วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

รู้จักอัลลอฮ



ความสำคัญของการรูจักอัลลอฮฺ
« เมื่อ: 22 มกราคม, 2010, 03:40: AM »

การรู้จักอัลลอฮฺ (มะอฺรีฟะตุลลอฮฺ) เป็นรากฐานของชีวิตและจิตวิญญาณ เราได้รู้จักนบีและรอซูล รู้จักหน้าที่และคุณลักษณะของพวกเขา รู้ถึงความจำเป็นของมนุษย์ที่ต้องมีต่อสาส์นของอัลลอฮฺ รู้จักมั๊วะญิซัต กะรอมะฮ์ คัมภีร์จากฟากฟ้า รู้จักมาลาอีกะฮฺ ญิน และวันอาคีเราะฮฺ คนที่รู้จักอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แน่นอนเขาย่อมรู้ถึงเป้าหมายของชีวิตว่า เขาถูกสร้างขึ้นมาทำไม และเขาต้องอยู่บนโลกนี้เพื่อเป้าหมายใด ด้วยเหตุนี้เขาจะไม่ถูกล่อลวงโดยความรื่นรมย์ของโลกดุนยา จะไม่ลุ่มหลงกับทรัพย์สินที่มีอยู่บนโลกนี้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักอัลลอฮฺ แน่นอนพวกเขาจะถูกล่อลวงและหลงระเริงไปกับความสวยงามของโลกดุนยาดังที่อัลกุรอ่านได้กล่าวว่า "หมู่ ญินและมนุษย์ทั้งหลาย! บรรดาร่อซูลจากพวกเจ้ามิได้มายังพวกเจ้าดอกหรือ?

โดยที่พวกเขาจะบอกเล่าแก่พวกเจ้า ซึ่งบรรดาโองการของข้า และเตือนพวกเจ้า ซึ่งบรรดาโองการของข้า และเพื่อนพวกเจ้า ซึ่งการพบกับวันของพวกเจ้านี้ พวกเขากล่าวว่า พวกข้าพระองค์ขอยืนยันแก่ตัวของพวกเข้าพระองค์เองและชีวิตความเป็นอยู่แห่ง โลกนี้ได้หลอกลวงพวกเขาและพวกเขาก็ได้ยืนยันแก่ตัวของพวกเขาเองว่าแท้จริง พวกเขานั้นเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธา" (อัล- อันอาม : 130) เขาจะหมดชีวิตไปกับการแสวงหาดุนยา ความเอร็ดอร่อยของมันประหนึ่งสัตว์โลกทั่วไป ดังที่อัลกุรอ่านได้กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮ.จะทรงให้บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลายเข้าสู่สวนสวรรค์หลากหลาย ณ เบื้องล่างสวนสวรรค์มีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นพวกเขาจะหลงระเริงและกินเยี่ยงปศุสัตว์กันและไฟนรกคือที่พำนักของพวกเขา" (มุหัมหมัด : 12 ) ผู้ที่รู้จักอัลลอฮฺเขาจะรู้สึกถึงความกว้างของชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม หากพวกเขาเป็นผู้ยากไร้เขาจะอดทน เพราะเขารู้ว่าเบื้องหลังชีวิตที่มีความเสียหายนี้ยังมีชีวิตที่นิรันดร์อยู่ ซึ่งเป็นสถานที่อันบรมสุข หากเขาเป็นเศรษฐี เขาจะขอบคุณ (ชูกูร) เพราะวัตถุปัจจัยที่เขามีอยู่ ณ วันนี้ มันคือของฝากจากพระเจ้าที่ได้ทรงมอบความไว้วางใจ (อามานะฮ์) แก่เขา ดังที่ท่านรอซูล กล่าวว่า “น่าอัศจรรย์สำหรับมุมิน ซึ่งทั้งหมดเป็นความดีสำหรับเขา เมื่อเขาประสบภัยเขาก็จะอดทน (ซอบัร) และเมื่อเขาได้รับความสุขเขาจะขอบคุณ” (รายงานโดย มุสลิม)

ตรงกันข้ามกับผู้ที่ไม่รูจักอัลลอฮฺ เขาจะรู้สึกว่าโลกนี้มันคับแคบ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ดังที่อัลลอฮฺกล่าวว่า “และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์ในสภาพของคนตาบอด” (ฏอฮา : 124) ผู้ที่รู้จักอัลลอฮฺเขาจะแสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮ์ในทุกกิจการงานเสมอ ในการดำรงชีวิตเขาจะไม่ทำสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นต้องเป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แต่คนที่ไม่รู้จักอัลลอฮฺเขาจะทำสิ่งใดขึ้นอยู่กับอารมณ์และความต้องการ (นัฟซู) ของพวกเขา พวกเขาเอาอารมณ์เป็นพระเจ้าแทนอัลลอฮฺ บทความเก่าสันติธรรม

รู้จักอัลลอฮ1


หนทางการรู้จักอัลลอฮฺ
« เมื่อ: 17 ตุลาคม, 2008, 06:38: AM »
--------------------------------------------------------------------------------

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าการรู้จักอัลลอฮฺมีความสำคัญต่อมุสลิมในลำดับต้น ๆ เลยที่เดียว ดังที่ปวงปราชญ์ได้กล่าวว่า อันดับแรกของศาสนาคือการรู้จักอัลลอฮฺ หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องความสำคัญของการรู้จักอัลลอฮฺแล้ว ซึ่งพอสรุปไดว่า บุคคลที่รู้จักอัลลอฮฺจะมีลักษณะดังนี้

1. คนที่รู้จักอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แน่นอนเขาย่อมรู้ถึงเป้าหมายของชีวิตว่า เขาถูกสร้างขึ้นมาทำไม และเขาต้องอยู่บนโลกนี้เพื่อเป้าหมายใด

2. ผู้ที่รู้จักอัลลอฮฺเขาจะรู้สึกถึงความกว้างของชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม หากพวกเขาเป็นผู้ยากไร้เขาจะอดทน เพราะเขารู้ว่าเบื้องหลังชีวิตที่มีความเสียหายนี้ยังมีชีวิตที่นิรันดร์อยู่ 3. ผู้ที่รู้จักอัลลอฮฺเขาจะแสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮ์ในทุกกิจการงานเสมอ ในการดำรงชีวิตเขาจะไม่ทำสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นต้องเป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

หนทางการรู้จักอัลลอฮฺ

1.รู้จักอัลลอฮ์ผ่านทางสติปัญญา (อากัล) สติปัญญาคือสื่ออย่างหนึ่งเพื่อรู้จักอัลลอฮฺ หน้าที่ของสติปัญญาคือ คิดและพิจารณา ใครที่ลองสังเกตุอายะฮฺอัลกุรอ่านจะพบว่ามีอยู่มากมายที่กระตุ้นสติปัญญาให้คิดและใคร่ครวญ จนกระทั้งประจักษ์แจ้งในความสัจจริง อย่างไม่มีข้อสงสัยใด ๆ "และพระองค์คือผู้ทรงแผ่แผ่นดินและในนั้นทรงทำให้มันมีภูเขามั่นคงและลำน้ำมากหลาย และจากพืชผลทุกชนิดทรงให้มีจำนวนคู่ทรงให้กลางคืนครอบคลุมกลางวัน แท้จริงในการนั้นแน่นอนย่อมเป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ # และในแผ่นดินมีเขตแดนติดต่อใกล้เคียงกัน และมีสวนพฤกษา เช่น ต้นองุ่น และต้นที่มีเมล็ด และต้นอินทผลัมที่มาจากรากเดียวกัน และมิใช่รากเดียวกัน ได้รับแหล่งน้ำเดียวกัน และเราได้ให้บางชนิดดีเด่นกว่าอีกบางชนิดในรสชาติ แท้จริงในการนั้น แน่นอนเป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนผู้ใช้ปัญญา" (อัรเราะอฺดุ : 3-4) "ด้วยมัน (น้ำ) พระองค์ทรงให้พืชผลและผลมะกอก และอินทผลัม และองุ่น งอกงามสำหรับพวกเจ้า และจากผลไม้อีกหลายชนิด แท้จริงในการนั้น แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณสำหรับกลุ่มชนที่ตึกตรอง" (อัล- นะหฺลิ : 11) อัลลอฮฺทรงประณามกลุ่มชนที่ไม่ใช้สติปัญญาอย่างรุนแรง และอัลลอฮฺจะโยนพวกเขาลงสู่นรกญะฮันนัม ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า ”และแน่นอนเราได้บังเกิดสำหรับญฮันนัมซึ่งมากมายจากญินและมนุษย์ โดยที่พวกเขามีหัวใจซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันทำความเข้าใจและพวกเขามีตา ซึ่งพวกเขาไม่ใช่มันมอง และพวกเขามีหู ซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันฟังชนเหล่านี้แหละประหนึ่งปศุสัตว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาเป็นผู้หลงผิดยิ่งกว่า ชนเหล่านี้แหละ พวกเขาคือผู้ทีเผลอเรอ (อัล- อะรอฟ:179) เ ราสามารถจำแนกสัญลักษณ์ (อายะฮฺ )ของอัลลอฮฺออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.สัญลักษณ์ (อายะฮฺ) ของอัลลอฮฺที่มีอยู่ทั่วไปในโลกนี้ (อายะฮฺเกานียะฮฺ)
2.สัญลักษณ์ (อายะฮฺ) ของอัลลอฮฺที่มีอยู่ในอัลกุรอ่าน (อายะฮฺกรุอานียะฮฺ)

1. สัญลักษณ์ (อายะฮฺ) ของอัลลอฮฺที่มีอยู่ทั่วไปในโลกนี้ (อายะฮฺเกานียะฮฺ) แท้จริงแล้วมีสัญลักษณ์ (อายะฮฺ) อยู่มากมายที่ปรากฎให้เห็น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงดำรัสว่า "แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการที่กลางวันและกลางคืนตามหลังกันนั้น แน่นอนมีหลายสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา # คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคงและพวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน (โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด (อาลิอิมรอน : 190 – 191) "แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน และเรือที่วิ่งอยู่ในทะเล พร้อมด้วยสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ และน้ำ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้หลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วทรงให้แผ่นดินมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยน้ำนั้นหลังจากที่มันตายไปแล้ว และได้ทรงให้สัตว์แต่ละชนิด แพร่สะพัดไปในแผ่นดิน และในการให้ลมเปลี่ยนทิศทาง และให้เมฆซึ่งถูกกำหนดให้บริการ(แก่โลก) ผันแปรไประหว่างฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น แน่นอนล้วนเป็นสัญญาณนานาประการแก่กลุ่มชนที่ใช้ปัญญา" (อัลบากอเราะฮฺ : 164) "และในแผ่นดินนี้มีสัญญาณต่าง ๆ สำหรับผู้ศรัทธาเชื่อมั่น # และในตัวของพวกเจ้าเอง พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือ?" (อัซซาริยาต : 20 – 21)

มีหลายเหตุผลทีเดียวที่ยืนยันถึงการมีโลกนี้และการมีอยู่ของอัลลอฮฺ

1.1 เหตุผลการเกิดของโลกนี้ สิ่งหนึ่งที่สติปัญญาสามารถรับได้ คือ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีผู้สร้าง เช่นเดียวกับโลกนี้แน่นอนย่อมมีผู้สร้าง ดังที่อัลลอฮฺทรงดำรัสว่า "หรือว่าพวกเขาถูกบังเกิดมาโดยไม่มีผู้ให้บังเกิด หรือว่าพวกเขาเป็นผู้ให้บังเกิดตนเอง " (อัฏฏูร : 35)

1.2 เหตุผลจากเจตนารมณ์อันสูงส่ง หากท่านสังเกตุอย่างลึกซึ้งถึงโลกนี้ท่านจะพบว่าโลกนี้มีระเบียบแบบแผนอย่างประณีต ซึ้งชี้ให้เห็นว่าเบื้องหลังของสิ่งต่าง ๆ ยังมีเจตนารมณ์อันยิ่งใหญ่ของพระผู้ทรงปรีชาญาณสถิตย์อยู่ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ เจ้าจะไม่เห็นแต่อย่างใดในความไม่ได้สัดส่วนในการสร้างของพระผู้ทรงกรุณาปรานี ดังนั้นเจ้าจงหันกลับมามองดูซิ เจ้าเห็นรอยร้าวหรือช่องโหว่บ้างไหม ? " (อัลมุลกฺ : 3) หากดวงอาทิตย์ให้ปริมาณความร้อนแก่โลกครึ่งหนึ่งของปริมาณที่มีอยู่แล้ว แน่นอนเราจะต้องแข็งทื่ออันเนื่องมาจากความหนาวเหน็บนั้น และหากความร้อนได้เพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งจากที่มีอยู่ แน่นอนสรรพสิ่งทุกอย่างก็จะไหม้เป็นเถ่าถ่านทันที หากกลางวันและกลางคืนมีความยาวนานเป็นสิบเท่าที่เป็นอยู่นี้ แน่นอนเมื่อกลางวันมาถึงความร้อนอันยาวนานก็จะเผาผลาญทุกสิ่งจนหมดสิ้น และกลางคืนก็นานจนต้นไม้และสรรพสิ่งต้องถูกแช่แข็งจนตาย

1.3 เหตุผลจากสิ่งมีชีวิต หากใคร่ครวญถึงมัคลูคซึ่งมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ท่านจะพบว่ามีมากมายหลายชนิด มีรูปแบบและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "โอ้มนุษย์เอ๋ย ! อุทาหรณ์หนึ่งถูกยกมากล่าวไว้แล้ว ดังนั้นพวกเจ้าจงฟังมันให้ดีแท้จริงบรรดาที่พวกเจ้าวิงวอนขอความช่วยเหลืออื่นจากอัลลอฮ์นั้น พวกมันไม่สามารถจะให้บังเกิดแม้แต่แมลงวันสักตัวหนึ่ง หากว่าพวกมันจะรวมหัวกันเพื่อการนั้นก็ตามและถ้าแมลงวันพาสิ่งใดหนีไปจากพวกมัน พวกมันก็ไม่สามารถจะเอามันกลับคืนมาได้จากแมลงวันทั้งผู้ขอและผู้ถูกขออ่อนแอแท้ ๆ # พวกเขามิได้ให้เกียรติอัลลอฮ์ ตามที่ควรจะให้เกียรติต่อพระองค์แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพโดยแท้จริง " (อัลฮัจญ์ : 73-74) "จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พวกท่านไม่เห็นดอกหรือ สิ่งที่พวกท่านวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺ จงแสดงให้ข้าเห็นซิว่าพวกมันได้สร้างอะไรในแผ่นดินนี้ หรือว่าพวกมันมีส่วนร่วมใน (การสร้าง) ชั้นฟ้าทั้งหลาย จงนำคัมภีร์ก่อนหน้านี้มาให้ข้าดูซิ หรือจงแสดงร่องรอยแห่งความรู้ (ที่เป็นหลักฐานยืนยันในการนี้) หากพวกท่านเป็นผู้ซื่อสัตย์จริง"(อัลอะฮ์กอฟ :4 )

1.4 เหตุผลในด้านสัญชาติญาน หากเราศึกษาถึงความเป็นไปของโลก เราจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ถูกชี้นำโดยสัญชาติญานอย่างสมบูรณ์สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไร "มูซากล่าวว่า “พระเจ้าของเราคือ ผุ้ทรงประทานทุกอย่างแก่สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างแล้วพระองค์ก็ทรงชี้แนะแนวทางให้”

1.5 เหตุผลในแง่ของการรับคำวิงวอน " พระองค์ผู้ทรงให้พวกท่านเดินทางโดยทางบกและทางทะเล จนกระทั่งเมื่อพวกท่านอยู่ในเรือและมันได้นำพวกเขาแล่นไปด้วยลมที่ดี และพวกเขาดีใจกับมัน ทันใดนั้นลงพายุได้พัดกระหน่ำและคลื่นซัดเข้ามายังพวกเขา จากทุกด้าน และพวกเขาคิดว่า แท้จริงพวกเขาถูกล้อมด้วยสิ่งเหล่านี้พวกเขาจึงวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ว่า “หากพระองค์ทรงให้พวกเราพ้นจากภยันตรายนี้ โดยแน่นอนยิ่ง พวกเราจะอยู่ในหมู่ผู้กตัญญูทั้งหลาย” "ครั้นเมื่อเพื่อพระองค์ทรงให้พวกเขารอดมาแล้วพวกเขาก็ทำความเสียหายในแผ่นดิน โดยปราศจากความเป็นธรรม โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงการทำความเสียหายของพวกเจ้านั้น มันเป็นอันตรายต่อตัวของพวกเจ้าเอง เป็นความเพลิดเพลินของชีวิตในโลกนี้เท่านั้น แล้วในที่สุดพวกเจ้าก็จะกลับไปหาเรา แล้วเราจะแจ้งข่าวให้พวกเจ้าทราบถึงสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้ "

2. สัญลักษณ์ของอัลลอฮฺที่ปรากฏในอัลกุรอ่าน (อายะฮฺกุรอานียะฮฺ)
2.1 ความงดงามของภาษา " และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่ง ที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้วก็จงนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งเยี่ยงสิ่งนั้น และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง"
2.2 กุรอ่านแจ้งให้รู้ถึงกลุ่มชนต่าง ๆ เช่น อ๊าด , ษะมูด , กลุ่มชนนบีลูฎ , กลุ่มชนนบีนุฮ์ , มัรยัม , นบีอีซา และนบีอื่น ๆ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "หมู่ชนของนูห.ได้ปฏิเสธมาก่อนหน้าพวกเขาแล้ว และชาวร็อส (บ่อน้ำ) และษะมูด " "และอ๊าด และฟิรเอาน. และพี่น้องของลู๊ฎ" "และชาวป่าทึบ และหมู่ชนของตุ๊บบะอ. พวกเหล่านั้นทั้งหมดได้ปฏิเสธบรรดาร่อซูล ดังนั้นสัญญาของเราจึงเหมาะสมคู่ควรแก่พวกเขา"

2.3 อัลกุรอ่านกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต
2.3.1 อัลกุรอ่านกล่าวถึงเหตุการณ์ความพ่ายแพ้ของโรมัน "อะลิฟ ลาม มีม # พวกโรมันถูกพิชิตแล้ว # ในดินแดนอันใกล้นี้ แต่หลังจากการปราชัยของพวกเขาแล้วพวกเขาจะได้รับชัยชนะ
2.3.2 สัญญาของอัลลอฮฺที่มอบให้ผู้ศรัทธาเป็นผู้นำ (คอลีฟะฮฺ)บนหน้าแผ่นดิน เช่นเดียวกับประชาชาติก่อน ๆ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "อัลลอฮ์ทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า แน่นอนพระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงในแผ่นดิน เสมือนดังที่พระองค์ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขา เป็นตัวแทนสืบช่วงมาก่อนแล้วและพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขาซึ่งพระองค์ทรงโปรดปราน เป็นที่มั่นคงเป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัย หลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้าไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาหลังจากนั้นชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้ฝ่าฝืน"
2.3.3 สัญญาของอัลลอฮฺที่จะให้มุสลิมมีชัยชนะเหนือมุชริกในสงครามบะดัร
2.3.4 สัญญาของอัลลอฮฺที่จะให้รอซูลของพระองค์พิชิตเมืองมักกะฮฺ และการเดินเข้าสู่มัสยิดหะรอม ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า " โดยแน่นอนอัลลอฮ.ได้ทรงทำให้ความฝันนั้นสมจริงแก่ร่อซูลของพระองค์ด้วยความจริง แน่นอนพวกเจ้าจะได้เข้าสู่มัสยิดอัลฮะรอมอย่างปลอดภัยหากอัลลอฮ.ทรงประสงค์ (อินชาอัลลอฮ.) โดย (บางคน) โกนผมของพวกเจ้าและ (อีกบางคน) ตัดผม พวกเจ้าอย่าได้หวาดกลัว เพราะอัลลอฮ.ทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ ดังนั้นพระองค์จึงได้ทรงกำหนดชัยชนะอื่นจากนั้น ซึ่งชัยชนะอันใกล้นี้"
2.3.5 อัลกุรอ่านกล่าวว่า อบูละลับจะตายในสภาพมุชริก และเหตุการณ์ทั้งหมดก็เกิดขึ้นจริงตามคำบอกเล่าของอัลกุรอ่าน

2.4 การค้นพบทางวิชาการ
2.4.1 เกี่ยวกับการกำเนิดของมนุษย์ "โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! หากพวกเจ้ายังอยู่ในการสงสัยแคลงใจ เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีพแล้วไซร้ แท้จริงเราได้บังเกิดพวกเจ้าจากดินแล้วจากเชื้ออสุจิ แล้วจากก้อนเนื้อ ทั้งที่เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ และไม่เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ เพื่อเราจะได้ชี้แจงเคล็ดลับแห่งเดชานุภาพ แก่พวกเจ้าและเราให้การตั้งครรภ์เป็นที่แน่นอนอยู่ในมดลูกตามที่ประสงค์ จนถึงเวลาที่กำหนดไว้แล้วเราให้พวกเจ้าคลอดออกมาเป็นทารก แล้วเพื่อพวกเจ้าจะได้บรรลุสู่วัยฉกรรจ์ของพวกเจ้า และในหมู่พวกเจ้ามีผู้เสียชีวิตในวัยหนุ่ม และในหมู่พวกเจ้ามีผู้ถูกนำกลับสู่วัยต่ำต้อย วัยชรา เพื่อเขาจะไม่รู้อะไรเลยหลังจากมีความรู้และเจ้าจะเห็นแผ่นดินแห้งแล้ง ครั้นเมื่อเราได้หลั่งน้ำฝนลงมาบนมัน มันก็จะเคลื่อนไหวขยายตัวและพองตัวและงอกเงยออกมาเป็นพืช ทุกอย่างเป็นคู่ ๆ ดูสวยงาม "
2.4.2 อัลกุรอ่านแจ้งให้ทราบว่าโลกนี้กลม "พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินด้วยความจริงอันชัดแจ้ง พระองค์ทรงให้กลางคืนคาบเกี่ยวเข้าไปในกลางวันและทรงให้กลางวันคาบเกี่ยวเข้าไปในกลางคืน และทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์ (แก่มนุษย์) ทุกสิ่งโคจรไปตามวาระที่ได้กำหนดไว้ พึงทราบเถิด พระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงอภัยอย่างมาก"

2.5 ชะรีอะฮฺที่ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอ่าน
2.5.1 ความครอบคลุมของชะรีอะฮฺ (ชูมูล) การกระทำทุกอย่างไม่ว่าเล็หรือใหญ่อิสลามมีหุกมและวิธการที่ชัดเจน ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "และไม่มีสัตว์ใด ๆ ในแผ่นดิน และไม่มีสัตว์ปีกใด ๆ ที่บินด้วยสองปีกของมัน นอกจากประหนึ่งเป็นประชาชาติเยี่ยงพวกเจ้านั้นเอง เรามิได้ให้บกพร่องแต่อย่างใดในคัมภีร์ (ล้วนมีอยู่พร้อมสรรพ ) แล้วยังพระเจ้าของพวกเขานั้น พวกเขาจะถูกนำไปชุมนุม"
2.5.2 ความเหมาะสมในแง่เวลาและสถานที่ เพราะกุรอ่านถูกประทานลงมาเพื่อนำทางมนุษย์จนกระทั้งถึงวันกียามะฮฺ "และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย"
2.5.3 ชะรีอะฮฺอิสลามเป็นชะรีอะฮฺที่ถาวรจนถึงวันกียามะฮฺ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า "แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผุ้รักษามันอย่างแน่นอน "

รู้จักอัลลอฮ2

ความหมายของ อัลลอฮฺ

คำว่า “อัลลอฮฺ”เป็นพระนามของพระเจ้าที่มาจากสำนวนภาษาอาหรับซึ่งมีความเก่าแก่พอๆกับภาษาฮิบรูและภาษาซุรยานี เมื่อศึกษาความหมายในภาษาต่างๆก็คล้ายกัน ซึ่งความหมายตามหลักการอิสลามนั้นมีความเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ต่างจากคำว่า “พระเจ้า” ความหมายของคำว่า อัลลอฮฺ อุละมาอฺมี 2

ทัศนะคือ ทัศนะที่ 1 อิลาฮฺ à อัลลอฮฺ اَلْ + إِلَه --< اَلْـإِلَه --< الله อัล-อิลาฮฺ หมายถึง พระเจ้า แต่เนื่องจากคำนี้เป็นศัพท์ทางศาสนา สำหรับมุสลิมจะหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของโลก ผู้สร้างมนุษย์ ผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าผู้ที่พูดภาษาอาหรับอย่างถูกต้องคนแรกคือท่านนบีอิสมาอีล ก่อนหน้าท่านก็มีชาวเผ่าญุรฮุมที่ใช้ภาษาอาหรับโบราณกัน เดิมท่านนบีอิสมาอีลไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเพราะท่านมาจากบาบิลหรือบาบิโลน(เป็นดินแดนที่ยิ่งใหญ่แถบอิรัก) ท่านนบีอิบรอฮีม(บิดาของท่าน)ได้อพยพจากอิรักไปชาม อียิปต์ แล้วกลับมาเมืองชาม และได้สมรสกับภรรยาสองท่าน ท่านแรกคือท่านหญิงซาเราะฮฺ แต่ไม่มีลูก ท่านนบีอิบรอฮีมจึงแต่งงานกับท่านหญิงฮาญัร(ทาสจากอียิปต์) และนางได้ให้กำเนิดลูกชายชื่ออิสมาอีล จากนั้นอัลลอฮฺได้ทรงบัญชาให้นบีอิบรอฮีมนำท่านหญิงฮาญัรและลูกอพยพไปอยู่มักกะฮฺ แล้วนบีอิบรอฮีมก็กลับไปเมืองชาม มักกะฮฺในสมัยนั้นเป็นทะเลทรายไม่มีแหล่งน้ำ อัลลอฮฺจึงประทานน้ำซัมซัมมา อาหรับเร่ร่อนก็พากันมาอาศัยอยู่บริเวณนั้น ซึ่งเผ่าแรกที่มาอยู่คือญุรฮุม ภายหลังท่านนบีอิสมาอีลแต่งงานกับสตรีจากเผ่าญุรฮุมและท่านก็ได้เริ่มใช้ภาษาอาหรับ ชาวอาหรับในเกาะอาหรับทั้งหมดก็ได้ใช้ภาษาที่มาจากศาสนาของนบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีล ฉะนั้นรากศัพท์ของภาษาอาหรับจึงมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา คำว่า อิลาฮฺ ในความเชื่อของอาหรับสมัยก่อนก็คืออัลลอฮฺ หมายถึงผู้เป็นเจ้าของโลก ผู้สร้างมนุษย์ ชั้นฟ้า แผ่นดิน สร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งแตกต่างจากความหมายของคำว่า พระเจ้า ที่คนทั่วไป(ต่างศาสนิก)เข้าใจกัน เพราะไม่สามารถสื่อความหมายของ อิลาฮฺ ได้ชัดเจน เราจึงต้องศึกษาความหมายของคำว่า อิลาฮฺ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

ทัศนะที่ 2 อะ-ลิ-ฮะ à อัลลอฮฺ มาจากรากศัพท์ อะลิฮะ ( أَلِهَ ) หมายถึง รัก เพราะฉะนั้นคำว่า อัลลอฮฺ จะหมายถึง (พระเจ้า)ที่ถูกรัก ซึ่งสร้างความผูกพันที่มากกว่าความศรัทธาคือความรัก เราลองกล่าว อัลลอฮฺ โดยนึกถึงความหมายว่า ที่รักของเรา ผู้ทรงยิ่งใหญ่ แทนที่จะเชื่อแค่ว่าอัลลอฮฺคือพระเจ้า ในเมื่ออัลลอฮฺเป็นที่รักของเรา จึงทำให้เกิดหน้าที่ต่อพระองค์


เราเห็นมนุษย์ที่รักกันคุยโทรศัพท์กันนานๆ หมดเงินและเวลาไปมากมายกับการแสดงความรัก แล้วกับอัลลอฮฺเราปฏิบัติอย่างไร ? เรารักอัลลอฮฺอย่างไร ? การจะตอบคำถามนี้ได้ก็ต้องศึกษาความหมายของคำว่า อัลลอฮฺ ตามหลักอะกีดะฮฺของผู้ศรัทธา ยิ่งศึกษาเราก็จะยิ่งรู้ว่าคำว่า อัลลอฮฺ ในมุมุมองของอิสลามมีเนื้อหาที่ต่างจากศาสนาอื่น ยิ่งศึกษามากก็ยิ่งรู้มาก อันเป็นความสำคัญของการศึกษาวิชาอะกีดะฮฺ(เตาฮีด) เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

บรรดาคุณลักษณะแห่งอัลลอฮฺ

เมื่อเข้าใจแล้วว่าอัลลอฮฺ ทรงเป็นหนึ่งเดียว ตามความเชื่อของอิสลามบรรดาคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพระผู้อภิบาลมีอยู่อย่างมากมาย ขณะเดียวกันคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งไม่คู่ควรแก่พระเกียรติของพระองค์ และไม่อาจพบได้ในพระองค์ก็มีอยู่นานาประการเช่นกัน บรรดาคุณลักษณะแห่งพระองค์อัลลอฮฺถูกแบ่งออกเป็นสองประการ ดังนี้ คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์ และ คุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระองค์ บรรดาคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์ ซึ่งคูควรแก่อัลลอฮฺเรียกว่า อัซ-ซิฟัต อัซ-ซุบูตียะฮฺ คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์นี้มีอยู่มากมาย แต่มีอยู่ 8 ชนิดเท่านั้น ที่ถูกกล่าวถึงอยู่เสมอ นั่นคือ

1.อัล-เกาะดีม หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงเป็นนิรันดร พระองค์ไม่มีจุดแห่งการเริ่มต้น หรือจุดแห่งการอวสาน ไม่มีสรรพสิ่งใด ๆ ที่จะเป็นนิรันดรได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น

2.อัล-กอดิร หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงไว้ซึ่งมหาอำนาจอันใหญ่ยิ่ง เหนือสิ่งใด ๆ ทั้งมวล อำนาจของพระองค์อยู่เหนือทุกสิ่งสรรพ

3.อัล-อะลีม ความถึง อัลลอฮฺ ทรงรู้แจ้งในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเจตนารมณ์หรือความปรารถนานาประการที่ซ่อนเร้นของมนุษย์ล้วนอยู่ในความรอบรู้ของพระองค์ทั้งสิ้น

4.อัล-ฮัยยุ หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงดำรงอยู่เสมอและจะทรงคงอยู่ตลอดไป

5.อัล-มุรีค หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงมีความประสงค์อันเป็นอิสระ และทรงไว้ซึ่งดุลพินิจในกิจการงานทั้งปวง พระองค์ไม่ทรงทำสิ่งใด ๆ ภายใต้แรงบังคับ

6.อัล-มุดริก หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงเข้าใจในทุกสิ่งสรรพ ดังเช่น อัส-สะมิอฺ (ทรงได้ยินในทุกสิ่ง) (อัล-บะซีร) อัลลอฮฺ ทรงเห็นในทุกสิ่งสรรพโดยปราศจากความจำเป็นที่จะต้องมีดวงตาหรือหู

7.อัล-มุตะกัลลิม หมายถึง อัลลอฮฺ คือเจ้าแห่งถ้อยวาจากอันใหญ่ยิ่ง พระองค์สามารถบันดาลให้เกิดการพูดในสิ่งใด ๆ ดังเช่น ที่พระองค์ทรงบันดาลให้ต้นไม่พูดกับศาสดา มูซา (โมเสส) และทรงบันดาลให้เกิดการพูดภายใน “ม่านแสง” กับท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านและลูกหลานของท่าน)

8.อัซ-ซอดิก หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงจริงแท้ในคำกล่าวและถ้อยสัญญาแห่งพระองค์ การจำกัดขอบเขตต่อบรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ และคุณลักษณะทั้งแปดข้อที่ได้กล่าวมานั้นมิใช่เป็นคุณลักษณะโดยละเอียด เป็นเพียงคุณลักษณะสำคัญ ๆ ที่จะทำให้เราได้เข้าใจถึงบารมีแห่งพระองค์เท่านั้น บรรดาคุณลักษณะเหล่านี้มิใช่เป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นภายหลัง แต่มันเป็นคุณลักษณะโดยธรรมชาติในแนวความคิดที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง อัซ-ซิฟัต อัซ-ซัลบียะฮฺ หมายถึง คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ หรือคุณลักษณะที่ไม่อาจจะถูกพบได้ในอัลลอฮฺ เพราะว่าเป็นคุณลักษณะที่ไม่คู่ควรต่อพระเกียรติของพระองค์
คุณลักษณะนี้มีอยู่มากมายซึ่งเรียกว่า อัซ-ซิฟัต อัซ-ซัลบียะฮฺ ซึ่งในที่นี้จะนำมากล่าวไว้เพียงแปดข้อที่สำคัญ ๆ เท่านั้น

1.อัล-ชิรีก หมายถึง เพื่อนร่วมงาน หรือมีส่วนร่วม อัลลอฮฺ ไม่ทรงมีเพื่อนร่วมงานหรือผู้มีส่วนร่วมอื่นใดในความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์

2.อัล-มุร็อกกับ หมายถึง สารประกอบ หรือ ของผสม อัลลอฮฺ ไม่ทรงถูกสร้างหรือประกอบขึ้นมาโดยวัตถุใด ๆ พระองค์ไม่อาจจะถูกแบ่งให้เป็นสองหรือมากกว่าสองได้แม้แต่ในจินตนาการ

3.อัล-มะกาน หมายถึง สถานที่ อัลลอฮฺ ไม่ทรงอยู่ในสถานที่ใด ๆ เพราะพระองค์ไม่ทรงมีเรือนร่างพระองค์ทรงอยู่ทุกหนแห่ง เพราะอำนาจและคามรอบรู้ของพระองค์ปรากฏอยู่อย่างเลิศลอยในทุกแห่งหน

4.อัล-หุลูล หมายถึง การสิ่งสถิต ไม่มีสิ่งใดสิงสถิตอยู่ภายในอัลลอฮฺ หรือพระองค์ทรงเข้าสิงสถิตอยู่ภายในสรรพสิ่งใด ๆ หรือบุคคลใด ๆ เพราะฉะนั้น ความเชื่อแห่งการสิ่งสถิตในทุกรูปแบบจึงเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างยิ่งต่อแนวความคิดที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า

5.มะหัล อัล-หะวาดิษ หมายถึง การอยู่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลง อัลลอฮฺ ไม่ทรงเปลี่ยนแปลงหรือผันแปรไปตามสภาวการณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

6.อัล-มัรฺอี หมายถึง การมองเห็น อัลลอฮฺ ไม่ทรงถูกมองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นในบรรพกาลที่ผ่านมา หรือในปัจจุบัน หรืออนาคตกาล

7.อิหติยาจ หมายถึง การพึ่งพา หรือ ความต้องการ อัลลอฮฺ ไม่ทรงบกพร่องในคุณธรรมใด ๆ ดังนั้น พระองค์จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพา หรือมีความต้องการในสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น พระองค์มีความสมบูรณ์เลิศด้วยประการทั้งปวง

8. อัซ-ซาอิดะฮฺ หมายถึง คุณลักษณะเสริม บรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮฺ มิได้อยู่แยกออกไปจากการมีอยู่จริงของพระองค์ เมื่อเรากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงอำนาจ และทรงเมตตาปรานียิ่ง เรามิได้หมายถึงว่าอำนาจและความเมตตาปรานีของพระองค์ คือสิ่งที่แตกต่างออกไปจากความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์ พระลักษณะทั้งหมดของพระองค์ คืออาตมันสากลของพระองค์ มิได้แยกออกไปจากพระองค์ หรือเป็นสิ่งเสริมเข้ามาในพระองค์ http://www.al-shia.org/html/thi/kids/religion/1/008.htm


รู้จักอัลลอฮ3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม