قَالَ نَعَمْ فَتَوَضَّأْ مِنْ لُحُومِ الْإِبِلِ

    ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้มาถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ฉันต้องทำวุฎูอ์หรือไม่เมื่อกินเนื้อแพะ ท่านกล่าวตอบว่า หากท่านต้องการทำวุฎูอ์ ท่านก็ทำ หากท่านไม่ต้องการทำ ท่านก็ไม่ต้องทำ แล้วชายคนนั้นก็ถามอีกว่า ฉันต้องทำวุฎูอ์หรือไม่เมื่อกินเนื้ออูฐ ท่านกล่าวตอบว่า ใช่ ท่านต้องทำวุฎูอ์เมื่อท่านกินเนื้ออูฐ”

    (รายงานโดยมุสลิม เลขที่: 360)



    • ผู้ใดมีความมั่นใจว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่มีน้ำละหมาด แต่มีความลังเลว่ามีหะดัษหรือไม่ ให้ถือว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่สะอาดเอาไว้ก่อน และผู้ใดมีความมั่นใจว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่มีหะดัษ แต่มีความสงสัย ลังเลว่ายังอยู่ในสภาพที่สะอาด ให้ถือว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่มีหะดัษ ต้องชำระทำความสะอาด ดังมีรายงานจากท่านอะบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

    إِذَا وَجَدَ أَحَدُكُمْ فِي بَطْنِهِ شَيْئًا فَأَشْكَلَ عَلَيْهِ أَخَرَجَ مِنْهُ شَيْءٌ أَمْ لَا فَلَا يَخْرُجَنَّ مِنَ الْمَسْجِدِ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيحًا

    ความว่า “หากผู้ใดในหมู่พวกท่านรู้สึกว่าท้องเสีย แล้วมีความลังเลว่ามีอะไรออกมาจากท้องหรือไม่นั้น เขาไม่จำเป็นต้องออกจากมัสยิด (เพื่อไปทำวุฎูอ์ใหม่) จนกว่าจะ (มั่นใจโดยการ) ได้ยินเสียงการผายลมอย่างชัดเจนหรือได้กลิ่นอย่างแน่นอน”

    (รายงานโดยมุสลิม เลขที่: 362)



    • สุนัต(ส่งเสริม) สำหรับผู้ที่กระทบกับเพศตรงข้ามโดยมีความรู้สึกในความใคร่ แต่มิได้มีสิ่งใดเคลื่อนออกจากอวัยวะเพศ หรือผู้ที่สัมผัสกับเอาเราะฮฺของเด็ก หรือ อาเจียน หรือแบกศพ ให้ทำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)ในทุกๆ กรณี และทุกๆ เวลาละหมาด ตราบใดที่ยังไม่ถึงขั้นมีหะดัษ ซึ่งในกรณีนั้นถือว่าจำเป็นต้องทำวุฎูอ์



    • การนอนหลับแบบไม่สนิทในท่ายืน ในท่านั่ง ในท่านอนตะแคงนั้น ไม่ถือว่าเสียวุฎูอ์



    • หากผู้ใดจูบหอมภรรยาของเขาแม้จะมีความรู้สึกในความใคร่ ก็ไม่ถือว่าเสียวุฎูอ์นอกจากว่ามีสิ่งใดเคลื่อนออกจากอวัยวะเพศ



    • สุนัต(ส่งเสริม) ให้มีการทำวุฎูอ์ก่อนจะเข้านอนและสุนัตให้ผู้ที่มีญะนาบะฮฺ และปรารถนาจะหลับต่อหรือจะมีเพศสัมพันธ์อีกครั้งโดยที่ยังไม่อาบน้ำญะนาบะฮฺ ให้ทำวุฎูอ์ก่อน



    • ปัสสาวะของสัตว์ที่อนุญาตให้กินเนื้อมันได้ มูลและน้ำเชื้อของมัน รวมทั้งน้ำอสุจิของมนุษย์ล้วนถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาด และรอยปากของแมวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาดเช่นกัน



    • สัตว์ป่าที่ดุร้าย นกนักล่าที่มีกรงเล็บ ลาบ้านและล่อ ล้วนถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาดตราบใดที่มันยังมีชีวิตและรอยปากของมันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาดเช่นกัน ไม่มีสิ่งใดจากตัวมันที่เป็นถือเป็นนะญิสนอกจากมูล ปัสสาวะและเลือดของมัน



    • หะรอม(เป็นสิ่งต้องห้าม)สำหรับผู้ที่มีหะดัษ ทำการละหมาดและจับต้องอัลกุรอานจนกว่าเขาจะทำวุฎูอ์



    • สิ่งที่ออกจากร่างกายของมนุษย์นั้นมีอยู่สองชนิด คือ

    1- สิ่งที่สะอาด เช่นน้ำตา น้ำมูก เสลด น้ำลาย เหงื่อ น้ำอสุจิ

    2- สิ่งที่เป็นนะญิส (ไม่สะอาด) เช่นอุจจาระ ปัสสาวะ วะดีย์(น้ำเมือกที่ออกหลังปัสสาวะ) มะซีย์(น้ำเหนียวๆ ที่ออกเพราะความกำหนัด) เลือดที่ออกจากทวารทั้งสอง



    • เลือดที่ออกจากทวารทั้งสองนั้นถือว่าเป็นเหตุที่ทำให้วุฎูอ์ใช้ไม่ได้ แต่สำหรับเลือดที่ออกจากส่วนอื่นของร่างกายเช่น จมูก ฟัน บาดแผลและอื่นๆนั้นจะไม่ถือว่าเป็นเหตุที่ทำให้วุฎูอ์ใช้ไม่ได้ ไม่ว่าเลือดที่ออกจะน้อยหรือมากก็ตาม แต่ทว่าให้ชำระล้างออกจะดีกว่า เพราะถือว่าเป็นการรักษาความสะอาดจากสิ่งโสโครก




    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย: ดานียา เจะสนิ

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยม