วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รอมฎอน

การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง

การควบคุม ครองตน เช่นการละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง

การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาสระหว่างรุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหกเหลวไหลไร้

สาระ เว้นจากการประพฤติชั่วทั้งโดยลับและเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้ทรง

กำหนดไว้ โดยให้ควบคุมพร้อมทั้ง มือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน

มีปรากฏว่า

2:183 "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้า ดั่งที่ได้ถูกกำหนดแก่เขาเหล่านั้นก่อนหน้าสูเจ้ามา

แล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว"

จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้นได้เคยมีมาแล้วในประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์

โบราณนิยมถือศีลอดกันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลายไปยังชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีกยังได้นำการถือศีลอดนี้

ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยมการถือศีลอดตาตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซา ศาสดาของชาวยิว ได้ถือ

ศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดย

กษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำโดยชาวโรมันใน ค.ศ. 70

การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆกัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหาร

หนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอดหมายถึง การอด

อาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับชอบฟ้าในเดือนรอม

ฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติขิงอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ถูกกำหนด

บังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติในเดือนซะอบาน เดือนที่ 8 หลังจากท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) อพยพจาก

มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

การถือศีลอดเป็นการทดลองและฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิด

ความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ

1.ผู้ถือศีลอด มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ คือมีอายุ 15 ปี และหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทุกคนต้องถือ

ศีลอด

จะแบ่งประเภทของผู้ถือศีลอดโดยทั่วไป พอจะแบ่งได้ดังนี้

*ผู้ต้องถือ ได้แก่ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง

*ผู้ได้รับการผ่อนผัน เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันได้แก่ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่สามารถถือศีลอดได้

หรืออยู่ ในระหว่างเดินทาง แต่เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้นหมดไป คือ หายป่วยหรือกลับจากเดินทางแล้ว

ก็ต้องถือใช้ให้ครบตามจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือชดใช้ในวันใด เดือนไหน ในรอบปีนั้นก็ได้

*ผู้ได้รับการยกเว้น คือ

1.คนชรา

2.คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย

3.หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก

4.บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพเสมอ

5.บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น ในเหมือง หรืองานอื่นๆ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและศรัทธาของเขาเองว่า

จะสามารถถือได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเอง

บุคคลทั้ง 5 ประเภทนี้ ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการจ่ายอาหารเป็นทานแก่คนยากจน ด้วย

อาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้งเดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหารแทนวันต่อวัน โดยการบริจาคทานให้ต่าง

บุคคลก็ได้ "อัลลอฮฺ ทรงยกเว้นการถือศีลอด และนมาซส่านหนึ่งให้แก่ผู้เดินทาง และยกเว้นการถือศีลอดสำหรับหญิงมี

ครรภ์แก่ และที่ให้นมทารก" (อัส-สุนัน ของ อิมามอะหมัด) และรายงานจากอิบนิอับบาสว่า "หญิงมีครรภ์หรือให้นมทารก

นั้น ถ้าเกรงจะเป็นภัยแก่บุตรของนาง ทั้งสองก็ให้ละศีลอดได้ แต่ต้องชดใช้ด้วยอาหาร" (อบู-ดาวูดม อัล-บัซซาร)

**หญิงมีประจำเดือน ห้ามถือศีลอด แต่ต้องถือชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไปในภายหลัง

**เด็กๆ ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ไม่จำเป็นต้องถือศีลอดก็ได้ แต่ก็ควรฝึกหัดให้เคยชินต่อศีลอดบ้าง

ท่านเคาะลีฟะฮ อุมัรกล่าวว่า "แม้แต่เด็กของพวกเราก็ยังถือศีลอด" (อัล-บุคอรี 30:47)

2. กำหนดเวลาการถือศีลอด ข้อนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกุรอาน

2:187 "จงกินและจงดื่มจนกระทั่งความขาวของกลางวันกระจ่างจากความดำของกลางคืนในรุ่งสาง แล้จง

ถือศีลอดจนกระทั่งพลบค่ำ"

กล่าวคือให้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับฟ้า ในช่วงดังกล่าวนี้ห้ามการกินการดื่มทุกประเภท

ห้ามร่วมสังฆวาส แต่นอกเหนือเวลาดัวกล่าวนี้ก็ไม่เป็นที่ห้าม.

3. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

1.กิน ดื่ม สูบ เสพ หรือนัดถ์ โดยเจตนา

2.การร่วมประเวณี ในระยะเวลาที่ถือศีลอด

3.มีประจำเดือน

4.คลอดบุตร

5.เจตนาทำให้อสุจิเคลื่อนด้วยวิธีใดๆ

4. ประเภทของศีลอด

1.ศีลอดภาคบังคับ คือ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม)

เวลาประมาณ 29 หรือ 30 วัน โดยกำหนดวันแรกและวันสุดท้ายด้วยการปรากฏของดวงจันทร์เสี้ยวข้าง

ขึ้น (Newmoon) เป็นหลัก การถือศีลอดประเภทนี้เป็นบทบังคับแก่มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว

ทั้งนี้นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับหารยกเว้นผ่อนผันดังกล่าวข้างต้น ซึงบุคคลประเภทนี้จะต้องถือศีลอด

ชดใช้ในภายหลังเมื่อพ้นภาระจำเป็นนั้นแล้ว เท่าจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือใช้ให้ครบจนกระทั่งผ่าน

รอบปี จะต้องเสียทั้งค่าปรับและถือใช้ด้วย เสียค่าปรับด้วยการให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งวันต่อหนึ่งคน

เช่นถ้าขาด 10 วัน ต้องเลี้ยง 10 คน ในกรณีที่ผู้ใดเจตนาฝ่าฝืนทำให้เสียศีลอดด้วยการร่วมประเวณี ใน

เวลาที่กำลังถือศีลอด จะต้องชดใช้ปรับโทษดังนี้
* ปล่อยทาสเป็นเชลย 1 คน
* ถ้าไม่มีให้ถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าขาดแม้เพียงวันเดียวต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่
* ถ้าทำไม่ได้ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 คน อาหารที่จะให้ต้องมีคุณภาพไม่เลวหรือ
ดีกว่าที่ตนใช้บริโภคประจำวัน


2.การถือศีลอดชดเชย นอกเหนือจากการถือศีลอดใช้ตามที่ได้กล่าวแล้วนั้น ยังมีการถือศีลอดชดเชยอีกประเภทหนึ่ง ต่อกิจหนึ่งกิจใดซึ่งผู้นั้นไม่สามารถกระทำได้ในเวลานั้นๆ เช่น ในกรณีที่ผู้หนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามวินัยต่างๆของเอียะห์ราม ให้ครบถ้วนเมื่อเวลาประกอบพิธีฮัจย์ได้ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดชดเชย 3 วัน ทั้งนี้ ในเงื่อนไขที่ผู้นั้นไม่สามารถบริจาคทานหรือพลีกรรมสัตว์ได้ตามกำหนด

3.การถือศีลอดเพื่อลบล้างความผิดตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีดังนี้

*เมื่อมุสลิมได้ฆ่ามุสลิมอีกคนหนึ่งโดยเข้าใจผิด ให้ปล่อยทาสเป็นอิสระ 1 คน แต่ถ้าไม่สามารถจะไถ่

ความผิดโดยการปล่อยทาสได้ ก็ให้ถือศีลอดแทนเป็นเวลา 2 เดือนติดๆกัน "? และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธา

โดยพลั้งผิด ดังนั้น(ผู้ฆ่าต้องให้มี)การปล่อยทาส(หรือทาสี)ผู้ศรัทธาคนหนึ่งเป็นไท และ(ต้องจ่าย)

ค่า ทำขวัญแก่ครอบครัวของเขา (ผู้ตาย) เว้นแต่ที่พวกเขายกเป็นทาน (ไม่เอาความ) ? แล้วถ้าผู้ตายหาไมพบ (คือไม่มีทาสหรือไม่มีเงินซื้อ เช่น ในสมัยนี้หรือไม่มีเงินจ่ายค่าทำขวัญ) เขาต้องถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน (ตามวินัยในเดือนรอมฎอน)?"
(อัลกุรอาน 2:92)


*ถือศีลอดลบล้างการหย่าแบบซิฮาร เป็นเวลา 2 เดือน การซิฮารนี้เป็นประเพณีเดิมของชาวอาหรับใน

สมัยก่อน และเมื่อเริ่มต้นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยเรียกภรรยาของตนว่าเป็นเสมือนมารดาของตน

เป็นการหย่าไปในเชิง แล้วก็ไม่ร่วมสังฆวาสกับนาง ในขณะเดียวกันนางไม่มีสิทธิ์หลุดพ้นจากการเป็น

ภรรยาโดยแท้จริงไปได้ นางต้งเป็นภรรยาในนาม ถูกทรมานและจำบ้านอยู่เช่นนี้ อิสลามได้เลิก

ระบอบนี้โดยสิ้นเชิง การถือศีลอดประเภทนี้จึงมีในสมัยโน้นเท่านั้น (ดูการหย่า)


*ถือศีลอดลบล้างความผิดเป็นเวลา 3 วันติดๆ กัน เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดสาบานที่จะไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่

ถูกต้องและชอบธรรม ในกรณีที่ผู้นั้นไม่สามารถปล่อยทาสให้เป็นอิสระหรือเลี้ยงคนยากจนถึง 10 คน

"อัลลอฮฺไม่ทรงยึดเอาตามคำไร้สาระ (ไม่เจตนา) ในการสาบานของสูเจ้าแต่อัลลอฮฺทรงยึดเอา

จากสูเจ้า ที่สูเจ้าได้ผูกพันธะสาบานไว้ (โดยเจตนา) ถึงการไถ่โทษของเขา คือการให้อาหารคนขัด

สนสิบคน ตามปริมาณเฉลี่ยที่สูเจ้าให้อาหารแกครอบครัวของสูเจ้า หรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา

(สิบคน) หรือการปล่อยทาส (หรือทาสี) หนึ่งคน ถ้าผู้ใดหาไม่พบ (ไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตาม

นั้นได้) เขาต้องถือศีลอดสามวัน นี้คือการไถ่โทษคำสาบานของสูเจ้า เมื่อสูเจ้าได้สาบาน..."

(อัลกุรอาน 5:89)

*ถือศีลอดลบล้างความผิดตามคำพิพากษาของผู้เที่ยงธรรม 2 คน เมื่อผู้นั้นล่าสัตว์ ขณะที่กำลังอยู่ใน

ระหว่างการประกอบพิธีฮัจย์ ในเงื่อนไขที่ว่าผู้นั้นไม่สามารถให้อาหารแก่คนยากคนจนได้

"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าฆ่า(ด้วย)การล่าสัตว์(ป่า) ขณะที่สูเจ้ายังครองเอียะห์ราม และผู้ใดใน

หมู่สูเจ้าฆ่ามันโดยเจตนา การชดเชยของมันคือเยี่ยงที่เขาฆ่า จากปศุสัตว์ตามที่ผู้เที่ยงธรรมสองคน

จากหมู่สูเจ้าตัดสิน เป็นสิ่งพลีให้นำยังอัลกะอบะฮ (เพื่อเชือดและแจกจ่ายคนจน) หรือการไถ่โทษ

นั้นเขาต้องให้อาหารแก่คนขัดสนหรือเยี่ยงนั้นด้วยการถือศีลอด?" (อัลกุรอาน 5:89)

4.การถือศีลอดโดยอาสาในหลักการทั้ง 4 ของอิสลามคือ การดำรงนมาซ ซะกาต การถือศีลอดและ

การไปประกอบพิธีฮัจย์นั้น มีทั้งที่เป็นการบังคับ (ฟัรฎู) และทั้งที่อนุญาติให้กระทำโดยอาสา (นัฟล)

แต่ในการถือศีลอดโดยอาสานั้น มีข้อห้ามอยู่บ้างบางประการ ดังรายงานต่อไปนี้


"ท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านรสูลอูลลอฮฺ ทราบว่าฉันจะตกลงใจถือศีลอดในเวลากลางวันและตื่น

ในเวลากลางคืน ตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ (เมื่อถูกสอบถาม) ฉันรับว่าฉันได้กล่าวเช่นนั้นจริงท่านรสู

ลอูลลอฮฺกล่าวว่าท่านจะทนเช่นนี้ไม่ได้ ดังนั้นจงถือศีลอดและจงแก้การถือศีลอด และจงตื่นและจง

นอนและจงถือศีลอด (อาสา) เดือนหนึ่งเพียง 3 วัน เพราะกุศลกรรมนี้ได้รับการตอบแทน 10 เท่า

และนี่ก็เสมือนการถือศีลอดทุกๆวัน ฉันกล่าวว่าฉันทนได้มากกว่านี้ ท่านกล่าว ถ้าเช่นนั้น จงถือศีลอด

วันหนึ่งและจงอย่าถือศีลอดในอีกวันหนึ่ง (วันเว้นวัน) นี่เป็นการถือศีลอดของนบีดาวูด (อ.ล.) และนี่

เป็นการถือศีลอดโดยอาสาที่ดียิ่ง ฉันกล่าวว่า ฉันสามารถทนได้มากกว่านั้น ท่านกล่าวว่าไม่มีอะไรจะดี

กว่านี้อีกแล้ว" (อัลบุคอรี 30:56)

จากรายงานนี้ แสดว่าท่านศาสดาสนับสนุนให้ถือศีลอดโดยอาสาเพียงเดือนละ 3 วันเท่านั้น มิให้ถือ

ศีลอดทุกๆวันตลอดไป และมีรายงานอื่นว่าท่านแนะนำให้ถือศีลอด ดังนี้

1.ถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเซาวาลต่อจากการถือศีลอดภาคบังคับในเดือนรอมฎอน

2.วันขึ้น 9-10 ค่ำเดือนมุหัรรอม

3.ถือได้หลายๆวันในเดือนซะอบาน

4.วันจันทร์ วันพฤหัสบดี ทุกสัปดาห์

5.วันขึ้น 13-14-15 ค่ำของทุกเดือน

6.วันเว้นวัน

วันห้ามถือศีลอด

1. วันอีดทั้ง 2 คือ วันอีดิ้ลฟิตรและอีดิ้ลอัฎฮา

2.วันตัซรีก คือวันที่ 11-12-13 เดือนฮัจย์

3.การเจาะจงถือเฉพาะวันศุกร์เท่านั้น

4.ถือตลอดปี

5.วันครบรอบการถือศีลอดภาคบังคับ (อีดิ้ลฟิตร) เมื่อวันแห่งการถือศีลอดได้สิ้นสุดแล้ว รุ่งขึ้นคือ

วันที่ 1 เดือนเซาวาล เป็นวัน "อีด" ห้ามถือศีลอดในวันนี้ เพราะเป็นวันแห่งการรื้นเริง ให้ทุกคนทั้ง

หญิงและเด็กๆ อาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วไปชุมนุมกัน ณ ที่ที่กำหนดไว้

โดยพร้อมเพรียงกัน

***มุสลิมที่อยู่ในฐานะเหลือกินเหลือใช้ ให้บริจาคทานฟิฏเราะฮ์ด้วยอาหารพื้นเมืองที่ผู้บริจาคอาศัยอยู่ เช่น ข้าวสาร เป็นจำนวน 1 ศออ์ แก่คนยากจน***

5. ผลจากการถือศีลอด

*ทำให้เกิดการสำรวมทั้งกายวาจาและใจ และเป็นการปกป้องตัวจากความชั่วทั้งมวล เพราะการถือศีลอดมิใช่เพียงแต่เป็นการอดอาหารเท่านั้น แต่เป็นการอดกลั้นอวัยวะทุกส่วนมิให้เพลี่ยงพล้ำไปในทางชั่วร้าย

*ทำให้รู้จักความหิวโหย เป็นการฝึกความอดทน และยังทำให้รู้ซึ้งถึงสภาพของผู้ยากไร้เป็นอย่างดี เกิดความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเต็มที่

*เมื่อถึงฤดูกาลแห่งการถือศีลอด มุสลิมทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่ในสภาพเดียวกันหมด เป็นการยืนยันการศรัทธาโดยทางปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง มิใช่สักแต่ปากพูดว่าฉันศรัทธาๆ บรรดาเหล่านี้มิได้แข่งขันในการอดอาหารเท่านั้น แต่พวกเขาแข่งกันในการอดหรือละเว้นจากการชั่วนานาชนิด ทำให้เกิดความสำนึกในการเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าเหมือนๆ กัน เป็นการยืนยันหลักเสมอภาคและภราดรภาพในอิสลามอีกด้วย



from http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1507.0

ต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างไร ?

เดือนรอมฎอนมีความสำคัญอย่างไร ?

(( إِذَا جَاءَ رَمَضَانُ فُتِّحَتْ أَبْوَابُ الْجَنَّة وَأُغْلِقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ وَصُفِّدَتِ الشَّيَاطِيْنُ ))

“เมื่อเดือนรอมฎอนมาถึง ประตูต่างๆของสวรรค์ก็ถูกเปิด และประตูต่างๆของนรกก็ถูกปิด และบรรดาชัยฏอนก็ถูกพันธนาการไว้”
(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านมีความรู้สึกต่อเดือนรอมฎอนอย่างไร ?



เมื่อท่านนบีได้ก้าวขึ้นมิมบัรท่านได้กล่าวว่า “อามีน อามีน อามีน” มีผู้ถามว่า “โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ แท้จริงเมื่อท่านได้ก้าวขึ้นมิมบัร ท่านได้กล่าวว่า อามีน อามีน อามีน” ท่านร่อซูลุลลอฮฺตอบว่า

(( إِنَّ جِبْرَائِيْلَ أَتَانِيْ فَقَالَ : مَنْ أَدْرَكَ شَهْرَ رَمَضَانَ فَلَمْ يُغْفَرْ لَهُ فَدَخَلَ النَّارَ فَأَبْعَدَهُ اللهُ . قُلْ : آمِيْنَ ، فَقُلْتُ : آمِيْنَ ... ))

“แท้จริงญิบรออีล ได้มาหาฉัน (ขณะนั้น) แล้วกล่าวว่า ผู้ใดเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้วเขาไม่ได้รับการอภัยโทษ เขาเข้าสู่ไฟนรก ขอให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์ ท่านจงกล่าวว่า อามีน แล้วฉันก็กล่าวว่า อามีน”
บันทึกโดยอัลคุซัยมะฮฺ อะหมัด และอัลบัยฮะกียฺ

สังคมมองเดือนรอมฎอนอย่างไร ?

﴿ شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِّنَ الهُدَى وَالْفُرْقَانِ ، فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ ﴾

“เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด”
(บะเกาะเราะฮฺ 185)


จะทำอย่างไรให้เดือนรอมฎอนเป็นเดือนอันประเสริฐที่มีคุณค่าในชีวิตและสังคมของเรา ?

วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน

วิธีที่ 1 الدعاء

การวิงวอน(ดุอาอฺ)ต่ออัลลอฮฺ ให้เรามีชีวิตได้ทันทำอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอนอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสุขภาพพลานามัยอันสมบูรณ์

أنه قال كان النبي صلى الله عليه وسلم إذا دخل رجب قال ( اللهم بارك لنا في رجب وشعبان وبلغنا رمضان ( رواه أحمد والطبراني )

ท่านอนัสอิบนุมาลิก ได้รายงานไว้ว่า เมื่อถึงเดือนรอยับแล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอให้เรามีความจำเริญในเดือนรอยับและเดือนชะอฺบาน และขอให้เราบรรลุเดือนรอมฎอน”
(บันทึกโดยอะหมัดและฏ๊อบรอนียฺ)

บรรดาสะละฟุศศอและฮฺมักจะวิงวอนหลายเดือน เพื่อจะได้บรรลุเดือนรอมฎอน และวิงวอนเพื่อให้อัลลอฮฺตอบรับความดีงามที่ได้ทำไว้ในเดือนรอมฎอน

دعاء رؤية الهلال

เมื่อมุสลิมเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอน เป็นซุนนะฮฺให้กล่าวว่า

الله أكبر اللهم أهله علينا بالأمن والإيمان والسلامة والإسلام والتوفيق لما تحب وترضى ربي وربك الله
[ رواه الترمذي , والدارمي , وصححه ابن حبان[

“อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุมมะอะฮิลละฮู อะลัยนา บิลอัมนิ วัลอีมานิ วัสสลามะติ วัลอิสลามิ วัตเตาฟีกิ ลิมา ตุฮิบบุ วะตัรฎอ ร็อบบี วะร็อบบุกัลลอฮุ”

ความว่า “อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร โอ้อัลลอฮฺ ขอให้(จันทร์เสี้ยวนี้)ปรากฏต่อเราด้วยความสวัสดิภาพ ความศรัทธา ความปลอดภัย อิสลาม และทางนำในสิ่งที่พระองค์ทรงโปรดและพอพระทัย พระผู้อภิบาลของฉันและท่านคืออัลลอฮฺ"
(บันทึกโดยติรมิซียฺและดาริมียฺ อิบนิฮิบบานกล่าวว่าศ่อเฮียะฮฺ)

วิธีที่ 2 الشكر

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดประทานชีวิตและสุขภาพจนมีโอกาสเข้าสู่เดือนรอมฎอนและทำอิบาดะฮฺอีกปีหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเกียรติอันล้ำค่าที่บ่าวของอัลลอฮฺได้รับโอกาสถวายความดีในเดือนอันประเสริฐนี้

อิมามนะวะวียฺกล่าวว่า พึงทราบว่า เป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำสำหรับทุกคน เมื่อได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ให้สุญูดเพื่อขอบคุณพระองค์ หรือสรรเสริญต่อพระองค์

การที่เราได้รับโอกาสถือศีลอดเดือนรอมฎอนอีกปี ถือเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่ควรกล่าวคำขอบคุณต่ออัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมกับเนียะมะฮฺนี้

วิธีที่ 3 السرور

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการแสดงความยินดี ความปลื้มใจ เช่นที่ท่านนบี y กล่าวเมื่อใกล้เดือนรอมฎอนว่า

( جاءكم شهر رمضان , شهر رمضان شهر مبارك كتب الله عليكم صيامه فيه تفتح أبواب الجنان وتغلق فيه أبواب الجحيم ... الحديث . ( أخرجه أحمد )

“เดือนรอมฎอนมายังพวกท่านแล้ว เดือนรอมฎอนเป็นเดือนอันมีความจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้พวกท่านถือศีลอดในเดือนนี้ ประตูสวรรค์จะถูกเปิด และประตูนรกจะถูกปิด”
(บันทึกโดยอิมามอะหมัด)

บรรดาอัสสะละฟุศศอและฮฺจะแสดงความดีใจและเอาใจใส่ในการต้อนรับเดือนรอมฎอน เพราะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธาที่จะปิติยินดีเมื่อมีโอกาสกระทำความดีอันเป็นหนทางสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺ

วิธีที่ 4 التخطيط

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการวางแผนและความตั้งใจในการรับประโยชน์และผลบุญอย่างสุดความสามารถ เพราะชาวอาคิเราะฮฺจะวางแผนเพื่อโลกหน้า เหมือนชาวดุนยาที่มักจะวางแผนเพื่อโลกนี้

ตัวอย่างในการวางแผนในเดือนรอมฎอนคือ การจัดตารางทำอิบาดะฮฺ ทำความดี กี่ชนิด กี่อย่าง และให้มีระบบในการบริหารเวลาในเดือนนี้

วิธีที่ 5 الميثاق الأكيد

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการทำสัญญากับอัลลอฮฺ ให้พระองค์ทรงโปรดเอื้ออำนวยให้เรานั้นปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างจริงใจ และให้คำมั่นสัญญานี้มีความบริสุทธิ์ใจ เพราะอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงสัญญาไว้ว่า

( فَلَوْ صَدَقُوْا اللهَ لَكَانَ خَيْرَاً لَهُمْ )

“ดังนั้น หากพวกเขาจริงใจต่ออัลลอฮฺแล้ว ก็จะเป็นการดีแก่พวกเขา”

และท่านนบี เคยพูดกับสาวกท่านหนึ่งว่า

( إِنْ تَصْدُقِ اللهَ يَصْدُقْكَ )

“ถ้าหากท่านจริงใจต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺจึงจะจริงจังต่อท่าน”

วิธีที่ 6 العلم

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการศึกษา แสวงหาความรู้ เกี่ยวกับการถือศีลอด และปัญหาที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการเตรียมตัวปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างถูกต้อง เพราะเราถูกใช้ให้ถามผู้รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของเราทุกๆคนที่ต้องเอาใจใส่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ และอย่าถือว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะผลกระทบจากการที่ไม่รู้หลักการของการถือศีลอดนั้น อาจทำให้สูญเสียซึ่งผลบุญที่เรามุ่งมั่นแสวงหาอย่างขะมักเขม้น จึงทำให้พวกเราขาดทุนโดยไม่รู้สึกตัว

วิธีที่ 7 التوبة

การต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยความตั้งใจห่างไกล ละทิ้งความผิดทุกชนิด และกลับเนื้อกลับตัวอย่างบริสุทธิ์ใจ เพราะบรรดาผู้ศรัทธามีหน้าที่ต้องเตาบัต(กลับเนื้อกลับตัว)ในทุกเวลาอยู่แล้ว เมื่อถึงเดือนรอมฎอนก็เป็นโอกาสทองที่เราต้องเตาบัตตัว เพราะถ้าหากไม่สามารถกลับเนื้อกลับตัวในเดือน แล้วเมื่อไหร่เล่าจะกลับเนื้อกลับตัว

الطريقة السابعة : علينا أن نستقبله بالعزم على ترك الآثام والسيئات والتوبة الصادقة من جميع الذنوب , والإقلاع عنها وعدم العودة إليها , فهو شهر التوبة فمن لم يتب فيه فمتى يتوب ؟" قال الله تعالى : { وَتُوبُوا إِلَى اللَّهِ جَمِيعاً أَيُّهَا
الْمُؤْمِنُونَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ } [ النور : 31].

วิธีที่ 8 الدعوة

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการเตรียมตัวเผยแผ่ความดีงามและคุณธรรมแห่งเดือนรอมฎอน ให้คนใกล้เคียงมีแนวร่วมในการทำความดี เช่น


เชิญชวนละหมาดที่มัสยิดทุกวักตู
ละหมาดตะรอเวียะฮฺทุกคืน
บริจาคทานทุกวัน
อ่านอัลกุรอานให้มากๆ
ระงับอารมณ์ให้หนักแน่น
จัดบรรยายหรือนะศีหะฮฺ แบบสั้นๆเล็กๆน้อยๆ สำหรับครอบครัวและเพื่อนฝูง ซึ่งจะสร้างบรรยากาศอันสวยงามในสังคมของเรา
วิธีที่ 9 الصفحة البيضاء

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยชีวิตใหม่อันขาวบริสุทธิ์และปราศจากมลทิน โดยตั้งใจคืนดีกับ


อัลลอฮฺ โดยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นบ่าวของพระองค์
ร่อซูลของอัลลอฮฺ โดยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ยืนหยัดในแนวทางของท่าน
ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม คือชีวิตทั้งปวงให้ขึ้นอยู่กับพระบัญชาของอัลลอฮฺ
ชีวิตเช่นนี้ย่อมเป็นชีวิตที่สดใส มีความสุข และมีความสำเร็จอย่างแน่นอน
วิธีที่ 10 مشاركة المسلمين في آلامهم

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยจิตสำนึกอันเลื่อมใสต่อประชาชาติอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเห็นพี่น้องมุสลิมที่กำลังประสบความทุกข์ ให้เราร่วมความรู้สึกกับเขาในสิ่งที่เขากำลังประสบอยู่ เฉกเช่นพี่น้องมุสลิมที่ฟิลิสฏีน อัฟฆอนิสตาน อิรัก และอื่นๆ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการต่อสู้นัฟซู ต่อสู้ชัยฏอน ต่อสู้ศัตรู


****************************************************
ข้อมูลจาก...ชมรมอัซซุนนะฮฺ
โดย... เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

แบบอย่างในการปฏิบัติตนของท่านศาสดา ในเดือนรอมฎอน

1. เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนถึงเดือนรอมฎอน โดยท่านจะถือศีลอดสุนัตอย่างมากในเดือนชะอ์บาน

2. ให้รียเร่งละศีลอดหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะทำให้ผลดีต่อสุขภาพ

3. ให้ละศีลอดด้วยอินทผาลัมสด สุก ถ้าไม่มีให้ใช้อินทผาลัมแห้ง ก่อนจะละหมาดมัฆริบ เพราะอินทผาลัมมีน้ำตาลฟรุกโตส วิตามิน และเกลือแร่ โซเดี่ยม โปตัสเซี่ยมที่ดูดซึมง่าย

4. หลังละหมาดมัฆริบ รับประทานอาหารตามปกติ

5. ใ้ห้ล่าช้าในการรับประทานอาหารมื้อดึก เพราะอาหารมื้อดึกทำให้ลดการอ่อนเพลีย

6. ให้ละหมาดสุนัตตารอแวะ ซึ่งอิริยบทต่างๆ ในการละหมาดจะช่วยย่อยอาหารได้ดี และเป็นการบริหารร่างกายอย่างดีเยี่ยม

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน....

http://www.gotoknow.org/blog/isalam/209927

หลังจากรอมฎอนแล้วเราจะปฏิบัติตัวอย่างไร?

รอมฎอนเป็นเดือนแห่งการทำอิบาดะฮฺ เป็นเดือนแห่งการทำความจงรักภักดี คือมีการถือศีลอด การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน การทำศ่อดะเกาะฮฺ การรำลึกถึงอัลลอฮฺ การทำอุมเราะฮฺ และการทำฮัจย์ จิตใจของมุอฺมินผู้ศรัทธาจึงมีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺตะอาลา อย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหวังที่จะได้รับความเมตตา ความโปรดปราน และความพอพระทัยจากพระองค์

ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีในระยะเวลา 1 เดือนที่เราจะต้องขวนขวายเพื่อกระทำการจงรักภักดีในทุกรูปแบบ ตลอดระยะเวลาของเดือนรอมฎอนด้วยความอดทน บรรดาบรรพชนของเรา (สะละฟุศศอและฮฺ) พวกเขาได้วิงวอนขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺตะอาลา เป็นเดือนๆ เพื่อให้ได้พบกับเดือนรอมฎอน ครั้นเมื่อพวกเขาถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแล้ว พวกเขาก็ขอวิงวอนขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺตะอาลาเป็นแรมเดือน เพื่อให้พระองค์ทรงรับการถือศีลอดของพวกเขา
ท่านค่อลีฟะฮฺอะลี อิบนฺอะบีฏอลิบ และศ่อฮาบะฮฺคนอื่น เมื่อวันอีดิลฟิฏรฺมาถึงจะกล่าวว่าผู้ใดที่การถือศีลอดของเขาเป็นของเขาไม่เป็นที่ตอบรับ เราก็ขอแสดงความเสียใจต่อเขา ความหายนะอันยิ่งใหญ่และการขาดทุนอย่างย่อยยับ คือ การที่คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเราปล่อยให้เดือนรอมฎอนผ่านพ้นไป โดยที่พฤติกรรมและการปฏิบัติของเขายังมิได้มีการปรับเปลี่ยนแต่ประการใด คือพฤติกรรมของเขาก่อนเดือนรอมฎอนที่อยู่ในสภาพลบในสายตาของสังคม หลังจากเดือนศิริมงคลได้ผ่านพ้นไปแล้ว เขาก็ยังคงอยู่สภาพเดิม นั่นคือเขาได้ปล่อยให้เดือนรอมฎอนผ่านพ้นไปโดยที่เขามิได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺตะอาลา ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า

عن أبي هريرة رضي الله عنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم :
( رَغِمَ أَنْفُ رَجُلٍ دَخَلَ عَلَيْهِ شَهْرُ رَمَضَانُ ثُمَّ انْسَلَخَ قَبْلَ أَنْ يُغْفَرَلَهُ )
أخرجه أحمد والترمذي وابن حبان في صحيحه


ความว่า มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุแจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ความพินาศจงประสบแก่ชายคนหนึ่ง เมื่อเดือนรอมฎอนได้มาหาเขา แล้วมันได้ผ่านพ้นไปก่อนที่เขาจะได้รับการอภัยโทษ (คืออยู่ในสภาพที่ขาดทุน)" บันทึกโดย : อะหมัด อัตติรมิซีย์ และอิบนฺฮิบบาน ในหนังสือศ่อเฮี้ยะฮฺของเขา
ดังนั้นขอให้เราทุกคนหยุดชั่วขณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาและสอบสวนตัวเอง หลังจากได้ปฏิบัติศาสนกิจหลากหลายมาแล้วในเดือนรอมฎอน และขอให้เราทบทวนตั้งคำถามบางข้อ และตอบด้วยความระมัดระวังและด้วยความเป็นธรรมว่า
•อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงรับการถือศีลอด การยืนละหมาด และการงานอื่นๆของเราหรือไม่? ถ้าหากพระองค์ทรงรับเราจะขอบคุณพระองค์อย่างไร?•เมื่อเดือนรอมฎอนได้จากเราไปแลัว การถือศีลอด การยืนละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ การละหมาดตะรอเวี้ยะฮฺ และการอ่านอัลกุรอานของเราจะยุติลงด้วยหรือไม่?



คำตอบที่พอจะยึดถือเป็นบรรทัดฐาน เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติตัวให้อยู่ในสถานะของการเป็นบ่าวของอัลลอฮฺตะอาลา อย่างคงเส้นคงวาก็คือ เป็นสิ่งจำเป็นแก่มุสลิมทุกคนที่จะต้องทำตัวเป็นบ่าวของอัลลอฮฺตะอาลา ทั้งในทางคำพูด การปฏิบัติ การเคลื่อนไหวในทุกอิริยาบท และทุกกิจกรรมในการดำรงชีวิตของเขา และจะต้องติดตามสำรวจความถูกต้องของการกระทำ ตลอดจนความบริสุทธิ์ใจในการทำอิบาดะฮฺเพื่ออัลลอฮฺตะอาลา อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการตั้งความหวังของเขาที่จะพบกับอัลลอฮฺตะอาลา การจงรักภักดีของมุอฺมินเสมือนกับน้ำที่มีความสำคัญกับปลาและอากาศกับมนุษย์ ดังนั้นการดำรงชีวิตอย่างแท้จริงจะขาดเสียซึ่งความหมายแห่งการศรัทธาย่อมไม่ได้ ทำไมจึงไม่ได้? ทั้งนี้ก็เพราะว่าการศรัทธานั้นคือชีวิตของมุสลิม อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัลอันอาม อายะฮฺที่ 122 ว่า



أَوَ مَن كَانَ مَيْتاً فَأَحْيَيْنَاهُ وَجَعَلْنَا لَهُ نُوراً يَمْشِي بِهِ فِي النَّاسِ كَمَن مَّثَلُهُ فِي الظُّلُمَاتِ لَيْسَ بِخَارِجٍ مِّنْهَا

ความว่า "และผู้ที่ตายไปแล้ว ต่อมาเราได้ให้เขามีชีวิตฟื้นขึ้นมาและเราได้ให้แสงสว่างแก่เขา เพื่อใช้เดินไปท่ามกลางในหมู่มนุษย์จะมีสภาพเหมือนกันหรือกับผู้ที่อยู่ในความมืดโดยที่เขาไม่สามารถจะออกมาจากมันได้?”

แต่ถ้ามีสิ่งใดมาขัดขวางหรือปิดกั้นระหว่างเขากับการจงรักภักดีพระเจ้าของเขา เขาก็จะเสียใจและสงสารตัวของเขา แม้กระทั่งจะเป็นการให้อภัยกันได้หรือเป็นข้อแก้ตัวที่พอจะรับฟังกันได้ก็ตาม เมื่อท่านประสงค์ที่จะรู้จักสถานะของตัวท่านก็จงมองดูว่าอัลลอฮฺตะอาลา ได้จัดให้ท่านอยู่ในตำแหน่งใด หมายถึงอยู่ในบุคคลประเภทใด
ชัดด๊าดอิบนฺเอาสฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวเป็นข้อคิดไว้ว่า "เมื่อท่านเห็นชายคนนี้ปฏิบัติกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺตะอาลา พึงทราบเถิดว่ายังมีกิจกรรมอื่นๆของเขาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกด้วย และเมื่อท่านเห็นชายคนนี้ปฏิบัติกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺตะอาลา พึงทราบเถิดว่า ยังมีกิจกรรมอื่นๆของเขาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกด้วย ทั้งนี้เพราะการจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺตะอาลา เป็นการบ่งชี้ถึงกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันของเขา และการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺตะอาลา ก็เป็นการบ่งชี้ถึงกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันของเขาเช่นกัน เมื่อเ ดือนรอมฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทว่าบทเรียนและคุณประโยชน์ต่างๆของมันก็ยังคงเหลืออยู่ให้เรายึดมั่นเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของเราต่อไปอีกได้ เพราะเราหารู้ไม่ว่ากิจกรรมต่างๆที่เรามุ่งมั่นปฏิบัติตลอดเดือนรอมฎอนนั้นจะเป็นที่โปรดปรานหรือได้การตอบรับจากอัลลอฮฺตะอาลาหรือไม่?
ขอให้เรามาพิจารณาคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังต่อไปนี้

( وَاعْلَمُوا أَنَّهُ لَنْ يَدْخَلُ أَحَدُ كُمُ الجَنَّةَ بِعَمَلِهِ ) ، قَالُوا : وَلا أَنْتَ يَارَسُولَ اللهِ – صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلِّمَ – قَالَ : ( وَلا أَنَا ، إِلا أَنْ يَتَغَمَّدَنِي اللهُ بِرَحْمَتِهِ ) رواه البخاري ومسلم


ความว่า "พึงทราบเถิดว่า แท้จริงคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์ เพราะการงานของเขา! บรรดาศ่อฮาบะฮฺได้กล่าวถามขึ้นว่า แม้แต่ท่านกระนั้นหรือ? โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ท่านได้ตอบว่า แม้แต่ตัวฉันเอง!! เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงพิทักษ์รักษาฉันด้วยพระเมตตาของพระองค์" บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์และมุสลิม



ถ้าหากว่านี่คือสภาพของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วสภาพของเราท่านจะเป็นอย่างไร? ถ้าเราจะมองดูอย่างผิวเผินถึงสภาพของบรรพชน (สะละฟุศศอและฮฺ) จะเป็นที่ประจักษ์ถึงความหมายดังกล่าว เพราะพวกเขาได้ขยันหมั่นเพียรในการกระทำอิบาดะฮฺอย่างสมบูรณ์ครบครันและด้วยความประณีต หลังจากนั้นพวกเขาก็มีความห่วงใยต่อการตอบรับ และมีความกลัวว่าจะไม่ถูกตอบรับ พวกเขาเหล่านั้น คือ







يُؤْتُونَ مَا آتَوا وَّقُلُوبُهُمْ وَجِلَةٌ




ความว่า "บรรดาผู้ปฏิบัติกิจกรรมดีงามตามที่พวกเขาให้มาโดยที่จิตใจของพวกเขาเปี่ยมไปด้วยความหวั่นเกรง" (23/60)



มีรายงานจากท่านอะลี อิบนฺอะฏอลิบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า "จงเป็นผู้ที่มีความห่วงใยต่อการตอบรับผลงานมากยิ่งกว่าการกระทำ ท่านมิได้ยินคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลา ดอกหรือที่ว่า



إِنَّمَا يَتَقَبَّلُ اللّهُ مِنَ الْمُتَّقِينَ



ความว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับผลงานจากบรรดาผู้ที่มีความยำเกรงเท่านั้น" (5/27)




อุมัร อิบนฺอับอุลอะซีซ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวในคุฏบะฮฺอีดิ้ลฟิฏร์ตอนหนึ่งว่า "โอ้มหาชนทั้งหลาย! แท้จริงพวกท่านได้ถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺตาอาลา 30 วัน และพวกท่านได้ยืนละหมาด 30 คืน และพวกท่านได้ออกมาพร้อมหน้ากัน เพื่อวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺเพื่อให้พระองค์ทรงตอบรับการงานของพวกท่าน"
ดังนั้น บางคนในหมู่บรรดาสะลัฟจะมีใบหน้าที่เศร้าโศกในวันดีดิ้ลฟิฏรี่ จะมีบางคนถามเขาว่า แท้จริงวันนี้เป็นวันแห่งความปิติยินดีเป็นวันแห่งความเบิกบานใจ เขาจะกล่าวตอบว่า ถูกต้อง แต่ทว่าฉันเป็นบ่าว นายของฉันใช้ฉันให้ทำงานชนิดหนึ่งให้แก่เขา ฉันได้ทำงานนั้นให้แก่เขา ฉันไม่รู้ว่าเขาจะรับงานจากฉันหรือไม่?
อัลหะซันได้กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงยืดเวลาการละหมาดตะฮัจญุดให้ล่าออกไปจนกระทั่งก่อนเวลาสะฮูร หลังจากนั้นก็จงนั่งวิงวอนขอดุอาอฺขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺตะอาลา"
ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำให้เป็นซุนนะฮฺหลังจากการละหมาดทุกๆเวลา โดยให้กล่าวว่า อัซตัฆฟิรุลลอฮฺ สามครั้ง และอื่นจากนี้ในการทำอิบาดะฮฺต่างๆ การกระทำเช่นนี้หากเป็นข้อบ่งชี้ถึงสิ่งใด แท้จริงมันเป็นการบ่งชี้ว่าจำเป็นแก่ท่านที่จะต้องมีความต่อเนื่องในการทำอิบาดะฮฺกับอัลลอฮฺอยู่เสมอ ในเวลาเดียวกันท่านก็ยังมีความกังวลใจ มีความกลัว และกล่าวหาตัวของท่านเองว่ายังมีความบกพร่อง และหย่อนยานในการทำอิบาดะฮฺของท่าน ความรู้สึกเช่นนี้จะช่วยผลักดันให้ท่านขยันหมั่นเพียรในการทำอิบาดะฮฺให้เรียบร้อยและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สมดังคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า

( لا يَشْبَعُ الْمُؤْمِنُ مِنْ خَيْرٍ يَفْعَلُهُ حَتَّى يَدْخُلَ الْجَنَّةَ ) حَسَنَه الألباني


ความว่า "คนมุอฺมินนั้นจะไม่อิ่มเอิบจากการทำความดีของเขา จนกว่าจะได้เข้าสวนสวรรค์" อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นสายสืบที่หะซัน
ความรู้สึกดังกล่าวนี้ได้เรียกร้องเชิญชวนให้เรามาทบทวนการทำอิบาดะฮฺบางชนิดร่วมกัน และแนะนำซึ่งกันและกัน เพื่อที่เราจะได้มีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺตะอาลา มากยิ่งขึ้น และเพื่อจะเป็นหลักฐานให้เกิดร่องรอยแก่เราในเดือนมหามงคลนี้ว่า "พระเจ้าแห่งเดือนรอมฎอนคือพระเจ้าแห่งเดือนอื่นๆทั้งปี"
ฉะนั้น หากว่านี่คือสภาพของท่านในความบกพร่องและการทำความผิดต่างๆ ดังนั้นอย่าไปคิดเลยว่าท่านจะไม่บกพร่องในการทำอิบาดะฮฺและแสงหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺตะอาลา ในเดือนรอมฎอนหลังจากนั้นท่านก็หยุดชะงักหรือล้มเลิกการทำอิบาดะฮฺในส่วนที่เหลือของปีนั้น และนั่นคือกิจวัตรหรือประเพณีของผู้ที่ไม่ชอบจะกระทำความดี
โดยทั่วไปแล้วท่านจะเห็นพี่น้องมุสลิมจำนวนมิใช่น้อยที่พยายามปฏิบัติอิบาดะฮฺ และทำความจงรักภักดีต่อพระเจ้าของเขาในเดือนรอมฎอน เช่นการทำละหมาด การถือศีลอด และการละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ การละหมาดตะฮัจญุด การอ่านอัลกุรอาน และการซิกรุลลอฮฺ จนกระทั่งมัสยิดต่างๆ โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอนจะเต็มและแออัดไปด้วยผู้คนอย่างเนืองแน่น หลังจากนั้นคือหลังจากเดือนรอมฎอนสิ้นสุดลง พวกเขาก็กลับไปสู่สภาพเดิมคือไม่ชอบไปร่วมละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด และประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่บัญญัติศาสนาไม่อนุญาตให้กระทำ โดยหารู้ไม่ว่าคนมุอฺมินผู้ศรัทธานั้นจะต้องเปลี่ยนสภาพจากจงรักภักดีชนิดหนึ่งไปสู่การจงรักภักดีอีกชนิดหนึ่งอยู่เสมอ และจากการอิบาดะฮฺชนิดหนึ่งไปสู่การอิบาดะฮฺอีกชนิดหนึ่ง โดยมีเป้าหมายในการนั้นคือคำกล่าวของอัลลอฮฺตะอาลา ที่กล่าวกับบ่าวที่ประเสริฐยิ่งของพระองค์ ที่ว่า





وَاعْبُدْ رَبَّكَ حَتَّى يَأْتِيَكَ الْيَقِينُ ﴿٩٩﴾




ความว่า "และจงเคารพภักดีพระเจ้าของเจ้าจนกว่าความตายจะมาหาเจ้า" (15/99)
กล่าวคืออย่าให้ความจงรักภักดีห่างไกลจากตัวเจ้าจนกว่าเจ้าจะประสบกับความตาย และเช่นเดียวกับคำกล่าวของบ่าวที่ศอและฮฺ อีซา ที่ว่า







ความว่า "และพระองค์ทรงสั่งเสียฉันให้ละหมาดและจ่ายซะกาตตราบใดที่ฉันยังมีชีวิตอยู่" (19/31)


และมุสลิมนั้นย่อมตระหนักดีว่าพระเจ้าแห่งเดือนรอมฎอนคือพระเจ้าแห่งเดือนอื่นๆตลอดทั้งปี และการเตรียมพร้อมของเขาเพื่อพบพระเจ้าของเขานั้น เรียกร้องเขาอยู่เสมอเพื่อให้ฉวยทุกโอกาสที่จะเป็นไปได้ไปสู่การจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺตะอาลา



ความว่า "จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า แท้จริงการละหมาดของฉัน และการอิบาดะฮฺของฉัน และการมีชีวิตของฉัน และการตายของฉันนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พระเจ้าแห่งสากลโลกเท่านั้น" (6/162)
กิจกรรมต่างๆในการกระทำความจงรักภักดีมีอยู่มากมายหลังจากรอมฎอน เช่น จงรีบเร่งกันเข้าสู่ประตูชัย คือประตูอัรรอยยานก่อนที่จะถูกปิดลง ณ ที่นี้เราขอสั่งเสียและแนะนำให้ถือศีลอดอีก 6 วัน หลังจากวัน อีดิ้ลฟิฏรฺแล้ว ซึ่งเป็นการถือศีลอดซุนนะฮฺ
ตามรายงานของอะบีอัยยู๊บ และบันทึกโดยมุสลิม แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ความว่า "ผู้ใดถือศีลอดเดือนรอมฎอนแล้วติดตามหลังจากรอมฎอนอีก 6 วันจากเดือนเชาวาล เสมือนกับว่าเขาถือศีลอดทั้งปี"
ในการถือศีลอดซุนนะฮฺ 6 วันนี้ไม่มีเงื่อนไขให้ถือติดต่อกันไป แต่ชอบมากกว่าให้กระทำหลังจากวันอีดทันที โดยเฉพาะเนื่องจากจิตใจมีความเคยชินอยู่กับการถือศีลอด และการจงรักภักดี มิใช่แต่เพียงดังกล่าวเท่านั้น แต่ขอบเขตของการถือศีลอดยังมีอีกมาก เช่น คำกล่าวสนับสนุนของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
ความว่า "กิจการงานต่างๆจะถูกนำเสนอ (ณ ที่อัลลอฮฺ) ในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี และฉันชอบมากกว่าที่จะให้การงานของฉันถูกเสนอ (ในวันดังกล่าว) ขณะที่ฉันถือศีลอด" อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นฮะดีสที่ศ่อเฮี๊ยะฮฺ
และนั่นคือความประเสริฐของวันจันทร์และวันพฤหัสบดี และส่วนหนึ่งในการทำความดีหลังจากเดือนรอมฎอน เช่นคำสั่งเสียของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แก่อะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่กล่าวว่า
ความว่า "เพื่อนสนิทของฉันได้สั่งเสียฉันไว้ 3 ประการคือ ให้ฉันถือศีลอด 3 วันของทุกๆเดือน (วันที่ 13, 14 และ15 ของเดือนอาหรับ) และให้ละหมาดฎุฮา 2 ร็อกอะฮฺ และให้ฉันละหมาดวิตรฺก่อนที่ฉันจะนอน" บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์และมุสลิม
เราขอเสนอของขวัญที่ดียิ่งแด่ท่านพี่น้องทั้งหลายนั่นคือการถือศีลอด โดยเฉพราะในช่วงเวลาที่สภาพและสิ่งแวดล้อมเต็มไปด้วยสิ่งยั่วยวนมากมายหลายชนิด ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เตือนและสั่งเสียให้เราถือศีลอด เพราะการถือศีลอดจะช่วยปกป้องและคุ้มกันเราให้พ้นจากฟิตนะฮฺต่างๆได้ ทั้งนี้เพราะท่านนะบีของเรามีความห่วงใยต่อประชาชาติของท่านเป็นอย่างมาก ท่านได้กล่าวไว้ว่า
ความว่า "....และผู้ใดไม่มีความสามารถ (ในการระงับความใคร่หรือตัณหา) ก็ให้เขาถือศีลอด เพราะมันจะปกป้องหรือคุ้มกันให้เขาได้" บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์และมุสลิม
กล่าวคือการถือศีลอดจะช่วยพิทักษ์คุ้มครองท่านให้พ้นจากความเย้ายวน ความใคร่และอารมณ์รุนแรงได้ นี่คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อย่างไรเสียอีกถ้าหากนายแพทย์ผู้ซึ่งรักษาโรคชนิดหนึ่งของท่าน โดยจ่ายยาให้แก่ท่าน แน่นอนท่านจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่ทำไมท่านจึงเกียจคร้านที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
พึงทราบเถิด! แท้จริงการดำรงชีวิตอย่างแท้จริงนั้น จะไม่เกิดขึ้นนอกจากท่านจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ ดังคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

ความว่า "โอ้บรร ดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! จงตอบรับอัลลอฮฺและร่อซูล (เชื่อฟัง) เมื่อท่าน (มุฮัมมัด) ได้เรียกร้องพวกท่านเพื่อสิ่งที่จะทำให้พวกท่านมีชีวิตชีวา...." (8/24)
และขอเรียนให้พี่น้องทั้งหลายทราบว่า การถือศีลอดนั้นเป็นสิ่งยากลำบากแก่จิตใจ เพราะมันจะห้ามจิตใจมิให้นึกคิดสิ่งที่เป็นความใคร่ และสิ่งที่จะทำให้เกิดความเพลิดเพลิน แต่เราใคร่ขอเตือนท่านให้รำลึกถึงวันอันยาวนานที่มีความร้อนและความกระหายอย่างมาก วันที่น่าสะพรึงกลัวอย่างมากกำลังคอยท่านอยู่ และอัลลอฮฺตะอาลา นั้นจะไม่ทรงผิดสัญญา นั่นคือวันแห่งสถานการณ์ ขณะที่ท่านจะต้องไปยืนคอยการตัดสินเป็นเวลาถึง 5 หมื่นปี ขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ศีรษะของท่าน แต่ทำไมท่านจึงไม่อยู่ในหมู่ผู้ใกล้ชิดพระองค์ในวันนั้น? ในขณะที่มนุษย์ทั้งหลายกำลังอยู่ในสภาพที่กังวลหนักใจเป็นทุกข์เป็นร้อน เจ็บปวดทรมานจิตใจ เศร้าโศกเสียใจ และกระหายน้ำ ในขณะเดียวกันท่านจะมองเห็นฝูงชนอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ภายใต้บัลลังก์ของพระผู้ทรงเมตตา พวกเขากำลังดื่มน้ำอย่างสุขสำราญและได้รับความเพลิดเพลินอย่างสนุกสนาน ทำไมท่านจะไม่เป็นคนหนึ่งในหมู่ฝูงเหล่านั้นหรือ? และพึงทราบเถิดว่าปริมาณความกระหายน้ำของท่านในวันนี้มีเท่าใด ท่านจะได้รับการดื่มน้ำอย่างเต็มอิ่มในวันนั้นคือวันกิยามะฮฺ อีกทั้งท่านจะอยู่ห่างไกลจากนรกญะฮันนัม ซึ่งมันจะเผาไหม้ผิวหนังจนเกรียมดำ มันจะไม่เหลืออะไรไว้เลยและไม่ปล่อยผู้ใดให้คงเหลือไว้อีกเช่นกัน
ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้แจ้งให้เราได้รับทราบไว้ว่า
ความว่า "ผู้ใดถือศีลอดวันหนึ่งเพื่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทรงให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรก 70 ปี" บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์และมุสลิม
ดังนั้นเท่าจำนวนปีที่ท่านต้องการจะอยู่ห่างไกลจากไฟนรก ท่านจะต้องให้จำนวนการถือศีลอดของท่านมีจำนวนเท่านั้น นอกจากนี้ท่านไม่มีความปรารถนาจะดื่มน้ำอย่างมีความสุขใจจากมือของท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จากบ่อน้ำเกาซัรของท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ของเราในวันกิยามะฮฺหรือ?
เราขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า แท้จริงการถือศีลอดนั้นมิใช่เป็นการกระหายน้ำและมิใช่เป็นการทรมาน แต่ทว่ามันเป็นรสชาติที่ไม่มีใครจะรู้สึกนอกจากผู้ที่มีความรักมันเท่านั้น เป็นการพอเพียงแก่ท่านแล้วมิใช่หรือที่จะมีความอดทนต่อการถือศีลอดและความกระหายน้ำ โดยให้ท่านรำลึกถึงสถานการณ์อีกแห่งหนึ่งในวันกิยามะฮฺที่มีต่อการร้องไห้ การเศร้าโศกเสียใจตลอดกาล แท้จริงมันเป็นสถานการณ์แห่งความทุกข์ยากและเจ็บปวด การกระหายน้ำและเศร้าโศกเสียใจของพวกเขาจะอยู่คู่เคียงกับพวกเขาตลอดไป และพวกเขาจะร้องไห้ที่มีน้ำตาเป็นสายเลือด พวกเขาเหล่านั้นคือ ชาวนรก
ขอให้เราท่านรำลึกถึงพวกเขา และมีความรู้สึกต่อความยิ่งใหญ่ของสถานการณ์ คล้ายกับว่าไฟนรกลุกโชนรอบๆตัวท่าน และท่านมีความรู้สึก ว่าความร้อนของมันพัดโชยเข้ามาที่ใบหน้าของท่าน และขณะนั้นท่านก็รำลึกถึงอายะฮฺนี้ นั่นคือการร้องเรียกขอความช่วยเหลือของชาวนรกจากชาวสวรรค์
ความว่า "จงเทน้ำมาให้แก่พวกเราด้วย หรือสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่าน" (7/50)
กล่าวคือพวกเขามีความต้องการจะได้สิ่งหนึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ในเมื่อสิ่งนั้นมาจากสวรรค์ เพราะทุกสิ่งที่มาจากสวรรค์จะต้องเป็นของดีทั้งนั้น ดังนั้นทำไมท่านจึงทำตัวของท่านให้ห่างไกลจากสวรรค์ด้วยการปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ และการละเว้นไม่เอาใจใส่ในเรื่องของศาสนา?!
ฉะนั้นขอให้ท่านอดทนอดกลั้นและอดใจ เพราะการมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยานี้เป็นระยะเวลาเพียงเล็กน้อย วันเวลาได้เร่งรีบผ่านไปอย่างรวดเร็ว โลกอาคิเราะฮฺก็จะมาถึงอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว สวนสวรรค์นั้นเป็นสินค้าของอัลลอฮฺที่มีราคาแพง และผู้ใดที่ต้องการสวนสวรรค์ชั้นสูง เขาก็จะต้องรีบเร่งทำอิบาดะฮฺที่มีคุณภาพในโลกดุนยานี้ และสินค้าทุกชิ้นย่อมมีราคาของมัน
และสุดท้ายนี้โปรดทราบด้วยว่าการถือศีลอดที่ดีที่สุดนั้นคือการถือศีลอดของนะบีดาวู๊ด อะลัยฮิสสลาม คือท่านได้ถือศีลอดวันหนึ่ง และเว้นวันหนึ่ง แต่อย่าละทิ้งสิ่งที่เป็นวายิบและจงฉวยโอกาสอย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ และจงทำความดีต่อบิดามารดาของท่านในสิ่งที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺตะอาลา และมีข่าวดีที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้แจ้งแก่ฮุซัยฟะฮฺ อิบนุลยะมานว่า



ความว่า "โอ้ฮุซัยฟะฮฺ ผู้ใดที่เสียชีวิตด้วยการถือศีลอดวันหนึ่ง เขาจะได้เข้าสวรรค์" (อัลบานีย์กล่าวว่าเป็นฮะดีสศ่อเฮี๊ยะฮฺ)

http://www.islaminthailand.org/dp6/?q=story/80

รอมฎอนคืออะไร ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการถือศีลอด


ถาม : การถือศีลอดคืออะไร?
ตอบ : การถือศีลอดคือการงดเว้นจากการกิน การดื่มและการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เพื่อเป็นอิบาดะฮฺต่อัลลอฮ์
ถาม :มุสลิมทุกคนจำเป็นจะต้องถือศีลอดหรือไม่?
ตอบ :มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องถือศีลอด เพราะการถือศีลอดเป็นหลักการของศาสนาอิสลาม

ใครบ้างที่จำเป็นต้องงดถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และถือศีลอดชดใช้ในวันอื่น?
ตอบ สตรีที่มีรอบเดือน คือ ในขณะที่มีรอบเดือนนั้นต้องงดถือศีลอด แต่ต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง

ถาม : การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อใด?


ถาม :ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอดได้แก่ผู้ใด?


ถาม :เราจะถือศีลอดเมื่อใด?


ถาม : ฟัรดูในการถือศีลอดมีอะไรบ้าง ?


มีเจตนาในการถือศีลอด เพราะท่านรอซูล กล่าวว่า
“ผู้ใดที่ไม่ได้ตั้งเจตนาในการถือศีลอดก่อนแสงอรุณขึ้น การถือศีลอดของเขาก็ใช้ไม่ได้” ผู้ที่ลุกขึ้นมารับประทานอาหารสะฮูรเพื่อถือศีลอดอันเป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮ์ในวันรุ่งขึ้นก็เท่ากับว่าเขามีเจตนาในการถือศีลอดแล้ว

งดเว้นจากการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นถึงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
ถาม : สิ่งที่เป็นซุนนะฮฺในการถือศีลอดมีอะไรบ้าง?
ตอบ : สิ่งที่เป็นซุนนะฮฺในการถือศีลอดได้แก่

รับประทานอาหารสะฮูรโดยให้ล่าช้าในการรับประทาน ท่านรอซูล ศ๊อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ประชาชาติของฉันยังอยู่ในความดี ในเมื่อพวกเขารีบแก้ศีลอด และ ล่าช้าในการรับประทานอาหารสะฮูร ”
รีบแก้ศีลอดด้วยอินทผาลัมสุกหรือแห้ง หรือน้ำ โดยรับประทานเป็นจำนวนคี่ ก่อนการแก้ศีลอดให้อ่านดุอาว่า “ อัลลอฮุมมะ ละกะศุมตุ วะอาลาริซกิกะ อัฟตอรตุ ”
งดเว้นการปฏิบัติในสิ่งที่ขัดต่อมารยาทของการถือศีลอด เช่น การด่าทอ นินทา การพูด โกหก การพูดในสิ่งที่ไร้สาระ ฯลฯ
อ่านอัลกุรอาน
ละหมาดกิยาม (ตะรอเวียะฮฺ)ในค่ำคืนของเดือนรอมฎอน
การทำเอี๊ยะติกาฟในมัสยิด เฉพาะอย่างยิ่งใน 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน เพื่อแสวงหาคืน อัล ก๊อดรฺ(ลัยละตุ้ลก๊อดรฺ)
ทำสิ่งที่เป็นความดีต่างๆให้มาก ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด การกล่าวซิกรุลลอฮฺ และการทำศอดาเกาะฮฺ
ถาม : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดมีกี่ประเภท?


ก. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดและจำเป็นต้องชดใช้

ข. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดและจำเป็นต้องชดใช้ พร้อมกับเสียค่าปรับตามศาสนบัญญัติ (กัฟฟาเราะฮฺ) ผู้ใดที่เสียศีลอดในเดือนรอมฎอนก็จำเป็นที่เขาจะต้องระงับการกิน การดื่มต่อไปจนดวงอาทิตย์ตกเพื่อเป็นการให้เกียรติต่อเดือนรอมฎอน

ถาม : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดและจะต้องชดใช้มีอะไรบ้าง?


การกิน การดื่มโดยเจตนา การกินการดื่มโดยหลงลืม หรือเข้าใจผิด หรือถูกบังคับ ไม่ทำให้เสียศีลอด และให้เขาถือศีลอดต่อไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จึงละศีลอด
การเจตนาอาเจียน ส่วนอาเจียนโดยถูกบังคับ หรือเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เสียศีลอด การมีรอบเดือน (เฮด) หรือเลือดเนื่องจากการคลอดบุตร (นิฟาส) แม้ว่าจะมีมาก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้เสียศีลอด
การทำให้อสุจิเคลื่อนออกมาด้วยเจตนาขณะถือศีลอด
เจตนาแก้ศีลอดทั้งๆที่รู้ว่าดวงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า
การนัดยานัตถุ์ การสูบบุหรี่ กินหมาก ตลอดจนสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ ส่วนการดมกลิ่นดอกไม้ ผลไม้ อาหาร ไม่ทำให้เสียศีลอด
การฉีดยาบำรุงกำลัง อาหารเสริม ให้น้ำเกลือ เพราะจะทำให้เกิดความอิ่ม อันขัดต่อเจตนารมณ์ของการถือศีลอด
การให้เลือด
ถาม : สิ่งที่จะทำให้เสียศีลอด และจะต้องชดใช้พร้อมกับต้องจ่ายค่าปรับ (กัฟฟาเราะฮฺ) ตามศาสนบัญญัติมีอะไรบ้าง?


1.เจตนาร่วมสังวาสขณะถือศีลอด ผู้ที่ทำความผิดเช่นนี้จะต้อง เสียกัฟฟาเราะฮฺด้วย
2. อิหม่าม อบูหะนีฟะฮฺและอิหม่าม มาลิก มีความเห็นว่า ดื่มโดยเจตนาในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอนโดยไม่ได้รับการผ่อนผันตามบัญญัติของศาสนาก็จำเป็นจะต้องถือศีลอดใช้และเสียกัฟฟาเราะฮฺด้วย
ถาม : อัตราการเสียกัฟฟาเราะฮฺมีอย่างไร?



ถาม : สิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ขณะถือศีลอดมีอะไรบ้าง?


อาบน้ำ ดำน้ำ ถ้าหากว่าน้ำเข้าปากโดยไม่ได้ตั้งใจไม่ทำให้เสียศีลอด
การเอาน้ำกลั้วปาก แม้จะกระทำโดยมิได้อาบน้ำละหมาดก็ตาม
การกรอกเลือด การถอนฟัน การแคะหู แคะจมูก
การกลืนน้ำลาย การสูดดมกลิ่นอาหาร
การแปรงฟัน การขากเสลด
การชิมแกง เมื่อรู้รสแล้วจำเป็นจะต้องบ้วนทิ้งถ้าหากกลืนเข้าไป ทำให้เสียศีลอด
ถาม : จะต้องถือศีลอดใช้เมื่อใด?
ตอบ: สมควรที่ผู้ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน หรือ ผู้ถือศีลอดกัฟฟาเราะฮฺจะต้องรีบถือศีลอดใช้ ไม่สมควรละเลยการถือศีลอดใช้ ไม่จำเป็นจะต้องถือติดต่อกันอย่างใด

ถาม : ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศีลอดมีผู้ใดบ้าง?
ตอบ: ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องถือศีลอดได้แก่

ผู้ที่แก่ชราไม่สามารถถือศีลอดได้ หรือ ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรังโดยไม่หวังว่าจะหายป่วยบุคคลเหล่านี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือศีลอดใช้ด้วย แต่ต้องให้อาหารแก่คนยากจนแทนวันที่เขาขาดไป ที่ดีควรเป็นอาหารที่เขารับประทานอิ่มใน 1 วันแทนแต่ละวัน หรือจะออกเป็นข้าววันละ 1 ลิตรก็ได้
ผู้ที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร การถือศีลอดของนางใช้ได้ แต่ถ้าหากนางกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ตัวของนางหรือบุตรของนาง ก็อนุญาตให้นางละศีลอดได้ แต่จะต้องถือศีลอดใช้ในวันที่ขาดไป
ผู้มีรอบเดือน (เฮด) หรือเลือดหลังจากการคลอดบุตร (นิฟาส) นางจะต้องละการถือศีลอด ถ้าหากว่านางถือศีลอด การถือศีลอดของนางก็ใช้ไม่ได้ และจะต้องถือศีลอดใช้ในวันที่ขาด
ผู้ที่เดินทาง ในเมื่อการเดินทางเป็นภาระหรือหนักสำหรับเขา และจำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอดใช้ในวันที่ขาดไป แต่ถ้าหากว่าการถือศีลอดมิได้เป็นภาระหนักสำหรับผู้ที่เดินทางก็สมควรจะถือศีลอดขณะเดินทาง
ผู้ที่จำเป็นต้องทำงานหนักตลอดเวลาเช่นผู้อยู่ในเหมืองแร่ กรรมกรแบกหาม ทหารที่ประจำการอยู่ในสนามรบ ฯลฯ อนุญาตให้เขาละศีลอดได้ แต่จะต้องถือศีลอดชดใช้เมื่อมีโอกาส เพราะหนี้ของอัลลอฮฺจำเป็นจะต้องชดใช้ก่อนสิ่งอื่นใด
ถาม : วันที่ชอบให้ถือศีลอดซุนนะฮฺมีวันอะไรบ้าง?


ถือศีลอดวันเว้นวัน ซึ่งเป็นการถือศีลอดตามแบบของนบีวู๊ด อลัยฮิสสลาม
การถือศีลอดในวันที่ 9 และวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม
การถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเซาวาล ท่านรอซูล กล่าวว่า“ ผู้ใดถือศีลอดในเดือนรอมฎอนและติดตามด้วยการถือศีลอดอีก 6 วัน ในเดือนเซาวาล แท้จริงเขาเสมือนว่าเขาได้ถือศีลอดทั้งปี ” การถือศีลอด 6 วันนี้ จะติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกันทั้ง 6 วัน ก็ได้แต่ให้อยู่ในเซาวาล
ถือศีลอดในวันอารอฟะฮฺ สำหรับผู้ที่มิได้ประกอบพิธีหัจญ์
ถือศีลอดในวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี
ถือลอดในวันที่ 13-14-15 ของทุกเดือนอาหรับ
ถาม : วันที่ห้ามถือศีลอดได้แก่วันอะไรบ้าง?


วันอีด-ฟิฏรฺ และวันอีดอัล-อัฏฮา
วันตัชรีก คือวันที่ 14-15-16 ซุลฮิจญะฮฺ
การถือศีลอดในวันที่สงสัยว่า จะเข้าเดือนรอมฎอน และวันทีสงสัยว่าจะเป็นวันที 1ของเดือนเซาวาล
การถือศีลอดเฉพาะวันศุกร์หรือวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ แต่ถ้าหากว่าจะถือศีลอดในวันดังกล่าวจะต้องถือศีลอดควบกัน เช่น ควบกับวันศุกร์และวันเสาร์ ถือว่าเป็นอนุญาตให้ถือศีลอดได้ ทั้งนี้นอกจากการถือศีลอดใช้
การถือศีลอดข้ามวันคือ เมื่อดวงอาทิตย์แล้วไม่ยอมแก้ศีลอด แต่จะมาแก้ศีลอดหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าของวันใหม่
การถือศีลอดติดต่อกันตลอดทั้งเดือน นอกจากเดือนรอมฎอน หรือการถือศีลอดของสตรีที่ถือศีลอดซุนนะฮฺ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี ส่วนการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และการถือศีลอดใช้ ไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามี
ถาม : ผู้หนึ่งถือศีลอดซุนนะฮฺแล้วเขาแก้ศีลอดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า จำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอดใช้หรือไม่?




ถาม: เอี๊ยะติกาฟคืออะไร?


ถาม : เงื่อนไขในการเอี๊ยะติกาฟมีอะไรบ้าง?


จำเป็นที่ผู้เอี๊ยะติกาฟจะต้องอยู่ในมัสยิดที่ใช้ละหมาดญะมาอะฮฺ
ให้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ เช่นทำการละหมาด อ่านอัลกุรอาน กล่าว ซิกรุลลอฮฺ
อนุญาตให้ผู้ทำการเอี๊ยะติกาฟออกมานอกมัสยิดได้ ในเมื่อเกิดความจำเป็น เช่น การทำความสะอาด การหาอาหารมารับประทาน ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ และการไปเยี่ยมผู้ป่วย
อนุญาตให้ไปเยี่ยมผู้ป่วยถ้าหากว่าเขาได้ตั้งเงื่อนไขไว้ก่อนการเอี๊ยะติกาฟ
อนุญาตให้ผู้ที่อยู่ในครอบครัวหรือผู้อื่นไปเยี่ยมผู้ที่ทำการเอี๊ยะติกาฟและพูดคุยกันได้ แต่ต้องไม่ใช้เวลานานเกินควร
การมีเพศสัมพันธ์
การออกไปจากมัสยิดโดยไม่มีความจำเป็น
เจตนาเลิกเอี๊ยะติกาฟ


ถาม มารยาทในการถือศีลอดมีอะไรบ้าง?
ตอบ มารยาทในการถือศีลอดมี 8 ประการ คือ
1. ต้องรับประทานอาหารสะโฮ๊ร
2. รีบละศีลอดเมื่อได้เวลา
3. ขอพรขณะละศีลอด เช่น กล่าวว่า

"อัลลอฮุมมะ ละกะศุมตุ วะอะลาริซกิกะ อัฟฏ็อรตุ" ความว่า "โอ้อัลลอฮฺ ฉันได้ถือศีลอดเพื่อพระองค์ และจากเครื่องยังชีพของพระองค์ท่าน (ประทานมาให้) ฉันได้ละศีลอด"
4. งดเว้นกระทำสิ่งที่ตรงข้าม กับการถือศีลอด เช่น พูดจาหยาบคาย พูดโกหก ฯลฯ
5. ส่งเสริมให้ผู้ถือศีลอดแปรงฟันโดยไม่แยกว่าเป็นช่วงเช้า หรือช่วงบ่าย
6. ควรเป็นคนใจบุญ เห็นอกเห็นใจคนยากคนจน
7. ส่งเสริมให้ทบทวน และอ่านอัลกุรอานมาก ๆ
8. ตื่นตัวในการทำอิบาดะฮฺในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน
ถาม สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดมีอะไรบ้าง?
ตอบ สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดมี 7 ประการ คือ
1. กินและดื่ม โดยเจตนา
2. อาเจียรโดยเจตนา
3. มีเลือดประจำเดือน
4. มีเลือดอันเนื่องจากการคลอดบุตร
5. หลั่งอสุจิโดยเจตนา
6. สูบบุหรี่
7. สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม

ถาม ใส่ยาตา ทำให้เสียศีลอดไหม?
ตอบ การใส่ยาตา ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่ประการใด

ถาม การฉีดยา ทำให้เสียศีลอดไหม?
ตอบ การฉีดยา ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่ประการใด ไม่ว่าจะฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อก็ตาม แต่ถ้าป่วยถึงกับต้องฉีดยา ศาสนาก็ผ่อนผันให้ไม่ต้องถือศีลอดในวันที่ป่วย แต่ต้องถือศีลอดชดใช้ในเวลาที่หายป่วยแล้ว

ถาม แม่บ้านถามมาว่า เมื่อเราปรุงอาหารในเดือนรอมฎอนเพื่อนเตรียมละศีลอด เราจะชิมเพื่อให้รู้รสชาดอาหารได้ไหม?
ตอบ การชิมอาหาร โดยใช้ลิ้นแตะให้รู้รส แล้วบ้วนทิ้งไป โดยไม่กลืนเข้าไปในลำคอ ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่อย่างใด

ถาม หากคนหนึ่งคันหู จำเป็นจะต้องแคะหู ทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ การแคะหู ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่ประการใด

ถาม คนที่ไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยไม่มีข้อผ่อนผันตามหลักศาสนา ศาสนามีข้อชี้ขาดว่าอย่างไร?
ตอบ การถือศีลอด เป็นหลักการหนึ่งของหลักการอิสลาม 5 ประการ คนที่ปฏิบัติตาม เรียกว่า "มุสลิม" ส่วนคนที่ไม่ปฏิบัติตามโดยปฏิเสธ เรียกตรงกันข้ามคือ "ไม่ได้เป็นมุสลิม" ถ้าไม่ปฏิบัติตามโดยปล่อยปะละเลย เรียกว่า "คนชั่ว" แต่ไม่ได้ถือศีลอดตามที่ได้ถามมา ท่านนบีบอกว่าแม้จะถือศีลอดใช้เป็นปี ก็ไม่มีผล

ถาม การละหมาดกิยามุรอมฎอน หรือตะรอเวียฮฺนั้นมีภาคผลอย่างไร?
ตอบ ท่านนบี กล่าวว่า ความว่า "ผู้ใดปฏิบัติละหมาดค่ำคืนรอมฎอน (กิยามุรอมฎอน หรือตะรอเวียฮฺ) ด้วยความศรัทธา และหวังผลานิสงค์จากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยในความผิดที่ได้กระทำมาแล้ว"

ถาม กิยามุรอมฎอน หรือตะรอเวียฮฺนั้น ท่านนบีฯ ละหมาดกี่ร็อกอะฮฺ?
ตอบ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ รายงานว่า "แท้จริงท่านนบี ไม่เคยละหมาดเกิน 11 ร็อกอะฮฺ (ตะรอเวียฮฺ 8 และวิตริ 3 รวมเป็น 11 ร็อกอะฮฺ) ไม่ว่าในหรือนอกเดือนรอมฎอน" ญาบิร รายงานว่า "ท่านนบี ได้ละหมาดกับสาวก 8 ร็อกอะฮฺ และละหมาดวิตริ"

ถาม การละหมาดวิตริแบบ 3 ร็อกอะฮฺ เห็นบางมัสญิดทำแบบ 1 สลาม และบางมัสญิด ก็ทำแบบ 2 สลาม แบบไหนถูกซุนนะฮฺกันแน่?
ตอบ ถูกซุนนะฮฺทั้ง 2 แบบ คือ ทั้ง
ก. 1 สลาม โดยละหมาด 3 ร็อกอะฮฺรวด ในร็อกอะฮฺแรก หลังจากอ่านฟาฏิฮะฮฺแล้ว อ่านซับบิฮิสฯ ในร็อกอะฮฺที่สอง อ่านฟาฏิฮะฮฺแล้วอ่านกุลยาอัยฯ ในร็อกอะฮฺที่สาม อ่านฟาฏิฮะฮฺแล้วอ่านกุลฮุวัลลอฮฺฯ นั่งตะชะฮุดเสร็จแล้วให้สลาม
ข. 2 สลาม โดยละหมาด 2 ร็อกอะฮฺแล้วนั่งตะชะฮุดแล้วให้สลาม แล้วลุกขึ้นตั๊กบีรละหมาดอีก 1 ร็อกอะฮฺ นั่งตะชะฮุดเสร็จแล้วให้สลามรวมเป็น 2 ตะชะฮุด 2 สลาม

ถาม ละหมาดวิตรินั้น ที่เห้นส่วนใหญ่จะทำกันในเดือนรอมฎอน เดือนอื่น ๆ จะละหมาดได้ไหม?
ตอบ ทำได้ตลอดทุกเดือน เวลาละหมาดวิตริเข้าหลังจากละหมาดอิชาอฺ ไปจนถึงเวลาศุบฮิ

ถาม คืนอัลก้อดรฺ (ลัยละตุลก้อดรฺ) ในปัจจุบันนี้ ยังจะมีอยู่อีกหรือ?
ตอบ จากคำตอบของท่านนบี ที่ตอบคำถามท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่ถามเกี่ยวกับเรื่องนี้น่าจะยังคงมีอยู่ เมื่อท่านหญิงถามว่า ถ้าดิฉันพบคืนนั้นแล้ว ดิฉันจะกล่าวอะไรดี ท่านตอบนางว่า ให้กล่าวดังนี้ ความว่า "โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ทรงรักการอภัย ขอพระองค์โปรดอภัยโทษให้ดิฉันด้วย"

ถาม เดือนรอมฎอนชัยฏอน (ซาตาน) ถูกล่ามจริงหรือ? เมื่อชัยฏอนถูกล่าม ทำไมคนยังทำชั่วอยู่อีก?
ตอบ ชัยฏอนถูกล่ามนั้น มีระบุอยู่ในหะดีษของท่านนบีต้องเป็นเรื่องจริง ส่วนจะถูกล่ามอย่างไรนั้นเราไม่ทราบได้ แต่คนชั่วนั้น อัลลอฮฺไม่ได้ล่ามเอาไว้หรอก มันจึงทำชั่วได้ตลอดเวลา แรก ๆ มันก็ถูกชัยฏอนชักจูง พอทำชั่วมาก ๆ เข้า มันล้ำหน้าชัยฏอนไปเสียอีก

ถาม เดือนรอมฎอนส่งเสริมให้มีการทบทวนอัลกุรอาน เราจะทบทวนด้วยการฟังเทปกุรอาน ได้ไหม?
ตอบ จะทบทวนโดยวิธีใดก็ได้ จะอ่าน จะฟังเทปอัลกุรอาน หรือจะศึกษาความหมายไปด้วยก็ได้ แม้กระทั่งไปร่วมละหมาดตะรอเวียฮฺแล้วฟังอิมามอ่านอัลกุรอาน ก็ถือเป็นการทบทวนไปด้วย

ถาม เรื่องมีอยู่ว่าเกิดมีกรณีที่ว่า (ผู้ถือศีลอดที่เดินทางโดยเครื่องบิน) เมื่อได้เวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตามกำหนดเวลาของเมืองที่ผู้ถือศีลอด ได้เดินทางจากมา หรือเมืองที่ผ่านน่านฟ้าเข้ามา โดยที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ถามว่าเขาจะละศีลอดได้หรือไม่ ทั้งที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ? ถ้าจะคอยให้ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าศีลอดของวันนี้ ก็อาจจะยาวนานเกินไป จึงเป็นความลำบากที่เขาจะคงการถือศีลอดของวันนี้ต่อไป?
ตอบ พระองค์อัลเลาะฮฺทรงตรัสว่า ความว่า "ภายหลังจากนั้นพวกท่านจงถือศีลอดให้สมบูรณ์จนกระทั่งเข้าเวลากลางคืน" (บทอัล-บากอเราะฮฺโองการที่ 387)
และท่านอิม่ามบุคอรี และมุสลิมรายงานว่า "ท่านศาสดาเคยเดินทางร่วมกับอัครสาวกของท่านในเดือนรอมฎอน ครั้นเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้วท่านก็ขอให้ท่านบิล๊าลจัดเตรียมอาหารละศีลอด เมื่อท่านบิล๊าลจัดเตรียมอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงดื่มและกล่าวพร้อมกับชี้ด้วยพระหัตถ์ของท่าน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าจากตรงนี้ และเวลากลางคืนที่ได้มาถึง"
ตรงนี้แท้จริงผู้ที่กำลังถือศีลอดได้ละศีลอดแล้ว (หมายถึงอนุมัติให้เขาละศีลอดได้) ทั้งอัลกุรอานและอัลฮาดิษ ได้ชี้ชัดว่าการละศีลอดนั้น จะยังไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับผู้ถือศีลอดนอกจากเมื่อเข้าเวลากลางคืน ซึ่งเวลากลางคืนจะมาถึงเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว ถ้าหากว่าผู้ที่กำลังถือศีลอดเดินทางโดยเครื่องบิน และเครื่องกำลังลอยลำอยู่ในระดับที่มีความสูงมาก ย่อมเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าจากพื้นดินก่อนที่มันจะลับหายจากสายตาของผู้โดยสารเครื่องบิน โดยถือตามกฏเกณฑ์โลกกลม ด้วยเหตุจึงไม่เป็นที่อนุมัติให้ผู้ที่กำลังถือศีลอดบนเครื่องบินละศีลอด ตราบใดที่ดวงอาทิตย์ยังปรากฏชัดอยู่ เพราะบางทีอาจเกิดกรณีที่ว่าผู้ถือศีลอดจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งกลางวันจะดูสั้นลง หรือบางทีอาจจะมุ่งไปทางทิศตะวันตก กลางวันจึงดูยาวนานขึ้น เพราะฉนั้นให้พิจารณาที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไม่ว่าจะมุ่งไปทางทิศใด โดยจะไม่พิจารณาตามกำหนดเวลาของโซนที่ผู้ถือศีลอดผ่านน่านฟ้าเข้ามา และจะไม่พิจารณาตามกำหนดเวลาของเมืองที่ผู้ถือศีลอดเดินทางจากมา ถ้าหากเกรงว่าจะเกิดความลำบากแก่ผู้ถือศีลอดเนื่องจากเวลากลางวันที่ยาวนาน
ศาสนาอิสลามก็ผ่อนผันให้ละศีลอดได้สำหรับผู้ที่เกิดความลำบาก แต่ถ้าหากว่าไม่เกิดความยากลำบากแก่ผู้ถือศีลอดแต่ประการใด และเขาเลือกที่จะถือศีลอดให้ครบวัน เขาจะไม่ละศีลอดจนกว่าดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า

ถาม การถ่ายเลือดทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ คำถามนี้สามารถตอบได้สองประเด็น ประเด็นแรกเกี่ยวข้องกับผู้ถูกถ่ายเลือด (ผู้ให้) อีกประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการถ่ายเลือด (ผู้รับ)
อนึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ถ่ายเลือดออกในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอนนั้น เปรียบได้กับการเอาเลือดออกจากเขาผู้นั้นโดยกระทำ "อัลฟัซดู" (การกรีดเลือด หรือเจาะเลือดจากส่วนที่ไม่ใช่ศรีษะ) หรือเปรียบได้กับ "อัล-ฮิญามะฮฺ" (การกรอกเลือดจากส่วนศรีษะ) ได้กล่าวมาก่อนแล้วว่า นักวิชาการส่วนมากชี้ขาดว่า ไม่เสียศีลอดด้วยสาเหตุทั้งสองกรณี กล่าวคือการกรีดเลือดหรือเจาะเลือดและการกรอกเลือดเพราะว่าอัล-ฮาดิษ ความว่า " ผู้ที่กรอกเลือดกับผู้ที่ถูกกรอกเลือดเสียศีลอดทั้งคู่"
ซึ่งถูกนำมาเป็นข้ออ้างของฝ่ายที่กล่าวว่า เสียศีลอดนั้นไม่ปลอดภัยจากการวิพากวิจารณ์ ถ้าไม่ใช่ในด้านของสายรายงานก็ในด้านของความหมายที่บ่งชี้จากหนังสือของท่านอิม่ามเซากานีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 212-216
สำหรับกรณีที่เกี่ยวกับผู้รับการถ่ายเลือดเข้านั้นถูกให้ข้อชี้ขาดเหมือนกับการฉีดยา ในเมื่อการถ่ายเลือดเข้ามีจุดประสงค์ เพื่อการรักษาโรคไม่ใช่เพื่อเป็นอาหารแก่ร่างกาย โดยถูกถ่ายผ่านเข้าทางเส้นเลือด ข้าพเจ้า (เชคอะตียะฮฺซ้อกร์) จึงให้เห็นว่าไม่เสียศีลอดพร้อมทั้งกล่าวว่า ผู้ป่วยที่ถูกถ่ายเลือดเข้าสู่ร่างกายย่อมต้องการอาหารบำรุงกำลัง จึงเป็นสิทธิของเขาที่จะบริโภคอาหารต่างๆ และจำเป็นสำหรับเขาต้องชดใช้การถือศีลอดดังกล่าวเมื่อหายจากอาการเจ็บป่วยแล้ว ทรรศนะต่างๆของนักวิชาการที่ขัดแย้งกันในปลีกย่อยของปัญหาที่เหมือนกันนี้ ถือเป็นความเมตตาขององค์อัลเลาะฮฺ ซึ่งท่านสามารถจะยึดถือปฏิบัติตามสิ่งที่สะดวกกว่า และง่ายกว่าในภาวะที่เกิดมีความจำเป็น

ถาม หญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร มีฮุก่มว่าอย่างไร?
ตอบ ฮุก่มของหญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร คือฮุก่มเดียวกับผู้ป่วย คือถ้าหากว่าทั้งสองไม่สามารถถือศีลอดได้ ศาสนาอนุโลมให้ ไม่ต้องถือศีลอด และต้องชดใช้เมื่อมีความสามารถ เช่นเดียวกับผู้ป่วย
มีนักวิชาการบางท่านบอกว่า เพียงพอแล้วที่ทั้งสองจะทดแทนการถือศีลอดโดยการให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน ซึ่งเป็นทัศนะที่อ่อน และที่ถูกต้องคือ ทั้องสองจะต้องชดใช้ศีลอดเหมือนกับผู้ป่วยและผู้เดินทางอัลลอฮฺทรงตรัสว่า "ดังนั้นหากคนหนึ่งคนใดในหมู่สูเจ้าป่วย หรืออยู่ระหว่างเดินทางก็ให้ชดใช้ในวันอื่น"
และรายงานจากท่านอนัส อิบนฺมาลิก ท่านรอซู้ลกล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮฺทรงผ่อนผัน การถือศีลอดและการละหมาดให้แก่ผู้เดินทาง (คือไม่ต้องถือศีลอดและละหมาดย่อได้) และทรงผ่อนผันการถือศีลอดให้กับ หญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร" บันทึกโดยนักบันทึกหะดีษทั้งห้า

ถาม การอาเจียนทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ หากว่าไม่เจตนาทำให้อาเจียนไม่ทำให้เสียศีลอดและไม่ต้องชดใช้ ถ้าหากเจตนาทำให้อาเจียนต้องชดใช้ ท่านนบีกล่าวว่า "ผู้ใด้ที่อาเจียนเองไม่ต้องชดใช้ (ศีลอด) และผู้ที่เจตนาอาเจียนจำเป็นที่จะต้องชดใช้ (ศีลอด)" บันทึกโดยอิมามอะฮฺหมัดและเจ้าของสุนันทั้งสี่ ด้วยสายรายงานที่ถูกต้องจากหะดีษที่รายงานโดยอะบูฮุร็อยเราะฮฺ

ถาม การเสียเลือดของผู้ถือศีลอดมีผลต่อการถือศีลอดหรือไม่?
ตอบ การเสียเลือดของผู้ถือศีลอด เช่น เลือดกำเดาออก หรือหญิงมีอิสติฮาเฎาะฮฺ (เลือดเสีย) หรือคล้ายๆกันนี้ไม่ทำให้เสียศีลอด ส่วนการเสียเลือดที่ทำให้เสียศีลอด นั้น คือ เฮด (รอบเดือน) นิฟาส (เลือดหลังคลอดบุตร) และการกรอกเลือด

ถาม บริจาคเลือดในเดือนรอมฏอน ทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ การบริจาคเลือดนั้นผู้บริจาคต้องเสียเลือดมาก ทำให้เสียศีลอด กิยาส (เปรียบเทียบ) กับการกรอกเลือดเพราะการกรอกเลือดนั้นเสียเลือดมาก และทำให้เสียศีลอด แต่ถ้าเพียงเล็กน้อยเช่น เจาะเลือด เพื่อตรวจโรคไม่ทำให้เสียศีลอด

ถาม ฉันเป็นสาว อายุ 17 แต่ยังไม่เคยถือศีลอดเลยในเดือนรอมฏอนของสองปีแรก ฉันจะทำอย่างไร?
ตอบ จำเป็นที่จะต้องรีบถือศีลอดชดใช้ และต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺชดเชยด้วย โดยการให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน เนื่องจากชดใช้ศีลอดล่าช้าเกินกว่าหนึ่งปีตามความเห็นส่วนใหญ่ของนักวิชาการ

ถาม การฉีดยาเข้าเส้นเลือด ทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ หากว่าการฉีดยานั้นมีผลสร้างความกระปี้กระเปร่า ให้กับผู้ถือศีลอด (ให้น้ำเกลือ) การถือศีลอดของเขาก็ใช้ไม่ได้ ไม่ว่าจะฉีดส่วนไหนของร่างกาย แต่ถ้ามีผลเพื่อระงับหรือบรรเทาความเจ็บปวด ก็ไม่ทำให้เสียศีลอด

ถาม การฉีดยาเข้าเส้นเลือด ทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ หากว่าการฉีดยานั้นมีผลสร้างความกระปี้กระเปร่า ให้กับผู้ถือศีลอด (ให้น้ำเกลือ) การถือศีลอดของเขาก็ใช้ไม่ได้ ไม่ว่าจะฉีดส่วนไหนของร่างกาย แต่ถ้ามีผลเพื่อระงับหรือบรรเทาความเจ็บปวด ก็ไม่ทำให้เสียศีลอด

ถาม หากว่ามีคนหนึ่งถือศีลอดสุนนะฮฺ (อัยยามุลเบฎ) ทุกเดือนเป็นประจำ คือวันที่ 13-14-15 ตามเดือนจันทรคติ และในเดือนเซาวาลเขาได้ทำการถือศีลอดสุนนะฮฺนี้ตามปกติ และถือศีลอดนอกเหนือจากสามวันนี้ อีกสามวันจะถือว่าเขาได้ทำการถือศีลอดสุนนะฮฺหกวันของเดือนเซาวาลหรือเปล่า?
ตอบ การถือศีลอดหกวันในเดือนเซาวาล ไม่เกี่ยวกับการถือศีลอดสุนนะฮฺ (อัยยามุลเบฎ) และจะเอามารวมกันไม่ได้ คือ ให้ถือศีลอดและตั้งเจตนาแยกกันต่างหาก เพื่อเพิ่มพูนผลบุญ แต่ถ้าหากเขาถือศีลอดหกวันในเซาวาล แล้วเนียตรวมกันทั้งสองคือ บวชหกและบวช (อัยยามุลเบฏ) ข้าพเจ้า (เชคซอและฮฺ อิบนฺเฟาซาน อัลเฟาซาน) เห็นว่าจะได้แค่ผลบุญของการถือศีลอดเซาวาลเท่านั้น อินชาอัลลอฮฺ

ถาม หญิงคนหนึ่งมีความจำเป็นไม่สามารถถือศีลอดได้ในเดือนรอมฏอนและได้เสียชีวิตก่อนที่จะชดใช้ ถามว่าหญิงคนนี้มีความผิดหรือไม่ ถ้ามีจะไถ่โทษนางอย่างไร?
ตอบ หากว่าไม่ได้ถือศีลอดเนื่องจากความเจ็บป่วย โดยที่ป่วยต่อเนื่องมาจนหมดเดือนรอมฏอน จนกระทั่งเสียชีวิต ทายาทก็ไม่ต้องชดใช้และไม่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺชดเชย เพราะว่าเขาไม่สามารถที่จะชดเชยได้ แต่ถ้าหากว่าเขาหายจากการป่วยไข้ และมีเวลาเพียงพอที่จะถือศีลอดชดใช้ แต่เขายังไม่ได้ชดใช้ จนกระทั่งเสียชีวิตเสียก่อนก็จำเป็นที่ทายาทจะต้องชดใช้แทนเขา หรือเสียกัฟฟาเราะฮฺให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน
เช่นเดียวกันหญิงคนนั้น ถ้าสามารถที่จะชดใช้ศีลอดได้หลังรอมฏอนและยังไม่ได้ชดใช้ ส่วนถ้านางไม่สามารถ ก็ไม่ต้องชดใช้ และไม่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ วัลลอฮุอะอฺลัม

ถาม แปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ เชคบินบาซตอบว่า การแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟัน ไม่ทำให้เสียศีลอด แต่ต้องระวังไม่ให้เข้าไปถึงกระเพาะ ถ้าหากว่า หลุดลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ไม่จำเป็นต้องชดใช้ และยาหยอดหู หยอดตาก็เช่นเดียวกัน ไม่ทำให้เสียศีลอด ในทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของนักวิชาการ แต่หากว่ารู้สึกถึงรสขมจากยาหยอดตาหรือหยอดหูได้ในลำคอ ก็ควรจะชดใช้ศีลอดในวันนั้น เป็นการดีกว่า ซึ่งไม่ใช่วายิบที่เขาต้องชดใช้ เพราะทั้งหูและตาไม่ใช่อวัยวะที่เป็นทางผ่านของอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนยาหยอดจมูกนั้น ถ้าใช้แล้วรู้สึกถึงรสขมในลำคออันเนื่องมาจากยา ก็จำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอด เพราะจมูกถือเป็นทางผ่านของอาหารและเครื่องดืมได้ ด้วยเหตุนี้ท่านนบีจึงกล่าวว่า "และจงสูดน้ำเข้าจมูก (ตอนอาบน้ำละหมาด) นอกเสียจากว่าท่านกำลังถือศีลอด"

ถาม การใช้น้ำยาบ้วนปากทำให้เสียศีลอดหรือไม่?
ตอบ การใช้น้ำยาบ้วนปากไม่ทำให้เสียศีลอด หากไม่กินหรือกลืนเข้าไป แต่ก็ไม่สมควรใช้นอกจากจำเป็น

ถาม การถือศีลอดของคนที่เป็นพยานเท็จใช้ได้หรือไม่?
ตอบ การเป็นพยานเท็จ คือการที่คนหนึ่งคนใด เป็นพยานยืนยันในสิ่งที่เขาไม่รู้ หรือรู้แต่ว่ายืนยันตรงกันข้ามกับที่เขารู้ถือเป็นบาปใหญ่ แต่ไม่ทำให็การถือศีลอดของเขาเสียไป คือใช้ได้ แต่ว่า ผลบุญของเขาจะลดลง

ถาม อะไรคือการถือศีลอดแบบวิซอล ? เป็นซุนนะฮฺหรือเปล่า ?
ตอบ วิซอล คือการถือศีลอดสองวันติดต่อกัน ซึ่งท่านนบีได้สั่งห้ามเอาไว้ โดยกล่าวว่า "ผู้ใดที่ต้องการจะถือศีลอดวิซอล ก็ให้ถือแค่เวลาซุโฮร์"
การถือศีลอดต่อเนื่องจนถึงเวลาซุโฮร (โดยไม่ละศีลอดตอนมักริบ) เป็นที่อนุญาต แต่ไม่เป็นที่ส่งเสริม และท่านนบีก็ได้ ส่งเสริมให้รีบละศีลอดเมือ่ได้เวลา ท่านนบีฯได้กล่าวว่า "ประชาชาติของฉันจะยังคงอยู่บนความดีตราบเท่าทีเขารีบเร่งละศีลอด" แต่ท่านนบีก็อนุญาตให้ถือติดต่อได้จนถึงซุโฮรเท่านั้น ครั้นเมื่อมีบรรดาซ่อฮาบะฮฺ กล่าวว่า "โอ้ท่านร่อสู้ลุ้ลลอฮฺท่านยังถือติดต่อได้เลย ท่านนบีตอบว่าฉันไม่เหมือนกับพวกท่าน"

ถาม อะไรคือความหมายของหะดีษที่ว่า "ไม่มีการถือศีลอด สำหรับผู้ที่ไม่ได้เนียต (ตั้งเจตนา) ตอนกลางคืน"?
ตอบ การตั้งเจตนาที่จะถือศีลอด นั้นอยู่คู่กับมุสลิมทุกคนที่รู้ว่าเดือนรอมฏอนเป็นเดือนที่ พระองค์อัลลอฮฺทรงบัญญัติ ฟัรดูการถือศีลอดในเดือนนี้
ดังนั้น การที่เขารู้ถึงฟัรดูการถือศีลอด และทำการถือศีลอด ก็เป็นการเพียงพอแล้ว และเพียงแค่การพูดกับตัวเองว่า จะถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ หากไม่มีอุปสรรคหรือการรับประทานอาหารซุโฮร ด้วยความตั้งใจแบบนี้ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป้นคำพูดว่าจะถือศีลอดและอิบาดะฮฺอื่นๆก็เช่นเดียวกัน เพราะการเนียตตำแหน่งของมันคือหัวใจ และจำเป็นต้องให้การเหนียตอยู่ควบคู่กับการปฏิบัติตลอดเดือนรอมฏอน โดยจะต้องไม่ตั้งใจจะละศีลอด หรือทำให้เสียศีลอดในขณะที่กำลังถือศีลอดอยู่

ถาม เด็กจะถือศีลอดอย่างไร ? และจริง (ถูกต้องหรือไม่) ที่ผลบุญจะได้แก่พ่อแม่ของเด็ก ?
ตอบ จำเป็นที่พ่อแม่จะต้องฝึกฝนบุตรให้ถือศีลอด หากว่าสามารถที่จะถือได้ ถึงแม้ว่าอายุจะยังไม่ถึงสิบขวบก็ตาม และเมื่อมีอายุถึงสิบขวบแล้ว ผู้เป็นพ่อแม่จะต้องบังคับลูกให้ถือศีลอด หากว่าเด็กถือศีลอดก่อนที่จะบรรลุศาสนภาวะ ก็ต้องถือศีลอดเหมือนผู้ใหญ่ทุกประการ ส่วนผลบุญก็จะได้แก่เด็กและพ่อแม่ของเด็กด้วย

ถาม จำเป็นที่จะต้องละศีลอดเมื่อได้ยินเสียงอะซานมักริบ หรืออนุญาตให้ล่าช้าได้ ?
ตอบ มีหะดีษรายงานว่า "แท้จริงบ่าวที่เป็นทีรักยิ่งของอัลลอฮฺ คือผู้ที่รีบเร่งละศีลอด และประชาชาติอิสลาม จะยังคงอยู่บนความดีตราบเท่าทีเขารีบละศีลอด และให้ล่าช้าในการรับประทานอาหารซุโฮร"
และตามซุนนะฮฺ ให้ละศีลอดก่อนที่จะทำการละหมาดมักริบโดยมีข้อแม้ว่า ต้องแน่ใจว่าดวงอาทิตย์ตก แต่ก็อนุญาตให้ล่าช้าได้หากไม่แน่ใจว่า ดวงอาทิตย์ตกหรือยังหรือด้วยสาเหตอื่น เช่นรออาหาร หรือติดงานสำคัญ เป็นต้น วัลลอฮุอะอฺลัม

ถาม หากว่าผู้ถือศีลอด ทั้งที่เดินทาง และไม่ได้เดินทาง เมื่อได้เวลาละศีลอดแล้วเขาไม่สามารถหาอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อละศีลอดได้ถามว่า เขาจะละศีลอดด้วยกับเจตนาเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่?
ตอบ การถือศีลอดขณะเดินทางนั้นเป็นที่อนุญาต และประเสริฐกว่าการที่จะไม่ถือศีลอด ถ้าไม่เป็นการลำบากกับผู้เดินทางเอง แต่ถ้าหากพบความยากลำบาก ที่อาจทำให้เขาต้องพึ่งพาคนอื่นในงานของเขาเอง การที่เขาไม่ถือศีลอดในสภาพเช่นนี้จะประเสริฐกว่าการถือศีลอด
นี่คือทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ เพราะท่านนบีได้ถือศีลอดในสงครามพิชิตมักกะฮฺ จนกระทั่งมีซอฮาบะฮฺ บอกกับท่านว่า การถือศีลอดทำให้พวกเขาประสบความยากลำบาก ท่านนบีจึงละศีลอดและใช้ให้พวกเขาละศีลอดด้วย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรู
และหากว่าผู้เดินทางประสงค์จะละศีลอด ถึงแม้จะไม่มีอุปสรรคก็ตามถือว่า เป็นที่อนุญาตการเนียตละศีลอด ถึงแม้จะไม่ไดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็ถือว่าใช้ได้
ส่วนคนที่ได้เวลาละศีลอดแต่หาอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อละศีลอดยังไม่ได้ การเนียตละศีลอด ก็เพียงพอแล้วเช่นกันจนกระทั่ง เขาหาอาหารที่จะละศีลอดได้ แต่ที่ประเสริฐที่สุดคือให้รีบละศีลอดเมื่อได้เวลา ดังหะดีษที่ว่า "ประชาชาติ (ของฉัน) จะยังคงอยู่บนความดี ตราบเท่าที่ พวกเขารีบละศีลอด"

ถาม เด็กผู้หญิงจำเป็นต้องถือศีลอดเมื่อใด?
ตอบ จำเป็นที่เด็กหญิงจะต้องถือศีลอดเมื่อบรรลุศาสนภาวะ และสิ่งที่บ่งบอกว่าบรรลุแล้วก็คือ มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ หรือมีขนขึ้นรอบอวัยวะเพศ หรือ มีอสุจิเคลื่อนออก หรือมีรอบเดือน และหรือการมีครรภ์ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ปรากฎสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กล่าวมานี้ก็จำเป็นจะต้องถือศีลอด ถึงแม้ว่าเด็กหญิงคนนั้นจะมีอายุยังไม่ถึง 10 ขวบก็ตาม มีให้เห็นมากมายที่ผู้หญิงมีรอบเดือนเมื่ออายุ 10-11 ขวบแล้วผู้ปกครองก็ละเลย โดยคิดว่ายังเด็กจึงไม่บังคับให้ถือศีลอด ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดเพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้หญิงเริ่มมีรอบเดือนก็ถือได้ว่าเป็นสาวแล้ว บรรลุศาสนภาวะแล้ว และมลาอิกะฮฺก็เริ่มบันทึกการงานของเธอแล้ว วัลลอฮุอะอฺลัม

ถาม ฉันคลอดบุตรก่อนเข้ารอมฏอน 1 สัปดาห์ และนิฟาส (เลือดหลังการคลอดบุตร) ก็หมดก่อน 40 วัน ฉันจำเป็นต้องถือศีลอดหรือไม่?
ตอบ จำเป็นที่จะต้องถือศีลอด เมื่อผู้ที่คลอดบุตรรู้ว่าตัวเองสะอาดแล้ว คือหมดนิฟาส ก็จำเป็นที่จะต้องละหมาดหรือถือศีลอด แม้ว่าจะสะอาดหลังการคลอดเพียงวันเดียว หรือ 1 สัปดาห์ เพราะไม่มี กำหนดอย่างน้อยของนิฟาส บางรายไม่มีนิฟาสเลย หลังคลอดและระยะ 40 วันก็ไม่ใช่เงื่อนไขตายตัว หากว่ามีนิฟาสเกิน 40 วัน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (สีของนิฟาส) ก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงนิฟาส ไม่ต้องถือศีลอดไม่ต้องละหมาดจนกว่าจะสะอาด วัลลอฮุอะอฺลัม

ถาม ผู้ที่ด่าทอขณะที่ถือศีลอด ศาสนามีฮุก่มว่าอย่างไร?
ตอบ การด่าทอขณะที่ถือศีลอดไม่ทำให้เสียศีลอด แต่ว่าจะทำให้ผลบุญของเขาลดน้อยลง มุสลิมจะต้องรู้จักควบคุมจิตใจ และลิ้นของเขาต้องงดเว้น จากการด่าทอ นินทา ให้ร้าย และจากสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามซึ่งจะเป็นหตุให้เกิดฟิตนะฮฺ ความเกลียดชัง และความแตกแยกท่านรอซู้ล (ซ.ล) กล่าวว่า "เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่สูเจ้าถือศีลอด ก็จงอย่าด่าทอให้ร้าย และอย่าส่งเสียงดัง (ด้วยความโกรธ) และหากว่ามีใครด่าทอหรือหาเรื่อง ท่านก็จงกล่าวว่าข้าพเจ้าถือศีลอด" (บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม)

ถาม มีอุปสรรค ถือศีลอดในเดือนรอมฏอนไม่ได้ ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ ผู้ใดที่ละทิ้งการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน โดยมีอุปสรรคตามที่ศาสนาผ่อนผัน จำเป็นที่จะต้องถือศีลอดชดใช้ก่อนที่จะถึงรอมฏอนถัดไป ถ้าหากล่าช้า ไม่ได้ชดใช้ จนเลย เดือนรอมฏอนถัดไป โดยไม่มีอุปสรรคตามที่ศาสนาผ่อนผัน เช่น ชราภาพ หรือป่วยเรื้อรัง จำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอดชดใช้ตามวันที่ขาดไป และต้องให้อาหารแก่คนยากจนทุกวันด้วย
แต่ถ้าหากไม่สามารถถือศีลอดได้ เช่นคนชรา หรือผู้ป่วยเรื้อรังก็ให้อาหารแก่คนยากจนโดยไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ อัลกุรอานกล่าวว่า "และผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้ ก็ให้เสียฟิดยะฮฺให้อาหารแก่คนยากจน"
ส่วนปริมาณที่จะต้องจ่ายออกไป ก็คือจ่ายทุกวัน วันละครึ่งซออฺ เท่ากับ 1 กิโลครึ่งโดยประมาณ ซึ่งอาจจะเป็น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หรืออาหารหลักของแต่ละประเทศ สำหรับการใช้เงินแทนให้อาหารนั้นใช้ไม่ได้ เนื่องจากตัวบทอัลกุรอานได้ชี้ชัดไว้

ถาม มีชายผู้หนึ่งนอนหลับก่อนที่จะรู้ว่าวันรุ่งขึ้น เป็นวันแรกที่จะต้องถือศีลอด พอตื่นขึ้นละหมาดซุบฮฺถามใครก็ไม่มีใครรู้ว่าเข้ารอมฏอนหรือยัง เขาจึงยังไม่รับประทานอาหารอะไร จนไปถึงที่ทำงานถึงได้รู้ว่าเข้ารอมฏอนแล้วเขาจึงอดอาหารจนถึงเย็น ในสภาพเช่นนี้การถือศีลอดของเขาใช้ได้หรือไม่ หรือว่าจำเป็นที่เขาจะต้องถือศีลอดชดใช้?
ตอบ ผู้ใดก็ตามที่รู้ว่าเข้าเดือนบวชแล้วในตอนกลางวัน จำเป็นที่เขาจะต้องงดเว้นจากอาหารและเครื่องดื่ม นับตั้งแต่เขารู้จนตะวันตกดินและให้ถือศีลอดชดใช้ หลังจากรอมฏอนเพราะว่าเขาไม่ได้ตั้งเจตนาถือศีลอดเมื่อตอนกลางคืน มีหลายหะดีษรายงานความหมายตรงกันว่า "ไม่ถือว่าเป็นการถือศีลอด (ใช้ไม่ได้) ถ้าไม่ได้เนียตตอนกลางคืน (เฉพาะการถือศีลอดที่เป็นฟัรดู)"

ถาม เพื่อนที่ทำงานบางคนบอกว่าเขารับประทานอาหารซุโฮรฺ ตั้งแต่ตีหนึ่งแล้วก็นอน ตื่นตอน 9 โมงเช้า ละหมาดซุบฮฺ แล้วก็ออกไปทำงาน ศาสนามีข้อชี้ขาดว่าอย่างไร?
ตอบ การกระทำเช่นนี้ ไม่เป็นที่อนุญาต เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน คือ
- ขัดกับซุนนะฮฺของท่านนบีฯ ที่เขารีบรับประทานอาหารซุโฮรฺ ซุนนะฮฺคือให้ล่าช้าในการรับประทานซุโฮรฺ
- นอนจนเลยเวลาละหมาดซุบฮฺ และทิ้งการละหมาดญะมาอะฮฺ ซึ่งเป็นการทิ้งหน้าที่ที่สำคัญถึงสองอย่าง คือละเลยการละหมาดตามเวลา และการละหมาดญะมาอะฮฺ
ดังนั้นจำเป็นที่เขาจะต้องเตาบัตตัว และเปลี่ยนการกระทำเสียใหม่ ให้ถูกต้อง คือจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับละหมาด ก่อนอื่น เพราะละหมาดคือเสาหลัก และ เป็นรุก่นที่สอง ของรุก่นอิสลามทั้งห้าประการ และยิ่งกว่านั้นก็คือการถือศีลอดหรือการงานอื่นใดจะใช้ไม่ได้ (ไม่ถูกต้อง) นอกเสียจากว่าจะต้องมีการละหมาดตามที่ศาสนาบัญญัติอย่างถูกต้อง

ถาม ข้าพเจ้าใส่น้ำหอมก่อนละหมาดซุฮรฺ ในเดือนรอมฏอน เมื่อไปถึงมัสยิด อิมามได้บอกว่า น้ำหอมทำให้เสียศีลอด และข้าพเจ้าเองก็อาจเป็นเหตุให้คนอื่นๆเสียศีลอดด้วยเพราะกลิ่นน้ำหอมแรงมาก คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่?
ตอบ การใช้น้ำหอมขณะที่ถือศีลอดไม่ทำให้เสียศีลอด แต่ถ้าหากว่า เครื่องหอมนั้นคือบุคูร (ของหอมชนิดหนึ่ง ใช้โรยบนถ่านไฟ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอม และมีควันด้วย เปรียบได้กับธูปหอม) แล้วเราไปสูดกลิ่นหอมนั้นโดยตั้งใจ เพราะว่าควันของมันจะเข้าจมูกและไปกระตุ้นสมอง ซึ่งมีผลต่อการถือศีลอด ส่วนการใช้เครื่องหอมทั่วไปไม่เป็นไร และไม่อนุญาตให้อิมามหรือใครฟัตวาโดยที่ไม่รู้

ถาม ช่วงเดือนรอมฏอนที่มัสยิดฮะรอม อิบาดะฮฺอันใดประเสริฐกว่ากัน ระหว่างละหมาดสุนนะฮฺ ตอวาฟ และอ่านกุรอาน?
ตอบ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่พักพิงในมักกะฮฺก็ควรจะตอวาฟ เพราะว่าไม่ค่อยได้มีโอกาสเหมือนผู้ที่พักพิงทีมักกะฮฺ ส่วนชาวมักกะฮฺ ที่ดีที่สุดคือละหมาดและอ่านกุรอาน และหากว่าผู้ที่มาเยือนกะอฺบะฮฺ ไม่สามารถจะตอวาฟได้เนื่องจากคนแน่น หรือว่า มีสตรีทำการตอวาฟอยู่มากและกลัวว่าจะเกิดฟิตนะฮฺ ในสภาพนี้ การละหมาดสุนนะฮฺดีกว่า อนึ่งในขณะตอวาฟนั้นก็สามารถจะอ่านกุรอานและดุอาได้ด้วยเช่นกัน เท่ากับว่า ได้รับผลบุญสองเท่า

ตอบ: คืนอัลกอดรฺ คือ คืนที่อัลลอฮได้ทรงประทานอัลกุรอาน การทำความดีในคืนนี้ดีกว่าการทำความดีในเดือนอื่นๆ ถึงหนึ่งพันเดือน นักปราชญ์ส่วนมากมีความเห็นว่า คืนอัลกอดรฺจะอยู่ในเดือนรอมฎอน ท่านร่อสู้ล ได้ใช้ให้บรรดามุสลิมหมั่นปฏิบัติอิบาดะฮฺ ใน 10 คืน สุดท้ายของเดือนรอมฎอน ดุอาอฺที่ใช้กล่าวในคืน อัลกอดรฺ คือ “อินน่าก้า อะฟูวุน กะรีมุน ตุฮิบบุ้ลอัฟวะ ฟะอฺฟุอันนี”ตอบ: สิ่งที่ทำให้เสียเอี๊ยะติกาฟ คือ ตอบ : เงื่อนไขในการเอี๊ยะติกาฟได้แก่ ตอบ: เอี๊ยะติกาฟคือ การพักอยู่ในมัสยิด เพื่อปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ การเอี๊ยะติกาฟเป็นซุนนะฮฺ ให้ปฏิบัติเฉพาะอย่างยิ่งใน 10 คืนสุดท้ายของรอมฎอนเพื่อแสวงหาคืนอัลกอดรฺ (ลัยละตุ้ลกอดรฺ) แต่ถ้าหากผู้ใดบนบานว่าจะทำการเอี๊ยะติกาฟในกรณีนี้ถือว่าการเอี๊ยะติกาฟเป็นวาญิบที่จะต้องปฏิบัติ ตอบ: ถือว่าไม่ถูกต้องที่บุคคลจะเหนียตถือศีลอดใช้ควบคู่ไปกับการถือศีลอดซุนนะฮฺ ตอบ: ผู้ที่ขาดศีลอดให้เขารีบถือศีลอดใช้ในเมื่อเขาสามารถปฏิบัติได้ และให้ถือใช้เพียงวันที่ขาดไปเท่านั้น ไม่ต้องถือเพิ่มเติมแต่อย่างใดตอบ : นักปราชญ์ได้ลงมติว่าผู้ใดที่ตายลงแล้วเขาขาดการละหมาดฟัรดู ก็ไม่ต้องละหมาดใช้แทนแก่เขา และผู้ใดที่ขาดศีลอดฟัรดูก็ไม่ต้องถือศีลอดใช้แทนให้แก่เขา แต่ถ้าหากว่าการถือศีลอดเป็นถือศีลอดบนบาน ก็ให้ทายาทถือศีลอดใช้แทนแก่เขา แต่ถ้าหากว่าเขาขาดการถือศีลอดฟัรดู เนื่องจากการเจ็บป่วยของเขา ก็ให้จ่ายฟิตยะฮฺแทนการถือศีลอด วันละ 1 ลิตร ตอบ : อนุญาตให้ผู้ถือศีลอดซุนนะฮฺแก้ศีลอดก่อนที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้และไม่ต้องถือศีลอดใช้ด้วยตอบ: วันที่ห้ามถือศีลอดได้แก่ ตอบ: วันที่ชอบให้ถือสีลอดได้แก่ ตอบ: สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ถือศีลอดปฏิบัติได้ขณะถือศีลอดโดยไม่ทำให้เสียศีลอดได้แก่ ตอบ : ในกรณีเช่นนี้ถ้าหากว่าผู้ใดถือศีลอดกั๊ฟฟาเราะฮฺ ก็จำเป็นจะต้องถือศีลอดติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนเต็มจะขาดหรือว่างเว้นไม่ได้ ถ้าหากมีการถือศีลอดขาดช่วง ก็จำเป็นที่เขาจะต้องเริ่มถือศีลอดโดยเริ่มนับใหม่ ไม่อนุญาตให้นำเอาการถือศีลอดที่ขาดช่วงมานับรวมกันจนครบ 2 เดือนเป็นอันขาดตอบ : การเสียกัฟฟาเราะฮฺจะเพิ่มขึ้นตามอัตราการทำความผิด เช่น คนหนึ่งได้รวมสังวาสกับภรรยาของเขาขณะถือศีลอด และจงใจกินดื่มในกรณีนี้จำเป็นจะต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ เป็น 2 เท่า คือ ปล่อยทาส 2 คน ถ้าหากว่าเขาไม่ สามารถก็ให้เขาถือศีลอดสี่เดือนติดต่อกัน ถ้าหากว่าเขาไม่อีกสามารถถือ ก็ให้อาหารแก่คนยากจน 120 คนตอบ : อัตราการเสียกัฟฟาเราะฮฺและขั้นตอนมีดังต่อไปนี้คือในขั้นแรก ของกัฟฟาเราะฮฺคือ การปล่อยทาสให้เป็นอิสระ 1 คน ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถก็ให้เขาถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถถือก็ให้อาหารแก่คนขัดสน(มิสกีน) 60 คนรับประทานหนึ่งวัน โดยเป็นอาหารระดับปานกลาง นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า จะให้อาหารแก่มิสกีนหนึ่งคนจนครบ 60 วันก็ได้ตอบ: สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด และจะชดใช้พร้อมกับเสียค่าปรับได้แก่ ตอบ : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดและจำเป็นจะต้องชดใช้วันที่เสียศีลอด มีดังนี้ ตอบ : สิ่งที่ทำให้เสียศีลอดมี 2 ประเภทตอบ : ฟัรดูในการถือศีลอดได้แก่ ตอบ : เราต้องถือศีลอดเมื่อทราบว่าเข้าเดือนรอมฎอนแล้ว การเข้าเดือนรอมฎอน เริ่มด้วยการเห็นดวงจันทร์ในค่ำแรกโดยมุสลิมผู้เชื่อถือได้อย่างน้อย 1 คน แต่ถ้าไม่เห็น ดวงจันทร์ก็ให้นับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน ตอบ :ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอด ได้แก่ ผู้ที่เป็นมุสลิม มีสติสัมปชัญญะ บรรลุศาสนภาวะ ไม่ได้เดินทาง และมีความสามารถในการถือศีลอด และสมควรฝึกหัดให้เด็กได้ถือศีลอดด้วยตอบ :การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติขึ้นที่นครมะดีนะฮฺ เดือนชะอฺบาน ปีฮิจญเราะฮฺศักราชที่ 2
การถือศีลอดตามหลักศาสนาหมายความว่าอย่างไร?
ตอบ การงดกิน งดดื่ม งดการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่แสงอรุณทอแสง ไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เป้าหมายของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน มีอะไรบ้าง?
ตอบ เป้าหมายของการถือศีลอด พอจะประมาณได้มีอยู่ 3 ประการ
1. เพื่อให้เกิดความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
2. เพื่อให้เกิดสุขภาพดี
3. เพื่อได้รู้ถึงสภาพคนยากจน และเกิดความสงสารเห็นอกเห็นใจ เดือนรอมฎอนมีความประเสริฐอย่างไร?
ตอบ ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนคือ
1. กลางวันมีบัญญัติให้ถือศีลอด
2. กลางคืนส่งเสริมให้ละหมาด เช่น ละหมาดตะรอเวียฮฺ
3. ในเดือนนี้ มีอยู่คืนหนึ่ง คือ อัลก้อดรฺ ซึ่งดีกว่าพันเดือน
4. ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ด้วยความศรัทธา จะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ เราจะเริ่มถือศีลอดเดือนรอมฎอนเมื่อไร?
ตอบ เราจะเริ่มถือศีลอดเดือนรอมฎอน เมื่อเห็นเดือนเสี้ยวเริ่มเข้าเดือนรอมฎอน เพราะท่านนบี ได้กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงถือศีลอดเมื่อเห็นเดือนเสี้ยว (เริ่มเดือนรอมฎอน) และจงออกศีลอดเมื่อเห็นเดือนเสี้ยว (ต้นเดือนเชาวาล)" การเห็นเดือนเสี้ยวนั้นจะเห็นที่ไหนก็ได้ ถ้าเราได้ทราบข่าวการเห็นนั้น ใครบ้างที่จำเป็นต้องถือศีลอด?
ตอบ ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอด คือ
1. เป็นมุสลิม
2. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
3. บรรลุศาสนภาวะ
4. มีสุขภาพดี
5. ไม่เดินทาง
6. สตรีที่ไม่มีรอบเดือน
7. ไม่มีเลือดนิฟาส (เลือดหลังจากคลอดบุตร) หลักสำคัญในการถือศีลอดมีอะไรบ้าง?
ตอบ หลักสำคัญในการถือศีลอดมี 2 ประการ คือ
1. มีเจตนา (เหนียต)
2. งดกิน งดดื่ม งดการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อรุณทอแสง ไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก การตั้งเจตนานั้น ต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูดหรือไม่?
ตอบ การตั้งเจตนานั้น ไม่ต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูดเลย มันเป็นเรื่องของจิตใจโดยเฉพาะ และการที่เราลุกขึ้นมารับประทานอาหารสะโฮ๊รในค่ำคืนของเดือนรอมฎอน ก็ถือว่ามีเจตนาแล้ว ถ้าไม่มีเจตนา คงไม่ลุกขึ้นมารับประทานอาหาร ใครบ้างที่ได้รับการผ่อนผันให้ไม่ต้องถือศีลอด?
ตอบ คนชรา คนป่วย คนเดินทาง หญิงที่มีรอบเดือน หญิงที่มีครรภ์ หญิงที่ให้นมลูก และหญิงที่คลอดบุตร ใครบ้างที่ได้รับการผ่อนผัน ให้ไม่ต้องถือศีลอด แต่ต้องเสียฟิดยะฮฺ (ค่าชดเชย)?
ตอบ ผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน แต่ต้องเสียฟิดยะฮฺ คือ
1. คนชรา
2. คนป่วยเรื้อรัง
3. คนทำงานหนักตลอดปี ซึ่งไม่มีทางเลือกอย่างอื่น
4. หญิงที่มีครรภ์ หรือให้นมลูก
บุคคลเหล่านี้จะต้องจ่ายฟิดยะฮฺ (ค่าชดเชย) คือให้อาหารหลักแก่คนยากจน เช่น ข้าวสาร วันละ 1 ลิตรต่อวัน ใครบ้างที่ได้รับการผ่อนผัน แต่ต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง?
ตอบ ผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน คือ 1. คนป่วย 2. คนเดินทาง

http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=36&id=229

บทความที่ได้รับความนิยม