วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

การตักวา

การตักวา คืออะไร
“ตักวา” หรือการสำรวมตนต่ออัลลอฮ์นั้นหมายถึง การระมัดระวังตนให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮ์โดยการปฏิบัติสิ่งที่แสดงถึงการภักดี ( ตออะฮ์ ) ต่อพระองค์ กล่าวคือ เป็นการปกป้องตนเองให้พ้นจากการกระทำหรือละทิ้งการกระทำใด ๆ ก็ตามที่จะเป็นเหตุให้ต้องได้รับโทษจากพระองค์ ( อัลญุรฺญานีย์ / ดู อัลกอมูซ อัลฟิกฮีย์ 1988 หน้า 386 ) กล่าวได้ว่า “ตักฺวา” หรือการสำรวมตนต่ออัลลอฮ์นั้นหมายถึง การกระทำสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาใช้และออกห่างจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามนั่นเอง

ตักวาตามหลักภาษาอาหรับ

อัตตักวาตามหลักภาษาอาหรับ : มาจากคำว่า وَقَى (วะกอ) หมายถึง "การหักห้ามหรือป้องกัน" หรือมีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า "ความยำเกรง" ดังนั้น คำว่าตักวาตามหลักภาษาอาหรับ ย่อมหมายถึง "การรักษาป้องกันจากสิ่งที่น่ารังเกียจและควรหลีกห่าง"

ท่านอิบนุกะษีร ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า "รากศัพท์เดิมของคำว่า ตักวา นั้น หมายถึง การรักษาป้องกันจากสิ่งที่น่ารังเกียจ"

ท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้ถามท่านอุบัย บิน กะอับ ถึงเรื่อง ตักวา ? ท่านอุบัย ตอบว่า "ท่านไม่เคยเดินบนทางที่มีขวากหนามกระนั้นหรือ?" ท่านอุมัรตอบว่า "หามิได้" ท่านอุบัยกล่าวว่า "แล้วท่านปฏิบัติสิ่งอันใดหรือ?" ท่านอุมัรตอบว่า "ฉันได้ทุ่มเทและมีความพากเพียรในการทำอิบาดะฮ์" ท่านอุบัยกล่าวว่า "ดังกล่าวนั่นแหละคือการตักวา"

ท่านอิบนุมันซูร กล่าวว่า "ตักวานั้นมาจากคำว่า وِقَايَة (วิกอยะฮ์) หมายถึงการปกป้อง เช่นกล่าวว่า "อัลเลาะฮ์ทรงปกป้องท่านจากความชั่วของชายคนหนึ่ง"

ในอัลกุรอานระบุว่า "และไม่มีผู้ใด(วิกอยะฮ์)ปกป้องพวกเขาให้พ้นจาก(การลงโทษ)ของอัลเลาะฮ์ได้" (40:21)

คำว่า ตักวา เป็นอาการนาม ซึ่งอัลกุรอานได้ระบุความว่า "และพระองค์ทรงประทานแก่พวกเขาซึ่งความตักวาของพวกเขา" (47:17) หมายถึง พระองค์ทรงตอบแทนความยำเกรงของพวกเขา บางทัศนะกล่าวว่า หมายถึง อัลเลาะฮ์ทรงดลใจให้พวกเขามีความยำเกรง

และคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ความว่า " พระองค์เท่านั้นคือพระเจ้าแห่งการตักวาและพระเจ้าแห่งการให้อภัย" (74:56) หมายถึง พระองค์ทรงเป็นเจ้าแห่งการปกป้องผู้ยำเกรงจาการลงโทษของพระองค์และพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงกระทำสิ่งที่นำไปสู่การอภัยโทษต่อผู้ที่ทำการขออภัยโทษต่อพระองค์

และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "โอ้ นบีเอ๋ย เจ้าจงตักวาต่ออัลเลาะฮ์" (33:1) หมายถึง เจ้าจงยืนหยัดและมั่นคงต่อการยำเกรงอัลเลาะฮ์"


การตักวา สำคัญอย่างไร
สำหรับผู้ที่ได้ชือว่าเป็นผู้ที่ตักวาแล้วนั้น เขาจะได้รับประโยชน์และคุนค่าจากความตักวาอย่างมากมายมหาศาล ทั้งในโลกนี้และโลกอาคิเราะฮฺ สำหรับในโลกนี้ อาทิเช่น

1. อัลลอฮฺจะทรงยกฐานะของผู้ที่ตักวาเป็นผู้ที่มีเกียรติที่สุด พระองค์ตรัสว่า

«إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِندَ اللهِ أَتْقَاكُمْ» (الحجرات : 13 )
ความว่า แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่ตักวายิ่งในหมู่พวกเจ้า(อัลหุญุร็อต 13)

2. พระองค์จะทรงคุ้มครองและทรงอยู่เคียงข้างผู้ที่ตักวาเสมอ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

« وَاتَّقُواْ اللهَ وَاعْلَمُواْ أَنَّ اللهَ مَعَ الْمُتَّقِينَ» (البقرة : 194 )
ความว่า จงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิดและจงรู้ไว้ด้วยว่า อัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ตักวาทั้งหลาย (อัลบะเกาะเราะฮฺ 194)

3. พระองค์จะทรงประทานแสงสว่างแห่งทางนำ เพื่อที่จะแยกแยะระหว่างอัลฮัก (ความถูกต้อง) กับอัลบาฏิล(ความหลงผิด)

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللهَ وَآمِنُوا بِرَسُولِهِ يُؤْتِكُمْ كِفْلَيْنِ مِن رَّحْمَتِهِ وَيَجْعَل لَّكُمْ نُوراً تَمْشُونَ بِهِ وَيَغْفِرْ لَكُمْ وَاللهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ» (الحديد : 28 )
ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตักวาต่ออัลลอฮฺ และจงศรัทธาต่อรอซูลของพระองค์เถิด (เพราะ)พระองค์จะทรงประทานความเมตตาให้แก่พวกเจ้าสองเท่า และจะทรงให้แสงสว่างแก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้ในการดำเนินชีวิต และจะทรงอภัยโทษแก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ (อัลหะดีด /28)



และพระองค์ตรัสอีกว่า

«يِا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إَن تَتَّقُواْ اللهَ يَجْعَل لَّكُمْ فُرْقَاناً» (الأنفال : 29 )
ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากพวกเจ้าตักวาต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงให้มีแก่พวกเจ้าซึ่งสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ (สามารถรู้จักสิ่งใดคือความถูกต้องและสิ่งใดคือความเท็จ)(อัลอันฟาล / 29)



4. พระองค์จะทรงให้ทางออกและริสกีย์อันมากมาย อัลลอฮฺตรัสว่า

«وَمَن يَتَّقِ اللهَ يَجْعَل لَّهُ مَخْرَجاً وَيَرْزُقْهُ مِنْ حَيْثُ لَا يَحْتَسِبُ» (الطلاق : 2-3 )
ความว่า และผู้ใดก็ตามที่ตักวาต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงชี้ทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากสิ่งที่เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อน (อัตเฏาะลาก 2-3)



5. พระองค์จะทรงทำให้การงานของผู้ที่ตักวานั้นราบรื่นและสะดวกง่ายดาย ดังที่พระองค์ตรัสว่า

« وَمَن يَتَّقِ اللهَ يَجْعَل لَّهُ مِنْ أَمْرِهِ يُسْراً» (الطلاق : 4 )
ความว่า และผู้ใดก็ตามที่ตักวาต่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงทำให้กิจการของเขาสะดวกและง่ายดาย



6. พระองค์จะทรงทำให้เขามีจิตใจที่สงบสุข ไม่หวาดกลัว และไม่โศกเศร้าเสียใจ พระองค์ตรัสว่า

«فَمَنِ اتَّقَى وَأَصْلَحَ فَلاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ» (الأعراف : 35 )
ความว่า ดังนั้น ผู้ใดที่ตักวาและได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว พวกเขาก็จะไม่มีความหวาดกลัวและไม่เสียใจใดๆอีก(อัลอะอฺรอฟ/35)



7. พระองค์จะทรงเพิ่มพูนความบะเราะกะฮฺ ความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพของเขา พระองค์ตรัสว่า

«وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ » (الأعراف : 96 )
ความว่า และหากว่าชาวเมืองนั้นศรัทธาและตักวาแล้วไซร้ แน่นอนเราก็จะเปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและพื้นแผ่นดิน(หมายถึงให้ฝนตกลงมาตามฤดูกาลและให้แผ่นดินงอกเงยซึ่งพืชผลอันเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา)

ผลประโยชน์จากการตักวาในโลกดุนยา

1. การตักวา เป็นเหตุให้กิจการงานต่าง ๆ มีความง่ายดาย อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "และผู้ใดตักวาต่ออัลลอฮ์ พระองค์จะทรงทำให้กิจการของเขาสะดวกง่ายดายแก่เขา" 65:4

2. การตักวา เป็นสาเหตุในการปกป้องโทษต่าง ๆ ของชัยฏอน อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความตักวานั้น เมื่อมีคำชี้นำใด ๆ จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึกได้แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น" 7:201

3. การตักวา เป็นเหตุให้ความจำเริญได้เปิดและเพิ่มพูนริสกีจากฟากฟ้าและแผ่นดิน อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความตักวาแล้วไซร้ แน่นอนเราก็เปิดให้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและแผ่นดิน" 7:96

4. การตักวา เป็นเหตุให้บ่าวได้รับทางนำในการจำแนกความจริงและความเท็จได้ อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! หากพวกเจ้ายำเกรงอัลลอฮ์ พระองค์ก็จงทรงให้มีแก่พวกเจ้าซึ่งสิ่งที่จำแนกความจริงและความเท็จ" 8:29

5. การตักวา เป็นเหตุทำให้รอดพ้นจากความยากลำบาก ได้รับริสกีและมีความสะดวกสบายสำหรับผู้ที่มีความตักวาอย่างไม่สามารถคำนวนได้ อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "และผู้ใดมีความตักวาต่ออัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขาและจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงบรรลุในกิจการของพระองค์ โดยแน่นอนสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างนั้น อัลลอฮ์ทรงกำหนดกฎสภาวะไว้แล้ว" 65:2-3

6. การตักวา เป็นเหตุทำให้เขาเป็นคนรักของอัลเลาะฮ์ตาอาลา พระองค์ทรงตรัสความว่า "บรรดาผู้เป็นที่รักของอัลเลาะฮ์นั้น มิใช่ใครอื่น นอกจากบรรดาผู้มีความตักวา" 8:34

7. การตักวา เป็นสาเหตุให้อะมัลมีคุณค่าและถูกตอบรับและทำให้ได้รับการอภัยโทษ อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! จงตักวาต่ออัลลอฮ์ และจงกล่าวถ้อยคำที่เที่ยงธรรมเถิด พระองค์จะทรงปรับปรุงการงานของพวกเจ้าให้ดีขึ้นสำหรับพวกเจ้า และจะทรงอภัยโทษความผิดของพวกเจ้าให้แก่พวกเจ้าและผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮ์แล่ะร่อซู้ลของพระองค์ แน่นอนเขาได้รับความสำเร็จใหญ่หลวง" 33:70-71

8. การตักวา เป็นสาเหตุทำให้ได้รับความรักต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา ซึ่งความรักนี้จะได้รับทั้งในโลกนี้เฉกเช่นเดียวกับโลกหน้า อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "มิใช่เช่นนั้นดอก ผู้ใดที่รักสัญญาของเขาโดยครบถ้วน และตักวา (อัลลอฮ์) แล้วแน่นอนอัลลอฮ์ทรงรักผู้ที่มีความตักวานั้น" 3:76

9. การตักวา เป็นเหตุให้เราได้รับความรู้ อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "และพวกเจ้าจงตักวาต่ออัลลอฮ์เถิด และอัลเลาะฮ์จะทรงสอนพวกเจ้า" 2:282

10. การตักวา เป็นสาเหตุให้ได้รับข่าวดีในโลกนี้ ไม่ว่าจะได้รับการฝันเห็นสิ่งดี ๆ บรรดาผู้คนให้ความชื่นชอบ มอบความรักและให้การสรรเสริญต่อเขา อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "คือบรรดาผู้ศรัทธา และพวกเขามีความตักวา สำหรับพวกเขาจะได้รับข่าวดีในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ (เช่นการฝันเห็นสิ่งดีงาม) และในโลกหน้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในลิขิตของอัลลอฮ์ นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่" 10:63-64

http://deen2do.com/taqwa/archives/31

คุณประโยชน์บางประการของการตักวามีดังต่อไปนี้
1. ได้รับการพิทักษ์และป้องกันให้พ้นภัยจากศัตรู ดั่งที่อัลลอฮ์ตรัสว่า

قال تعالى : ((... وَإِن تَصْبِرُواْ وَتَتَّقُواْ لاَ يَضُرُّكُمْ كَيْدُهُمْ شَيْئًا... ۞)) سورة آل عمران : 120

“...และหากพวกเจ้าอดทน และสำรวมตน ( ตักวา ) แน่นอนแผนการของพวกเขาไม่อาจก่ออันตรายใด ๆ แก่พวกเจ้าแม้แต่น้อย ... ۞ ” อัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 120

2. ได้รับสัมฤทธิผลในหน้าที่การงานและการอภัยโทษจากอัลลอฮ์ อัลลอฮ์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

قال تعالى : (( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَقُولُوا قَوْلًا سَدِيدًا۞ يُصْلِحْ لَكُمْ أَعْمَالَكُمْ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَمَن يُطِعْ اللَّهَ وَرَسُولَهُ فَقَدْ فَازَ فَوْزًا عَظِيمًا۞)) سورة الأحزاب : 70 – 71

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงสำรวมตนต่ออัลลอฮ์และจงกล่าวแต่คำพูดที่เที่ยงตรงเถิด ۞ แน่นอนพระองค์ย่อมทรงประทานสัมฤทธิผลแก่พวกเจ้าในการงานต่าง ๆ ของพวกเจ้า และทรงประทานอภัยโทษแก่พวกเจ้า และผู้ใดภักดีอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ แน่นอนเขาย่อมได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่ ۞” อัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ อายะฮ์ที่ 70 – 71

3.ได้รับความรักจากอัลลอฮ์ ดั่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในโองการอัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 76

4. มีเกียรติ ณ อัลลอฮ์ อัลกุรฺอานระบุไว้ชัดเจนว่า

قال تعالى : ((... إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِندَ اللَّهِ أَتْقَاكُمْ ... ۞)) سورة الحجرات : 13

“... แท้จริงผู้ที่มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกเจ้า ณ อัลลอฮ์คือผู้ที่สำรวมตนต่ออัลลอฮ์มากที่สุดในหมู่พวกเจ้า ... ۞” อัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์อัลหุญุรอต อายะฮ์ที่ 13

5. ได้รับข่าวดีเมื่อวิญญาณออกจากร่าง กุรฺอานเล่าไว้ว่า


قال تعالى : ((أَلا إِنَّ أَوْلِيَاء اللّهِ لاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ ۞ الَّذِينَ آمَنُواْ وَكَانُواْ يَتَّقُونَ ۞ لَهُمُ الْبُشْرَى فِي الْحَياةِ الدُّنْيَا وَفِي الآخِرَةِ لاَ تَبْدِيلَ لِكَلِمَاتِ اللّهِ ذَلِكَ هُوَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ ۞)) سورة يونس : 62 – 64

“พึงทราบเถิดว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่สนิทกับอัลลอฮ์นั้น พวกเขาย่อมไม่มีความหวาดหวั่นใด ๆ อีกทั้งพวกเขาไม่พบกับความเศร้าโศก ۞ ( บุคคลเหล่านั้น ) เป็นบรรดาผู้ที่ศรัทธาและพวกเขาสำรวมตน( ต่ออัลลอฮ์ ) ۞ พวกเขาได้รับข่าวดีในชีวิตโลกนี้ และในโลกหน้าย่อมไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับประกาศิต ( สัญญา ) แห่งอัลลอฮ์ นั่นแหละคือรางวัลอันยิ่งใหญ่۞”
อัลกุรฺอาน ซูฮ์ยูนุส อายะฮ์ที่ 62 – 64

6. รอดพ้นจากนรก อัลกุรฺอานยืนยันไว้ว่า

قال تعالى : ((ثُمَّ نُنَجِّي الَّذِينَ اتَّقَوا وَّنَذَرُ الظَّالِمِينَ فِيهَا جِثِيًّا۞)) سورة مريم : 72

“หลังจากนั้น เราได้ประทานหนทางรอดพ้นแก่บรรดาผู้ที่สำรวมตน และเราได้ปล่อยบรรดาผู้ที่ทุจริตไว้ใน ( นรก ) นั้นในอาการคุกเข่า ( ด้วยความหวาดหวั่นและระทมทุกข์ )
อัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์ยูนุส อายะฮ์ที่ 72





7. เข้าสวรรค์ตลอดกาล

قال تعالى : ((وَسَارِعُواْ إِلَى مَغْفِرَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ وَجَنَّةٍ عَرْضُهَا السَّمَاوَاتُ وَالأَرْضُ أُعِدَّتْ لِلْمُتَّقِينَ)) سورة آل عمران : 133

“และพวกเจ้าทั้งหลายจงจงเร่งรีบสู่การให้อภัยจากองค์อภิบาลของพวกเจ้าและสู่สวนสวรรค์เถิด ซึ่งความกว้างของมันเท่ากับฟากฟ้าและผืนปฐพี มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่สำรวมตน ( ต่ออัลลอฮ์ )” อัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 133

8. รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ และได้รับปัจจัยยังชีพที่ศาสนาอนุมัติ (หะล้าล)

قال تعالى : ((...وَمَن يَتَّقِ اللَّهَ يَجْعَل لَّهُ مَخْرَجًا۞ وَيَرْزُقْهُ مِنْ حَيْثُ لَا يَحْتَسِبُ ... ۞))
سورة الطلاق : 2-3

“... และผู้ใดสำรวมตนต่ออัลลอฮ์ แน่นอนพระองค์จักทรงประทานทางออกแก่เขาเสมอ ( ในปัญหาและวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ) ۞และพระองค์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาโดยที่เขาคิดไม่ถึง ... ۞” อัลกุรฺอาน ซูเราะฮ์อัตเตาะลากฺ อายะฮ์ที่ 2 – 3


www.masjidsamin.com

4 ขั้นตอนสู่ ตักวา

อุมมุ กอยยิม เรียบเรียง

ตักวา เป็นความสำนึกถึงการเฝ้าดูอยู่ของอัลลอฮฺ จนกระทั่งทำให้คนๆนั้นละทิ้งบาปต่างๆในโลกนี้ และทำให้เขารอดพ้นจากการลงโทษในโลกหน้า ต่อไปนี้คือ วิธีการที่จะได้รับตักวาอย่างกระชับ



ขั้นที่ 1 การตรวจสอบตัวเอง

เมื่อใดที่บุคคลหนึ่งได้ตรวจของพวกเขาในโลกนี้ เขาจะประสบกับความสำเร็จอย่างมากในโลกหน้า อัล-กุรอาน ได้บรรยายถึงความจริงนี้ว่า

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงตักวาต่ออัลลอฮฺเถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่าอะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับพรุ่งนี้”(ซูเราะฮฺอัล-ฮัชรฺ :18)

ในอายะฮฺนี้มีการอ้างอิงถึงการคำนึงใส่ใจถึงการกระทำในอดีต

ท่านอุมัร(รฎ) ได้กล่าวว่า “จงตรวจสอบตัวของพวกท่านก่อนที่จะถูกสอบสวน(โดยผู้อื่น)ชั่งน้ำหนักการกระทำของท่านก่อนที่มันจะถูกชั่ง(โดยผู้อื่น)”

ท่านหะสัน บัสรี(รฎ) กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาคือผู้ที่ปกครองเหนือตัวของเขา เขาตรวจสอบตนเองเพื่ออัลลอฮฺ ผู้ที่ได้ใส่ใจในตัวของพวกเขาเองในโลกนี้จะถูกตรวจสอบเพียงเล็กน้อยในโลกหน้า ผู้ที่ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้น้อยจะพบว่าการถูกสอบสวนของพวกเขานั้นยุ่งยากอย่างยิ่ง”

ท่านหะสัน บัสรี (รฎ) ได้กล่าวถึงอายะฮฺ “ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง” (ซูเราะฮฺ อัลกิยามะฮฺ : 2) “ผู้ศรัทธาคนหนึ่งจะติเตียนตนเองอยู่เสมอในเรื่องอาหารของพวกเขา เครื่องดื่มของพวกเขา และคำพูดของพวกเขา ผู้ที่ทำบาปย่อมไม่มีการตำหนิตนเอง”

อบูดารดาอ์(รฎ) กล่าวว่า “ไม่มีใครที่จะได้เข้าใจอิสลามอย่างสมบูรณ์จนกว่าเขาได้ตำหนิผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ของอัลลอฮฺ และเมื่อเขากลับบ้านแล้วได้ตำหนิตนเองยิ่งกว่า”

อิมาม ฆอซาลี(รฎ) กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ได้ตรวจสอบตัวของเขาก่อนที่เขาจะถูกตรวจสอบ ถูกสอบสวนเพียงเล็กน้อยในวันแห่งการตัดสิน เขาจะสามารถตอบคำถามได้ทุกคำถาม”



ขั้นที่ 2 มีชีวิตอย่างสมถะ(คือการเชื่อฟังอัลลอฮฺ)

คนยุคแรกของอิสลามได้กล่าวว่า “เมื่อใดที่บุคคลหนึ่งรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่พวกเขาค้นหา การใช้เวลาเพื่อมันจะเป็นเรื่องที่ง่ายดาย”

อบู ดารดะฮฺ (รฎ)เล่าว่า “ถ้าหากไม่ใช่เพราะว่าสามสิ่งนี้แล้ว ฉันไม่ต้องการจะมีชีวิตอยู่แม้สักวันเดียว : (1)ความหิวกระหายเพื่อพระองค์อัลลอฮฺในยามป่วย (2)การหมอบตัวลงต่อหน้าพระองค์ในยามค่ำคืน และ(3)กลุ่มเพื่อนที่พินิจพิจารณาเลือกการสนทนาในเรื่องที่ดียิ่งเหมือนผู้คนที่เลือกเอาผลไม้ที่ดีที่สุด”

ยะหฺยา อิบนิ มุอาด (รฎ) เล่าว่า “ขอแสดงความยินดีกับบรรดาผู้ที่หลีกหนีจากโลกนี้ ก่อนที่มันจะละทิ้งพวกเขา กับบรรดาผู้ที่สร้างหลุมฝังศพของพวกเขาเองก่อนที่เขาจะเข้าไปอยู่ และกับบรรดาผู้ที่ทำให้ผู้อภิบาลของเขาพอใจก่อนที่จะพบกับพระองค์”

อาลี (รฎ) กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ปรารถนายังสรวงสวรรค์จะแข่งขันกันในการทำความดี ใครก็ตามที่กลัวนรก จะไม่ถูกล่อลวง ใครก็ตามที่แน่ใจในความตายจะระงับความพึงพอใจต่างๆ และใครก็ตามที่ตระหนักเกี่ยวกับโลกนี้จะอดทนต่อความยากลำบากด้วยความสบายใจ”



ขั้นที่ 3 รู้จักลงโทษตัวเอง(ตามชะรีอะฮฺ)

คนรุ่นก่อนลงโทษตัวของพวกเขาเองเมื่อกระทำความผิดหรือละเลยในเรื่องอิสลาม ดังที่ท่านอุมัร (รฎ) ได้บริจาคที่ดินผืนหนึ่งมูลค่า 200,000 ดิรฮัม เมื่อท่านได้ลืมละหมาดอัสริ

ตามีน ดารี (รฎ) ได้ล้มเหลวต่อการตื่นขึ้นละหมาดตะฮัจญุดในคืนหนึ่ง ท่านได้ตื่นขึ้นในตอนกลางคืนทั้งปีในปีถัดมา

ท่านฎอลหะฮฺ (รฎ) ได้เคยจดจ่ออยู่กับนกที่อยู่บนกำแพงของสวนผลไม้ในขณะที่ท่านละหมาด ท่านจึงได้บริจาคสวนนั้นไปเพื่อชดเชยต่อความผิดอันนี้ของท่าน

ฮัสสัน อิบนิ สินาน(รฎ) ได้ผ่านยังที่พักอาศัยแห่งหนึ่งและถามว่ามันได้สร้างขึ้นเมื่อใด? ท่านได้คิดใคร่ครวญชั่วขณะหนึ่งและตระหนักว่าท่านได้ถามในบางสิ่งซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับท่านเลย ท่านจึงได้ให้ตัวเองถือศีลอดเป็นเวลาทั้งปี



ขั้นที่ 4 พิจารณาข้อคิดที่ได้จากคนศอลิหฺ (คนดีมีคุณธรรม)

สิ่งที่สำคัญที่ควรทำภายหลังจากขั้นตอนทั้งหมดคือการพิจารณาข้อคิดต่างๆที่ได้จากผู้ที่ดำรงตนอยู่ในกรอบของอิสลามเพื่อเป็นคติเตือนใจ และรับเอาบุคลิกภาพของพวกเขามาใช้ มันจะนำท่านสู่ความตักวา ดังเช่นคำพูดของคนมีความตักวาในอดีต ดังต่อไปนี้

อบูบักร อัซซิดดีก (รฎ) กล่าวว่า “ใครก็ตามที่เข้าสู่หลุมฝังศพของเขาโดยปราศจากการเตรียมตัวใดๆ เป็นดังเช่นบุคคลที่จะออกสู่ทะเลโดยไม่มีเรือนั่นเอง”

หะสัน บัสรี (รฎ) กล่าว่า “หัวใจจะไม่บริสุทธิ์เพราะ 6 ประการ คือ

(1)การทำบาปโดยมีความหวังจะสำนึกผิด

(2)การแสวงหาความรู้และไม่ได้ใช้มัน

(3)การกระทำที่ไม่มีความจริงใจ

(4)การใช้ปัจจัยยังชีพของอัลลอฮฺโดยไม่ได้ซาบซึ้งในพระองค์

(5)ไม่พึงพอใจในการแบ่งปันจากอัลลอฮฺ (แม้เพียงเล็กน้อย)

(6)การฝังศพโดยปราศจากการเรียนรู้จากพวกเขา(ไม่ได้รับบทเรียน)”

http://www.muslimtsu.com/2007/catalog.php?idp=117

ราจะพบว่าอัลกุรอานสั่งและชี้แนะให้เราใช้ตักวาในการประพฤติปฏิบัติและกิจกรรมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม การเมือง และเรื่องในระดับสากล ดังจะเห็นได้จากดัชนีพฤติกรรมและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการตักวาโดยคร่าวๆ ต่อไปนี้ด้านความเชื่อ การศรัทธา อะกีดะฮฺ จิตวิญญาณการยึดมั่นในคำสอนของอัลลอฮฺ 3:102, การเลือกเส้นทางที่เที่ยงตรง 6:153, การหักล้างข้อสงสัยในคัมภีร์ 2:24, วันกิยามะฮฺ 2:48, 123, การเอาชนะกับไสยศาสตร์ 2:103, คำสั่งต่อชาวคัมภีร์ 2:41, การศรัทธาต่ออัลกุรอาน 6:155, เหตุแห่งปัจจัยยังชีพ 7:96, ความปลอดภัยจากชัยฏอน 7:210, การซื่อสัตย์ต่ออิสลาม 30:31, คำสั่งแก่ท่านรอซูล 23:1, การศรัทธาต่อรอซูล57:28, บรรยายลักษณะของนรก 39:16, บรรยายลักษณะของสวรรค์ 39:20, 73, การไม่ล้ำ4หน้าอัลลอฮฺและรอซูล 49:1, การตามท่านรอซูล 59:7, การเข้าใจชีวิตบนโลกดุนยา 47:36, การเชิญชวนของบรรดานบี 26:108, 110, 126, 131, 132, 144, 150, 163, 179, 184, การเชิญชวน
ของนบีนูหฺ 23:23, 71:3, การเชิญชวนของนบีฮูด 7:65, การเชิญชวนของนบีอิบรอฮีม 29:16, การเชิญชวนของนบีมูซา 7:128, การเชิญชวนของนบีอิลยาส 37:124, การเชิญชวนของนบีอีซา 3:50,43:63

ด้านการปฏิบัติ ข้อบัญญัติ มารยาท
ความรู้ 2:282, การละหมาด 20:132, การถือศีลอด 2:183, การให้เกียรตินครมักกะฮฺ 5:2,หัจญ์ 2:196, 197, 203, การล่าสัตว์ของผู้ทำหัจญ์ 5:96, การเชือดสัตว์พลี 22:37, ความยุติธรรมและการเป็นพยาน 5:8,108, การสั่งเสียก่อนตาย 2:180, การสั่งเสียแก่ภรรยาที่ถูกหย่า 2:241,การใช้จ่าย 64:16, ดอกเบี้ย 2:278, 3:130, การจ่ายหนี้สิน 2:281, 282, อาหารการกิน 5:4, 88,93, ของดีกับของไม่ดี 5:100, การปกปิดร่างกายด้วยเสื้อผ้า 7:26, การเข้าบ้าน 2:189, คำสั่งแก่ภรรยาท่านรอซูลและมารยาทการพูดของผู้หญิง 23:32, การปกปิดเอารัตของผู้หญิง 23:55, การพูดสิ่งที่ดี 23:70, มารยาทของมุอ์มิน การกล่าวหา การไม่ไว้วางใจ การนินทา 49:12, การกระซิบกระซาบ 58:9, การนอบน้อมและไม่หยิ่งยโส 28:83,

ด้านครอบครัว สังคม การเมือง การปกครอง สงคราม
การร่วมกับภรรยา 2:223, การหย่าร้าง 2:231, 65:1, การไกล่เกลี่ยระหว่างสามีภรรยา4:128, ค่าดูแลบุตร 2:233, ครอบครัว เครือญาติ 4:1, การมีภรรยาหลายคน 4:129, 131, การระวังฟิตนะฮฺของภรรยาและบุตร 64:16, การเป็นพี่น้องของมุอ์มิน 49:10, การรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคม 8:25, พวกรักร่วมเพศ 11:78, 15:69, การลงโทษฆาตกร 2:179, อาชญากรรม 2:194,206, การสงคราม 3:123, การให้เกียรติเดือนต้องห้าม 9:36, การผูกสัมพันธ์กับผู้ปฏิเสธ 5:57, การ
แบ่งทรัพย์สงคราม 8:1, การใช้ทรัพย์สินที่ยึดจากสงคราม 8:69, การทำสัญญากับคู่สงคราม 9:4,7, การอดทนต่ออุปสรรคในการทำงานเพื่ออิสลาม 16:127-128, การอดทนต่อการปะทะต่อสู้ทางความคิดและจิตวิทยา 3:120, 125, 184, การปะทะเผชิญหน้ากับความเท็จและบททดสอบ 3:172,198, 200, การเป็นประชาชาติเดียวกัน 23:52

ดัชนี้ข้างบนนั้นชี้ให้เห็นว่า ถ้าคุณต้องการให้ชีวิตส่วนตัวประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านจิตวิญญาณและร่างกาย คุณต้องอาศัยตักวาเป็นตัวนำ ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในเรื่องครอบครัว การดูแลภรรยาและลูกๆ คุณต้องมีตักวาอยู่ในใจ ถ้าคุณต้องการความสูงส่ง เป็นที่เชิดชูและมีเกียรติต่อหน้าประชาชาติอื่นๆ คุณไม่อาจมองข้ามตักวาไปได้ ... ฯลฯ

ปัญหาทุกอย่างแม้กระทั่งเรื่องพลานามัย สุขภาพจิต ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ พฤติกรรมทางเพศ อาชญากรรม ฯลฯ สามารถใช้ตักวาเพื่อแก้ไขได้ !!!

ช่างน่าทึ่ง ที่มีคำสั่งเกี่ยวกับตักวาครอบคลุมทุกอิริยาบทของวิถีชีวิตมากมายเช่นนี้ กระนั้น
เราทั้งหลายก็มิพักจะเข้าใจและนำคำสั่งเหล่านี้มาใช้จริงๆ น้อยคนนักที่มุ่งมั่นเรียนรู้และปฏิบัติ
ตามคำสอนของอัลลอฮฺและรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในการใช้คำสั่งตักวาอย่างจริงจัง
ระยะห่างระหว่างประชาชาติมุสลิมกับชัยชนะและความสำเร็จจึงยังไกลโขอยู่อย่างน่าสงสารและ
น่าสมเพชยิ่ง

เรามีกุญแจแห่งชัยชนะและการรอดพ้นอยู่ในมือ แต่มองไม่เห็นคุณค่า จึงทิ้งขว้างไม่ใยดี
มัน ทุกวันนี้จึงต้องกล้ำกลืนกับการถูกย่ำยีเหยียดหยาม และมีชีวิตอยู่ในจมปลักแห่งความแหลก
เหลวอย่างสุดแสนขมขื่น

มันคงจะเป็นเช่นนี้อีกนานตราบกระทั่งเราทั้งหมดสำนึกและปรับปรุงตัวเองอีกครั้ง เพราะ
จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นหากไม่ใช่เราเองที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง
« إِنَّ اللَّهَ لا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ »
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงหมู่ชนใด กระทั่งพวกเขาเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่อยู่ในตัวพวกเขา” (อัร-เราะอฺด์ : 11)

คำสั่งให้ตักวาคงเป็นเพียงคำสั่งเดียวที่อาจจะเป็นกุญแจมหัศจรรย์ เพื่อจะใช้ไขทางออก
ให้แก่ประชาชาติอิสลามที่ประสบกับความเพลี่ยงพล้ำและความเป็นจริงอันน่ารันทดในปัจจุบัน
แน่นอนที่สุด ไม่มีทางอื่นนอกจากต้องศึกษา “ตักวา” อย่างจริงจัง ตีความหมายของมันให้
ชัดเจน อธิบายให้แจ่มแจ้งในทุกเรื่อง ตักเตือนซึ่งกันให้ทุกคนรับรู้ และปฏิบัติใช้มันอย่างแข็งขันให้
มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด สมกับที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สั่งเสียกับเราว่า
“ท่านจงตักวาต่ออัลลอฮฺ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม” (อัต-ติรมิซีย์ : 1987)

อย่างน้อยที่สุด “ตักวา” ควรต้องเป็นจุดเริ่มต้นที่มุสลิมจะใช้วางแผนเป็นจุดสตาร์ทเพื่อ
การดั้นด้นสู่หลักชัยที่ยังอยู่อีกไกลข้างหน้า มันควรต้องถูกปลูกฝังในทุกอณูความรู้สึกนึกคิดและ
การปฏิบัติของพวกเรา รวมทั้งต้องถ่ายทอดให้อนุชนทุกรุ่นเปี่ยมด้วยพลังนี้ ถ้าหากเราหวังที่จะเห็น
ความสำเร็จและชัยชนะอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม